ทั่วไป

เพลงดี-สังคมดี! เพลงเสื่อม-สังคมเสื่อม! ตอนนี้สังคมไทยเป็นยังไง?

TheHippoThai.com
เผยแพร่ 29 ต.ค. 2561 เวลา 05.00 น.

เพลงดี-สังคมดี! เพลงเสื่อม-สังคมเสื่อม! ตอนนี้สังคมไทยเป็นยังไง?

“อุ๊ย อุ๊ย อุ๊ย อุ๊ย อุ๊ย อุ๊ย อุ๊ย อุ๊ย อุ๊ย อุ๊ย อุ๊ย อุ๊ย อุ๊ย โอ๊ะ โอ๊ะ โอ๊ะ โอ๊ะ โอ๊ะ โอ๊ะ โอ๊ะ โอ๊ะ โอ๊ะ โอ๊ะ โอ๊ะ โอ๊ะ โอ๊ย อิ๊ อิ๊ อิ๊ อิ๊ อิ๊ อิ๊ อิ๊ อิ๊ อิ๊ อิ๊ อิ๊ อิ๊ อิ๊ อี้ อ้าย อ้าย อ้าย อ้าย อ๊ายยย! อ้าย อ้าย อ้าย อ้าย อ้าย อ้าย อ้าย อ้าย อ้ายจ๋า!”  

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นี่คือเนื้อร้องท่อนสำคัญ ที่แม้จะไม่ได้สื่อความหมายอย่างลึกซึ้งกินใจ แต่กลับกลายเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของวงการลูกทุ่งหมอลำ ในชื่อผลงานเพลง ครางชื่ออ้ายแน ผลงานชิ้นโบว์แดงของ ‘ศรีจันทร์ วีสี Feat. ต้าร์เพ็ญนภา แนบชิด ท็อปไลน์’ ที่ถูกชาวเน็ตกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในโลกโซเชียลเพียงชั่วข้ามคืน 

บ้างก็วิพากษ์วิจารณ์ บ้างมองเป็นเรื่องตลกขำขัน บ้างก็หยิบยกมาเสียดสีสังคม บ้างก็หยิบเนื้อเพลงและภาพจากมิวสิกวิดีโอมาสะท้อนความรู้สึกหรือเหตุการณ์ในชีวิตของแต่ละคน ตามมาติดๆ ด้วยการคัฟเวอร์เพลง ตลอดการทำคลิปวิดีโอล้อเลียน ที่นำโดยนักร้องตัวจริงอย่าง ลิเดีย ศรัณย์รัชต์ และ ใบเตย อาร์สยาม ทำให้กระแสของเพลงนี้ทวีความโด่งดังขึ้นเป็นทวีคูณ

เนื้อแท้ของบทเพลง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เนื้อหาของเพลงและเรื่องราวในมิวสิกวิดีโอ เป็นการตัดพ้อของหญิงชายที่ไม่สมหวังในรัก โดยฝ่ายชายขอร้องให้ฝ่ายหญิง อดีตคนรักซึ่งกำลังจะแต่งงานร้องครวญครางชื่อตัวเองในขณะที่มีเพศสสัมพันธ์กับคนรักใหม่ ผลงานจึงได้ปรากฏเสียงครางสุดสยิวอยู่ในท่อนสุดท้ายของเพลง พร้อมภาพหญิงสาวในมิวสิกวิดีโอที่กำลังนอนครางอย่างสยิวใจอยู่บนเตียง หลังเสร็จสิ้นพิธีแต่งงานและเข้าเรือนหอ อันเป็นการสื่อถึงการร่วมเพศออกมาอย่างชัดเจนและโจ่งแจ้ง

ภาพจาก อมรินทร์ทีวี

จาก ‘จอสู่เวที’ 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นอกจากนี้เพลง ครางชื่ออ้ายแน ยังถูกวงดนตรีนำเอาไปทำการแสดงสด ผ่านโชว์ที่สะท้อนเนื้อหาบทเพลง ด้วยการดับไฟเวทีและจัดฉากบทเวทีเป็นม่าน ฉายแสงทะลุผ่าน เห็นเป็นเงานักร้องนักเต้นชายหญิงทำท่าทางกำลังร่วมเพศกันอย่างดุเด็ดเผ็ดมัน จนหลายคนรับไม่ได้ 

ผู้นำในสังคม ‘จวกแรง’ !!

