ทั่วไป

ถั่วฝักยาวดิบ ผักที่ต้องกินอย่างระวัง

NATIONTV
เผยแพร่ 26 ม.ค. 2563 เวลา 23.52 น. • Nation TV
ถั่วฝักยาวดิบ ผักที่ต้องกินอย่างระวัง

ถั่วฝักยาวเป็นผักที่มีสารอาหารมากมายหลายชนิด แต่อาหารก็มีทั้งคุณและโทษ อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพของผู้รับประทานได้ หากไม่ระมัดระวังในการรับประทาน

"ถั่วฝักยาว" เป็นผักอีกหนึ่งชนิดที่มักจะคุ้นหน้าคุ้นตาแทบทุกเมนูอาหาร ไม่ว่าจะนำมารับประทานแบบสุก เช่น ผัดพริกแกงใส่ถั่วฝักยาว นอกจากนั้นยังนิยมนำมารับประทานเป็นผักเคียงแบบดิบๆ เพิ่มความกรุบกรอบและสดชื่นให้กับอาหาร ทั้งเมนูลาบ ส้มตำ หรือขนมจีนน้ำยา เป็นต้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ยิ่งไปกว่านั้นถั่วฝักยาวยังประกอบไปด้วยสารอาหารหลายชนิด ทั้งวิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส และโปรตีน ซึ่งล้วนแต่มีความสำคัญต่อร่างกาย

อย่างไรก็ตามแม้ว่า "ถั่วฝักยาว" จะมีรสชาติอร่อยและเต็มไปด้วยคุณประโยชน์ แต่ที่ผ่านมาก็ได้มีองค์กรหลายๆ องค์กรออกมาเตือนถึงโทษภัยของการรับประทานถั่วฝักยาว โดยเฉพาะรับประทานแบบสดหรือแบบดิบอยู่หลายครั้ง ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้ จำแนกผลข้างเคียงได้ดังนี้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

1.ทำให้ท้องอืด ปกติคนไทยจะนิยมรับประทานถั่วฝักยาวดิบมากกว่า นอกจากรสชาติจะไม่ขมแล้ว ยังมีความกรุบกรอบกินได้ไม่เบื่อ แต่ในความเป็นจริง ถั่วฝักยาวดิบมีแก๊สอยู่ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือมีเทน ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้เกิดกรดเกินในกระเพาะอาหาร หรือท้องอืดได้ ดังนั้นควรรับประทานแต่พอดีหรือนำไปผ่านความร้อนให้สุกเสียก่อน

2.เกิดอาการท้องเสียได้ ในถั่วฝักยาวมี "ไกลโคโปรตีน และเลคติน" อยู่ค่อนข้างมาก โดยสารดังกล่าวมีส่วนทำให้เกิดอาการวิงเวียน และคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง จากการวิจัยขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ระบุว่า การรับประทานถั่วฝักยาว (รวมไปถึงถั่วดำและถั่วแดง) แบบดิบๆ จะเพิ่มความเสี่ยงในการแพ้อาหาร และทำให้มีอาการท้องเสียรุนแรงร่วมด้วย

3.เป็นสาเหตุของลำไส้อุดตัน ถั่วฝักยาวดิบจะมีผนังเซลล์ค่อนข้างเหนียวและแข็งแรง สำหรับผู้สูงอายุบางท่านหากเคี้ยวถั่วฝักยาวไม่แหลก ชิ้นส่วนของถั่วที่ไม่ผ่านการย่อยก็จะไปอุดตันในลำไส้และกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดภาวะลำไส้อักเสบและอุดตัน นอกจากนั้นยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารอีกด้วย นกขอแนะนำให้หั่นถั่วผักยาวแบบซอยละเอียดก่อนปรุง แบบที่เขาใส่ข้าวคลุกกะปินะคะ ก็จะช่วยบรรเทาปัญหานี้ได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

4.เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลง จากการสุ่มตรวจของกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับ Thai-Pan ในปี 2558 ระบุว่า พบสารตกค้างจำพวกยาฆ่าแมลงในถั่วฝักยาวถึง 37.5% หรือสูงสุดเป็นอันดับสอง รองจากกะเพรา โดยยาฆ่าแมลงที่ว่านี้อาจทำให้ผู้บริโภคมีอาการน้ำตาไหล ม่านตาหรี่ หน้าท้องแข็งเกร็งเป็นตะคริว หากตกค้างในร่างกายเป็นจำนวนมากจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

ดังนั้นหากใครที่ชอบรับประทานถั่วฝักยาวต้องล้างทำความสะอาดให้ดี เพื่อลดความรุนแรงของยาฆ่าแมลงและสารพิษอื่นๆ ในกระบวนการเพาะปลูก จึงจะนำไปประกอบอาหารได้ และถ้านำถั่วฝักยาวแช่น้ำเย็นจัด จะช่วยให้ผักกรอบเพิ่มมากขึ้น

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 26
  • รดน้ำหน้าบ้านดีๆยังตายเลย.คนยิ่งหน่ากลัว
    27 ม.ค. 2563 เวลา 06.39 น.
  • ร.ต.ท.จรัญ ผบ.มว9122
    กินมาตั้งแต่จำความได้ทั้งสุกทั้งดิบ
    27 ม.ค. 2563 เวลา 06.04 น.
  • popBTC
    เหม็นเขียว ถ้าไม่สุกจะไม่ค่อยกินเลยละ
    27 ม.ค. 2563 เวลา 05.39 น.
  • Note Hotspur III
    ...ไม่งั้นจะเคี้ยวโดนลิ้นตัวเอง...
    27 ม.ค. 2563 เวลา 05.27 น.
  • Aemonr๙๐/๓๕๒ 1929/25
    ทำไมชาวสวน พ่อค้า แม่ค้า เอ๊ะอะก็ใช้สารเคมีมาก ถึงขณะทุกวันนี้ปากคอแห้งพัง ถึงเวลานอนก็กรนดัง พ่นสารเคมีออกปากและตื่นขึ้นมาลำคอลิ้นมีฝ้าขาวเป็นพังผืดเหมือนเด็กทารกเป็นฝ้าน้ำนมอย่างไงอย่างนั้น
    27 ม.ค. 2563 เวลา 05.20 น.
ดูทั้งหมด