ไอที ธุรกิจ

ครม.ใช้ 2.4 หมื่นล้าน ประกันรายได้ ยางแผ่น 60 บาท แบ่งเจ้าของ-คนกรีด 60-40

TODAY
อัพเดต 15 ต.ค. 2562 เวลา 11.09 น. • เผยแพร่ 15 ต.ค. 2562 เวลา 11.09 น. • Workpoint News

วันที่ 15 ต.ค. ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติ ครม.เรื่อง การประกันรายได้ให้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะแรก ในวงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท ตั้งแต่ ต.ค.62 - มี.ค. 63 เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอน ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและเพิ่มความมั่นคงในอาชีพแก่เกษตรกร 1.4 ล้านราย ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่งประเทศไทย พื้นที่ปลูกยางพารา 17 ล้านไร่
.
โดยกำหนดประกันรายได้ ยางแผ่นคุณภาพดี 60 บาท/กิโลกรัม ,น้ำยางสด ที่ DRC (ปริมาณเนื้อยางในน้ำยาง) 100% 57 บาท/กิโลกรัม , ยางก้อนถ้วยที่ DRC 50% 23 บาท/กิโลกรัม
.
กำหนดปริมาณผลผลิต ประกันรายได้ให้ 240 กิโลกรัม /ไร่/ปี หรือ 20 กก./ไร่/เดือน เริ่มจ่ายให้งวดแรก 1-15 พ.ย. การแบ่งรายได้เจ้าของสวน 60% คนกรีดยาง 40%

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

.
นอกจากนี้ ยังได้อนุมัติอีก 4 โครงการเพื่อช่วยเหลือชาวสวนยาง ยกระดับราคายางพารา เร่งดูดซับปริมาณในตลาด ส่งเสริมภาคเอกชนให้มีการแปรรูปมากขึ้น และภาครัฐใช้ยางพาราใช้ในกิจกรรมต่างๆ แต่ละกระทรวง
.
คือ 1.โครงการขยายวงเงินสินเชื่อให้ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าที่ทำจากยางพารา ออกไปอีก 5 ปี รวมวงเงินสินเชื่อ 25,000 ล้านบาท เพื่อให้ผู้ประกอบการขยายกำลังผลิตแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางให้มากขึ้น 2.ขยายเวลาสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนผู้ประกอบการยางพาราแห้งออกไปอีก 2 ปี วงเงิน 20,000 ล้านบาท
.
3.ขยายเวลาสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยางออกไปอีก 4 ปี วงเงิน 10,000 ล้านบาท และ 4.ขยายเวลาการปรับปรุงและการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐออกไปอีก 3 ปี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทั้งนี้ ครม. ยังอนุมัติ 5 โครงการเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากฝนทิ้งช่วงและอุทกภัย ช่วง มิ.ย.-ต.ค. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ภายใต้งบประมาณ 3,120 ล้านบาท โดยใช้งบกลาง เพื่อกรณีฉุกเฉิน 2,967.5 ล้านบาท และงบประมาณของกระทรวงเกษตร 152 ล้านล้าน ประกอบด้วย

1.โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์,ถั่วเขียว วงเงิน 374.5 ล้านบาท
2.โครงการรักษาปริมาณและคุณภาพข้าว 2563/64 สนับสนุนพันธุ์ข้าวให้เกษตรกร ไร่ละ 10 กิโลกรัม ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ วงเงิน 1,739.42 ล้านบาท
3.โครงการพัฒนาเสริมอาชีพด้านประมง ด้วยการสนับสนุนพันธุ์ปลานิลและอาหารสัตว์น้ำ โดยเกษตรกรได้รับพันธุ์ปลานิลแปลงเพศ รายละ 800 ตัวและอาหารสัตว์ 120 กก. วงเงิน 260 ล้านบาท
4.โครงการสร้างรายได้จากอาชีพในแหล่งน้ำชุมชน 1,436 แห่งใน 129 อำเภอ โดยปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ คือ กุ้งก้ามกราม วงเงิน 506.9 ล้านบาท
5.โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก ดูแลเกษตรกร 48,000 ครัวเรือน โดยสนับสนุนเงินโอนเข้าบัญชี ธ.ก.ส. เพื่อไปซื้อพันธุ์ไก่และเป็ด คิดเป็นมูลค่ารายละ 4,850 บาท จำนวน 240 ล้านบาท

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 68
  • Petch 💎
    ต่างกับจำนำข้าวตรงไหน ไหนสลิ่มมาอธิบายซิ อ๋อ ต่างตรงที่ไม่มีฝูงควายไปปิดธนาคารตอนจะเบิกไปจ่ายเกษตรกร
    15 ต.ค. 2562 เวลา 13.39 น.
  • •°•°•°[)*€€•°•°•°
    ก่อนนี้โล90บาทดีๆไม่ชอบไง ตอนนี้ได้100ดั่งใจมั้ย 4โล100อ่ะ 555
    15 ต.ค. 2562 เวลา 13.33 น.
  • Polar_Bear
    คำว่ากินหลากหลาย กลายเป็นคำเฉพาะถิ่นไปเลย
    15 ต.ค. 2562 เวลา 13.49 น.
  • ดุจกาญจน์ Tu
    จะว่าไปก้ไม่ถุกซักเท่าไหร่น่ะ-4โลร้อยมันก้โอ-ดีกว่าไม่มีแดก-ว่าป่าว!?กุละเพลียจิต
    15 ต.ค. 2562 เวลา 13.38 น.
  • Berm =^^=
    ยางเต็มประเทศไทยแล้วมันเยอะยิ่งกว่านาข้าวอีก สนับสนุนการวิธีผลิตสินค้าจากยางพารางน่าจะดีกว่า
    15 ต.ค. 2562 เวลา 14.01 น.
ดูทั้งหมด