ไม่ว่าจะทั้งเพลง มิวสิควิดีโอ หรือโชว์ ต่างนำมาซึ่งการถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะคำวิจารณ์อย่างหนักจากบรรดาผู้นำในสังคมที่ไม่เห็นด้วย ทั้ง "ชลธี ธารทอง" นักแต่งเพลงลูกทุ่งชื่อดังระดับตำนาน ศิลปินแห่งชาติ "ดี้-นิติพงษ์ ห่อนาค" ศิลปินและนักแต่งเพลง "ระเบียบรัตน์ พงษ์พานิชย์" นายกสมาคมเสริมสร้างครอบครัวให้อบอุ่นและเป็นสุข 

แต่ละท่านออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อ ด้วยกังวลถึงความไม่เหมาะสมที่ปรากฏขึ้น อันขัดแย้งกับขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของชาติ สะท้อนให้เห็นถึงจิตใจที่สกปรกของผู้สร้างสรรค์ผลงาน ทั้งในแง่เรื่องราว ที่ผู้ชายร้องขอให้แฟนเก่าซึ่งกำลังจะแต่งงานให้ร้องครวญครางชื่อตัวเองในขณะที่มีเซ็กส์กับแฟนใหม่และการนำเสนอ ภาพและเสียงครางขณะมีเพศสัมพันธ์ทั้งที่ควรเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างคนสองคนอีกทั้งยังให้มุมมองว่าการนำเสนอสิ่งใดแก่สังคม จำเป็นต้องตระหนักถึงสภาพของสังคมด้วย นอกจากนี้ยังเสนอว่าควรมีการเข้ามากำกับควบคุมโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกระทรวงวัฒนธรรม

นักแต่งเพลงเผยวลีบันดาลใจ/ นักร้องเข้าถึงอารมณ์

หลังเหตุการณ์บานปลาย นักร้องและนักแต่งเพลงก็ต่างออกมาขอโทษต่อสังคม พร้อมให้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมด้าน "บิ๊กวัน กันทรลักษ์" เจ้าของนามปากกา อ.งัวน้อย นักแต่งเพลง ก็ออกมาชี้แจงว่าเพลงดังกล่าวได้แรงบันดาลใจมาจากวลีที่ว่า ‘เห็นหน้าซื่อๆ ครางชื่อได้ด้วย’ ซึ่งพบเห็นวัยรุ่นใช้ถ้อยคำนี้ในโซเชียลมีเดีย จึงนำมาผสานกับเรื่องราวผิดหวังในงานแต่งงาน โดยใช้ทำนองหมอลำซิ่ง เพื่อให้เพลงมีความสนุกสนาน ขณะที่ "ต้าร์ เพ็ญนภา แนบชิด" เจ้าของเสียงร้องและเสียงคราง ก็เล่าว่าตนเห็นว่าเพลงนี้มีความแปลกใหม่ จึงตั้งใจและพยายามหัดร้องให้ออกมาเข้าถึงอารมณ์ ไม่คิดว่ามันจะกลายเป็นกระแสลบ จึงอยากให้เสพผลงานเพลงชิ้นนี้แค่เพื่อความสนุกสนานเท่านั้น

ชี้นำสังคมหรือสะท้อนสังคม?

