ไลฟ์สไตล์

22 กรกฎาคม 2417 รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศพระราชดำริให้ “เลิกทาส” อย่างค่อยเป็นค่อยไป

ศิลปวัฒนธรรม
อัพเดต 24 ก.ค. 2566 เวลา 06.06 น. • เผยแพร่ 21 ก.ค. 2566 เวลา 22.22 น.
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

22 กรกฎาคม 2417 รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศพระราชดำริให้ “เลิกทาส” อย่างค่อยเป็นค่อยไป

“วันพุฒ เดือนแปดอุตราสาธ ขึ้นเก้าค่ำ ที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน ประชุมในพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ เวลาค่ำพระบาทสมเดจพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฤกษาด้วยการจะลดกระเษียรอายุค่าตัวลูกทาษ แลจะให้บิดามารดาฃายได้ ตามกระเษียรอายุที่จะตั้งขึ้นใหม่ ห้ามมิให้ฃายเดกราคาแพงๆ เกินกำหนดได้พระราชทานสำเนาความ ซึ่งทรงพระราชดำริห์นั้น ให้ที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน ปฤกษาดูตามควร เนื้อความว่า

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

‘ข้าพเจ้ามีความปรารถนาว่า การสิ่งไรซึ่งเปนการเจริญมีคุณแก่ราษฎรควรจะเปนได้ ทีละเลกทีละน้อยตามการตามเวลา การสิ่งไรซึ่งเปนธรรมเนียมบ้านเมืองมาแต่โบราณ แต่ไม่สู้เปนยุติธรรม ก็หยากจะเลิกถอนเสีย แต่จะจู่โจมโหมหักเอาทีเดียวนั้นไม่ได้ จะต้องค่อยตัดรอนไปได้ทะละเลกทีละน้อยภอให้เบาบางเข้าทุกที เมื่อเปนอยู่ดังนี้ การก็คงจะเปนไปทีละน้อยๆ เรียบร้อยไปตามเวลาตามการ

บัดนี้ได้คิดเหนว่า ลูกทาษซึ่งเกิดในเรือนเบี้ยนายเงินนั้น ในพิกัดกฎหมายเดิมต้องเปนลูกทาษ คิดอายุตั้งแต่ 26 ปี ถึง 40 ปี เตมค่า 14 ตำลึง ถ้าหญิงอายุตั้งแต่ 21 ปี ถึง 30 ปี เตมค่า 12 ตำลึง ถ้าชายเกินอายุ 40 ปี หญิงเกินอายุ 30 ปี จึงให้ลดน้อยถอยค่าตัวลงทุกที จนอายุถึง 100 ปี ยังมีค่าตัวชายตำลึง 1 หญิง 3 บาท ยังหาขาดค่าตัวไม่ ฃองเดิมมีอยู่ดังนี้

ข้าพเจ้าคิดเหนว่าลูกทาษ ซึ่งเกิดในเรือนเบี้ย ตั้งแต่ออกจากท้องภอลืมตาก็ต้องนับเป็นทาษมีค่าตัวไป จนถึงอายุ 100 หนึ่ง ก็ยังไม่หมด ดังนี้ดูเปนหามีความกรุณาแก่ลูกทาษไม่ด้วยตัวเดกที่เกิดมาไม่ได้รู้ ไม่ได้เหนสิ่งไรเลย บิดามารดาทำชั่วไปฃายตัวท่าน แล้วยังภาบุตรไปให้เป็นทาษจนสิ้นชีวิตรอีกเล่า เพราะรับโทษทุกข์ฃองบิดามารดาเท่านั้นเอง หาควรที่จะเอาเปนทาษจนตลอดชีวิตรไม่

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แต่ครั้งนี้จะให้เลิกถอนหลุดค่าตัวเสียทีเดียว ถ้านายเงินที่ไม่มีเมตากรุณาแก่เดก ก็จะไม่เอาเปนธุระ ให้มารดาเลี้ยงรักษา เพราะเดกเกิดมาไม่เปนคุณเปนประโยชน์แก่ตน ก็จะเอามารดาไปใช้การงานฃองตัวมิให้เลี้ยงเดก ๆ นั้น ก็จะเปนอันตรายตายไป เพราะนายเงินไม่มีเมตากรุณาจึ่งคิดเหนว่า ถ้าจะไม่ให้เปนประโยชนแก่นายเงินบ้าง นายเงินก็จะไม่มีเมตากรุณาแก่เดก ถ้าจะตัดลงให้มีภอเวลาหลุดเปนไทยได้บ้าง เหนว่าจะเปนการดี ลางทีก็จะรอดจากทาษไปได้ เดกลูกทาษตั้งแต่อายุ 8 ปีไป นายได้อาไศยฃอน้ำ ฃอไฟได้ ควรจะคิดเอาอายุ 8 ปีเปนเตมค่าตั้งแต่พ้น 8 ปีไปให้นายมีความกรุณาลดกระเษียรอายุให้ลูกทาษจนถึง 21 ปี เปนสิ้นค่ากระเษียรอายุภอจะได้ไปทันอุปสมบทแลคิดทำมาหากินต่อไป ถ้าเปนหญิงจะได้มีลูกผัวไปตามการ…’”

อ่านเพิ่มเติม :

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

ที่มา :

ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 1 นำเบอร์ 102 วันอาทิตย เดือน 88 (แปดหลัง) แรม 5 ค่ำ ปีจอศก 1236 แผ่นที่ 12 (หนังสือ ราชกิจจานุเบกษา, สำนักพิมพ์ต้นฉบับ พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2540)

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 4
  • a✅วีร์ ธนู🏹ตุลย์๓๖๕๙
    แต่ยุคนี้เขาอยากให้คนไทยเป็นทาสเขาอยู่
    22 ก.ค. 2563 เวลา 09.13 น.
  • BB.วินเทจ & บารเบอร์
    สภาบันพระมหากษัตริย์ อยู่คู่ชาวไทยชาวโลก ไปแสนนานกาลนานเทอญ.....
    22 ก.ค. 2563 เวลา 04.06 น.
  • Toy
    น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้
    22 ก.ค. 2563 เวลา 00.43 น.
  • "'ตัว 'เปี๊ยก 2499
    ขอเปนข้ารองบาทพระมหากษัตริย์ทุกชาติไป
    22 ก.ค. 2562 เวลา 02.25 น.
ดูทั้งหมด