ทั่วไป

ร.ฟ.ท.ปรับเงื่อนประมูลหัวจักร 50 คัน-อวดโฉมตู้ Power Car ประหยัดน้ำมัน

Manager Online
อัพเดต 21 ม.ค. 2562 เวลา 02.21 น. • เผยแพร่ 21 ม.ค. 2562 เวลา 02.21 น. • MGR Online

ร.ฟ.ท.จ่อประมูลซื้อหัวจักร 50 คัน 6.5 พันล้าน เปิดวิจารณ์รอบ 2 ปรับเงื่อนไข แบ่งประกอบในประเทศ 30 คัน หนุนอุตฯ ไทย อวดโฉม รถ Power Car8 คันแรก จ่ายไฟตู้โดยสาร ประหยัดเชื้อเพลิงลงเกือบครึ่ง ลดควัน มลพิษ รองรับปิดสถานีกลางบางซื่อ

นายศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการซ่อมบํารุงรถจักรและล้อเลื่อน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการซื้อรถจักรดีเซลไฟฟ้า (Diesel Electric Locomotive) น้ำหนักกดเพลา 16 ตัน/เพลา จำนวน 50 คัน กรอบวงเงิน 6,562.5 ล้านบาท ภายในเดือนม.ค.นี้จะนำร่างTOR ขึ้นเวปไซด์ เพื่อเปิดรับฟังคำวิจารณ์ครั้งที่ 2 โดยใช้เวลา 1 สัปดาห์ หากไม่มีความเห็นที่ต้องปรับปรุงจะเปิดประมูลตามขั้นตอน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ซึ่งในการจัดซื้อหัวรถจักร 50 คัน ครั้งนี้.มีการปรับปรุงเงื่อนไข เช่น กำหนดให้เป็นการประกอบภายในประเทศ หรือ CKD จำนวน 30 คัน และ นำเข้า100% จำนวน 20 คัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเริ่มต้นการเรียนรู้เพื่อทำการผลิตรถจักรเองภายในประเทศ เป็นต้น

ส่วน การเช่าหัวรถจักร 50 คัน ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวน ความต้องการและนำมาใช้งาน. เนื่องจากมีต้นทุนประมาณ 50,000 บาท/คัน/วัน ส่วนแผนการจัดหารถดีเซลรางปรับอากาศ 400 คัน ทดแทน 220 คัน อยู่ในขั้นตอนทำทีโออาร์ โดยกำหนดระบบรถไฟดีเซลรางไฟฟ้า (DEMU) เพื่อรองรับการเปิดสถานีกลางบางซื่อ โดยราคาเฉลี่ย คันละ 2.2 ล้านยูโร หรือประมาณ 70 ล้านบาท/คัน

***อวดโฉม รถ Power Carจ่ายไฟตู้โดยสาร ประหยัดเชื้อเพลิง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายศิริพงศ์กล่าวว่า ที่ผ่านมารฟท.ได้ดำเนินการพัฒนาเพื่อปรับปรุงคุณภาพบริการและลดต้นทุนด้านเชื้อเพลิง โดยได้ประมูลจัดซื้อ รถกำลังไฟฟ้า( Power Car) จำนวน 8 คัน วงเงิน 128 ล้านบาท ราคากลาง 16 ล้านบาท/คัน ซึ่งผู้เสนอราคาต่ำสุดและเจรจาต่อรอง เหลือ 12.5 ล้านบาท /คัน โดยจากการทดสอบพบว่า การใช้ Power Car 1ตู้ จะช่วยประหยัด ต้นทุนด้านเชื้อเพลิงในการเดินรถ 1 ขบวนลงได้ 30-46% เนื่องจาก Power Car จะทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตู้โดยสารทั้งขบวน จากเดิมที่แต่ละตู้จะต้องมีเครื่องปั่นไฟฟ้าเพื่อเป็นแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าสำหรับแต่ละตู้เอง ทำให้ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทุกตู้

โดยตู้ Power Car นี้ สามารถผลิตได้เองในประเทศ โดยนำเข้าเครื่องยนต์และวัสดุบางอย่างเท่านั้น เป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศ นอกจากประหยัดค่าใช้จ่ายและลดมลภาวะแล้ว ซึ่งจะทยอยส่งมอบทยอยส่งมอบตั้งแต่เดือนม.ค. 2562 และจะครบในเดือนส.ค. 2562 ซึ่งจะเริ่มให้บริการในเส้นทางที่มีความพร้อม เช่น ขบวนรถเช่า วีไอพี โอทอป ท่องเที่ยว

“เติมน้ำมัน ที่ Power Car เพียงตู้เดียว จ่ายไฟฟ้าให้กับทุกตู้โดยสาร ทั้งหมด ยิ่งพ่วงตู้โดยสารมาก ยิ่งประหยัด และในปี 2563 เตรียมแผนจะเปิดประมูลผลิต Power Car อีก 12 คัน วงเงินประมาณ 192 ล้านบาท“รองผู้ว่าฯ รฟท.กล่าว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการปรับปรุงรถโดยสาร เพื่อให้เชื่อมต่อระบบไฟฟ้ากับตู้ Power Car จำนวน 95 คัน วงเงินประมาณ 151 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างจัดทำ ร่าง TOR

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 11
  • 🇹🇭 วสุ ศาลายา 🇹🇭
    เริ่มต้นใช้กันมาตั้งแต่สมัยเสด็จพ่อรัชกาลที่5 ปรับเปลี่ยนไปบ้างตามยุคเล็กๆน้อยๆ #สมควรที่จะเปลี่ยนและพัฒนาก้าวไปให้ทันโลก
    21 ม.ค. 2562 เวลา 01.24 น.
  • Chulabhath
    จะอะไรก็ไม่ดี เมื่อยังใช้รางแบบเก่า กว้าง 1 เมตร ขณะที่รถไฟประเทศต่างปรับเป็น 1.43 เมตรหมดแล้ว
    21 ม.ค. 2562 เวลา 01.23 น.
  • Thunderteach
    คิดได้แค่นี้หรือ? แค่ปรับโน่นนิดนี่หน่อย ทาสีใหม่ คนไทยไม่ต้องการ เราต้องการ High Speed Train. ไม่ใช่ทำสีใหม่แต่ความเร็วคงเดิม 90 กม./ชม.
    21 ม.ค. 2562 เวลา 02.39 น.
  • eka
    ประเทศอื่น ที่พัฒนาเรื่องการรถไฟ เขาใช้รถจักรไฟฟ้ากันหมดละ จะมาอวดทำห่าไรวะ กับพัฒนาการยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เห้อ
    21 ม.ค. 2562 เวลา 02.28 น.
  • ทำไมเราไม่จะผลิตเองลองผิดลองถูกดู...
    21 ม.ค. 2562 เวลา 04.01 น.
ดูทั้งหมด