บ่อยครั้งที่เพลงฮิตติดหูมีการสร้างสรรค์วลีหรือถ้อยคำใหม่ๆ มาให้คนฟังได้จดจำ จนในที่สุดแล้วสามารถชี้นำคนฟังได้ โดยอาจกลายมาเป็นคำที่คนฟังเองใช้สะท้อนความคิดและความรู้สึกของตัวเอง หรือกระทั่งกลายมาเป็นคำพูดติดปาก เช่น คำว่า กินตับ’ ‘คันหูเป็นต้น  

แต่ในกรณีของ ‘ครางชื่ออ้ายแน’ กลับเป็นไปในทางกลับกัน คือผู้สร้างสรรค์ผลงานได้รับแรงบันดาลใจจากการใช้คำพูดของวัยรุ่นในโซเชียลมีเดีย จึงหยิบยกมาใช้ในการทำงาน สิ่งนี้อาจอนุมานได้ว่าวัยรุ่นในปัจจุบันอาจมีการแสดงออกทางเพศอย่างในแบบที่มีความฮาร์ดคอร์ขึ้น หรืออาจมองว่าการอวดอ้างสรรพคุณทางเพศของบุคคลเป็นเรื่องธรรมดา 

แต่อย่างไรก็ดีทางผู้สร้างสรรค์ผลงานเองก็ควรมีวิจารณญาณในการเลือกหยิบเอาเรื่องราวมานำเสนอ ตลอดจนควรเลือกวิธีการนำเสนอแรงบันดาลใจที่ได้รับมา ในแบบที่เหมาะสมต่อสภาพสังคม ต้องคำนึงถึงผลกระทบของผลงานที่ทำต่อสังคมอย่างรอบด้าน เพราะการกระทำที่เกิดขึ้นอาจส่งผลในวงกว้างเกินกว่าจะจินตนาการได้ โดยท้ายที่สุดต้องให้แน่ใจว่าผลงานต้องไม่ฉุดดึงความเจริญของสังคมให้ต่ำลง 

ผลิตกันซ้ำซากหรือสังคมไทยชอบแบบนี้

เห็นหมีหนูมั๊ย/ กินตับ/ คันหู/ ปูหนีบอีปิ/ สิฮิน้องบ่/ ปล่อยน้ำใส่นาน้อง เหล่านี้…เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเพลงลูกทุ่งที่หยิบยกเรื่องความทะลึ่งลามกนำเสนอ จนกลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมในแต่ละช่วงเวลา แต่สิ่งที่เหมือนกันทุกครั้งคือเนื้อหาของแต่ละเพลงล้วนมีความสองแง่สองง่ามและส่อไปในทางเพศ ที่สำคัญบทเพลงในรูปแบบนี้มักจะมียอดวิวที่ดี และดังเพียงชั่วข้ามคืน แสดงว่ามีกลุ่มคนที่ชื่นชอบบทเพลงแบบนี้อยู่ไม่น้อยในสังคม

หรือสิ่งนี้จะเป็นการสะท้อนความเปลี่ยนแปลงบางอย่างในสังคมไทย สังคมที่เราภาคภูมิใจในวัฒนธรรมอันดีงามจนถึงทุกวันนี้

ความเห็น 56
  • xozอยากรู้จักทักมา
    ทุเรศ
    29 ต.ค. 2561 เวลา 05.18 น.
  • Koi
    ทำอะไรก็ได้ขอให้ติดตลาด ติดหู ฟังแล้วสะดุ้ง?! นี่แหละความคิดของนายทุน...ไม่คำนึงผลเสื่อมอะไรทั้งสิ้น เงินนำ...ขอบคุณที่ยังมีผู้หลักผู้ใหญ่ท่านติงเตือนเห็นแก่สังคมยังมีเด็กๆอยู่เยอะแน่
    29 ต.ค. 2561 เวลา 05.59 น.
  • IsanFlowers2 (Rin)
    อะไรก็โทษสังคม คนแต่งคนรอ้งไม่มีสามัญสำนึก มากกว่า ความอยากดังอยากเด่นจนลืมไปหมดอะไรผิดอะไรถูก บ้าชัดๆๆๆ
    29 ต.ค. 2561 เวลา 05.40 น.
  • 🌴Chanidapa456🌴
    ผู้ใหญ่ที่โตๆกันแล้ว หัวหงอกแล้ว ทำไรกันคิดถึง อนาคตลูกหลานกันบ้างก็ดีนะ
    29 ต.ค. 2561 เวลา 06.05 น.
  • อิห่า
    29 ต.ค. 2561 เวลา 05.38 น.
ดูทั้งหมด