ปูมหลังปมความขัดแย้งสงครามกลางเมือง "ยิว-อาหรับ" กับชนวนปัญหาพันปี
จุดเริ้มต้นเหตุรุนแรงที่อิสราเอง ต้องย้อนไปถึงช่วงต้นศตวรรษที่ 16 ที่กรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญของหลายศาสนา และดินแดนโดยรอบ ตกเป็นเมืองขึ้นของมหาจักรวรรดิออตโตมัน (ตุรกีในปัจจุบัน) ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวถูกตั้งชื่อใหม่ว่า "ปาเลนสไตน์" มีประชากรส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลาม
ต่อมาอังกฤษ ได้เข้ายึดครองพื้นที่ดังกล่าวจากจัดรวรรติออตโตมัน และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้ทำสนธิสัญญาบัลฟอร์กับชาวยิว สัญญาว่าถ้ายิวช่วยอังกฤษรบจนชนะสงคราม จะยกดินแดนปาเลสไตน์ให้ ด้านยิวที่อยากได้ดินแดนอยู่แล้วเป็นทุนเดิมก็เต็มใจช่วยรบอย่างเต็มที่ แต่อังกฤษที่กลัวแพ้สงคราม เลยทำสนธิสัญญาซ้อนอีกฉบับกับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ปาเลสไตน์ บอกว่าถ้าช่วยรบกับเยอรมัน จะคืนอิสรภาพให้ปาเลสไตน์ และสุดท้ายอังกฤษเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ยิวเดินทางเข้าสู่ปาเลสไตน์ ด้านประชาชนที่อยู่ปาเลสติเนียนเริ่มโวยวาย เนื่องจากไม่ต้องการให้เชื้อชาติอื่นเข้ามา ความขัดแย้งระหว่าง 2 เชื้อชาติจึงเริ่มต้นขึ้น ยิวอ้างตัวว่าอยู่มานานหลายพันปี ปาเลสติเนียนก็อ้างว่าสร้างเมืองใหม่มาแล้วหลายร้อยปี ความขัดแย้งทวีคณูความรุนแรงขึ้น จนมาถึงสงครามโลกครั้งที่ 2
เมื่อสหประชาชาติถูกก่อตั้งขึ้น จึงถูกใช้เป็นเครื่องมือระงับข้อพิพาทของ 2 เชื้อชาตินี้ UN มีมติแบ่งปาเลสไตน์ออกเป็น 2 ส่วน คือให้ครอบครองเยรูซาเล็มที่อยู่ตรงกลางร่วมกัน ส่วนพื้นที่ที่ยิวได้ไป พร้อมประกาศเป็นเอกราชและตั้งชื่อว่า "ประเทศอิสราเอล" หลังจากประกาศเอกราช อังกฤษจึงไม่ดูแลอีกต่อไป ทำให้อิสราเอลต้องต่อสู้กับฝ่ายอิสลามอย่างโดดเดี่ยว แต่กลับเอาชนะจนหลายประเทศยอมสงบศึก และอิสราเอลยังได้อนาเขตเพิ่มให้กับประเทศตนเอง นั่นทำให้ดินแดนปาเลสไตน์ไม่พอใจเป็นอย่างมาก เพราะพื้นที่ของอิสราเอลที่ได้มา คือพื้นที่ของปาเลสไตน์ที่ UN จัดสรรให้โดนอิสราเอลยึดไป
จากชัยชนะทำให้อิสราเอลฮึกเหิม ชาวยิวในอิสราเอลเริ่มกระจายตัวไปอยู่ในพื้นที่ฉนวนกาซา และเขตเวสต์แบงค์ เพื่อค่อยๆ ไล่ที่ชาวปาเลสไตน์ แต่ด้านปาเลสไตน์ไม่ยอมจนลุกฮือขึ้นสู้อีกครั้ง เมื่อแต่ในปี 2530-2536 ชาวอิสราเอลขับรถชนชาวปาเลสไตน์ 4 คนเสียชีวิต และทำให้เกิดการประท้วงอันยาวนานถึง 6 ปี รวมทั้งมีชาวปาเลนติเนียนเสียชีวิตเกือบ 2,000 คน และชาวยิวเสียชีวิต 277 คน ช่วงนั้นนานาชาติเข้ามามีบทบาทพอดี จึงแบ่งเขตเวสต์แบงค์เป็น 3 ส่วน และให้ปาเลสไตน์ปกครองตนเอง ทางด้านชาวปาเลสไตน์หัวรุนแรงอีกกลุ่มหนึ่ง ได้สร้างกลุ่มใหม่ขึ้นมาชื่อว่า "กลุ่มฮามาส (Hamas)" ที่เป็นกองกำลังติดอาวุธ ที่เคร่งศาสนาอิสลาม และปฏิเสธการเจรจาอย่างสันติทุกรูปแบบ มีผู้นำคือ "มูฮัมเหม็ด เดอิฟ" กลุ่มฮามาส มีจุดยืนที่ชัดเจน คือ ไม่ยอมรับการยึดครองของอิสราเอล และมักใช้วิธีการรุนแรงโจมตีอิสราเอล จนทำให้นานาชาติทั้ง อิสราเอล สหรัฐฯ สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อังกฤษ และแคนาดา ประกาศขึ้นบัญชีกลุ่มฮามาสเป็น "องค์กรก่อการร้าย" แต่ขณะเดียวกันฮามาสก็มีพันธมิตรที่คอยหนุนหลัง ได้แก่ อิหร่าน ซีเรีย และกลุ่มเฮซบอลเลาะห์ ซึ่งเป็นกลุ่มติดอาวุธมุสลิม นิกายชีอะห์ในเลบานอน ระยะหลังกลุ่มฮามาสกลายเป็นกลุ่มที่มีบทบาท และใช้ความรุนแรงอย่างต่อเนื่องมากที่สุด และล่าสุดกับการเปิดฉากโจมตีอิสราเอลครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ปะทะในปัจจุบันเริ่มจากต้นเดือนตุลาคม ปี 2023 กลุ่มฮามาส ได้เริ่มเปิดฉากโจมตีอิสราเอลครั้งใหญ่ ด้วยการระดมยิงจรวดหลายพันลูกในช่วงเช้าวันที่ 7 ตุลาคม ที่ผ่านมา รวมถึงส่งกองกำลังติดอาวุธเข้าไปโจมตีในเมืองทางตอนใต้ของอิสราเอล จึงเกิดเป็นสงครามที่คร่าชีวิตผู้คนจากทั้ง 2 ชนชาติไปนับพันชีวิต