ไลฟ์สไตล์

เมื่อยุคนี้เป็นยุคของสังคมออนไลน์ เด็กมีสิทธิอะไรในโลกโซเชียลบ้าง?

LINE TODAY
เผยแพร่ 20 ก.ย 2562 เวลา 08.20 น. • Expinion.J

รู้หรือไม่ว่า ทุกวันที่ 20 กันยายนของทุกปีเป็นวันเยาวชนแห่งชาติ วันนี้ LINE TODAY เลยจะพามาดูกันว่า เยาวชนไทยมีสิทธิอะไรบ้างที่เราควรรู้ไว้ และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปสู่สังคมไร้พรมแดน หรือ โลกออนไลน์ สิทธิที่เด็กยุคใหม่ควรได้รับจะมีเรื่องอะไรบ้างตามมากันเลย

เริ่มจากสิทธิพื้นฐานที่ควรรู้ว่าสามารถทำอะไรได้บ้างในแต่ละช่วงวัย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เด็กแรกเกิด จะได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท หรือ บัตรทอง

พอเข้า อายุ 7 ขวบ ก็สามารถทำบัตรประชาชน และ ทำพาสปอร์ตได้

อายุ 15 ปี สามารทำพินัยกรรม,ใบขับขี่รถจักรยานยนตร์ส่วนบุคคลชั่วคราว,ทำงานพิเศษได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อายุ 17-19 ปี แต่งงานได้ (แต่ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครอง) และเมื่อแต่งงานแล้วจะกลายเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ

อายุต่ำกว่า 18 ปี ได้รับสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ทำผิดไม่ต้องเข้าคุกแต่ต้องไปอยู่สถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนแทน

อายุ 18 ปี 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

มีสิทธิเลือกตั้ง

ทำใบขับขี่รถจักรยานยนตร์และรถยนตร์ได้

ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ได้

ทำงานพิเศษได้หลากหลายอาชีพมากขึ้น

สามารถแปลงเพศได้ แต่ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครอง 

*อายุ 20 ปี เป็นผู้บรรลุนิติภาวะเต็มตัว สามารถแต่งงานและจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง

ทำนิติกรรมต่างๆได้ด้วยตนเอง เช่น สัญญาซื้อขายบ้าน,กู้ยืมเงิน ฯลฯ

นอกจากสิทธิเรื่องพื้นฐานที่เราควรรู้ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปเข้าสู่ยุคของสังคมออนไลน์มากขึ้นก็เริ่มมีการสร้างกฎเกณฑ์ใหม่ๆเพื่อคุ้มครองเด็กมากขึ้น ตามบริบทสังคมที่เปลี่ยนไป อย่างปัจจุบันเราจะเห็นว่าผู้ปกครองหลายคนเริ่มใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ทำธุรกิจ กิจกรรมต่างๆ สร้างตัวตนในโลกออนไลน์ ทำให้คนธรรมดากลายเป็นเน็ตไอดอล หรือ คนมีชื่อเสียงได้ในชั่วข้ามคืน

หรือเราจะเริ่มเห็นการสร้างเฟซบุ๊ก หรือ อินสตาแกรมโพสต์ภาพลูกหลานตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว เพื่อแชร์ความน่ารักน่าเอ็นดูของเด็กเหล่านี้บนสังคมออนไลน์ แต่ก็มีข้อที่ควรต้องระวังไว้.. จึงนำมาสู่เรื่องการคุ้มครอง สิทธิเด็กในโลกออนไลน์ 

สิทธิขั้นพื้นฐานมีหลักสำคัญว่า มนุษย์ทุกคนจะมีสิทธิในชีวิตร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน รวมถึงการให้ความสำคัญกับ การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล 

เรื่องสิทธิส่วนบุคคลมีความสำคัญต่อเด็ก เพราะเด็กๆเหล่านี้ยังไม่สามารถใช้โซเชียลมีเดียได้ด้วยตัวเอง คงปฏิเสธไม่ได้ว่า หลายๆโพสต์ ภาพ หรือ วิดีโอที่เราเห็นจะเป็นการโพสต์โดยพ่อแม่ หรือ ผู้ปกครอง และหลายๆคนก็เข้ามาแชร์ ชื่นชมในความน่ารักของเด็กๆเหล่านี้ แต่อีกมุมหนึ่งเราอาจจะไม่รู้ตัวว่า อาจเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวอยู่

ในแง่ของข้อมูลส่วนตัว ชื่อ อายุ เพศ ที่อยู่ ซึ่งอาจถูกนำไปใช้ทำการตลาดบนโลกออนไลน์หรือนำภัยมาสู่เด็กโดยไม่รู้ตัวอย่างบางเคสในต่างปรเทศมีกลุ่มคนที่มีรสนิยมชอบร่วมเพศกับเด็ก ใช้ประโยชน์จากภาพหรือวิดีโอของเด็กบนโลกออนไลน์ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายในชีวิตจริงได้

ซึ่งจริงๆแล้วประเทศไทยมีการออกกฎหมาย ห้ามโฆษณาหรือเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็ก ที่จะทำให้เกิดความเสียหาย หรือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ แต่ยังไม่มีตัวบทกฎหมายอย่างชัดจน

ทั้งนี้ในต่างประเทศได้ให้ความสำคัญกับเรื่องความเป็นส่วนตัวของเด็กที่เข้มงวดมาก อย่างในเยอรมัน ห้ามพ่อแม่ หรือ ผู้ปกครองเช็กอินว่าเด็ก (ที่อายุต่ำกว่า 14 ปี) อยู่ที่ใดบนโลกออนไลน์ แม้เด็กจะอยู่กับผู้ปกครองก็ตาม

หรือในสหรัฐอเมริกา กำหนดให้เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ไม่ควรอยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ อย่างเฟซบุ๊ก

ซึ่งทางเฟซบุ๊กและอินสตราแกรมได้ปรับให้มีนโยบายห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี มีบัญชีเฟซบุ๊กหรืออินสตาแกรม

อย่างไรก็ตามถึงแม้ในประเทศไทยจะยังไม่มีกฎหมายระบุเรื่องนี้อย่างชัดเจน แต่สิทธิที่เด็กควรได้รับ ก็เป็นสิ่งที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่พึงรู้และ ควรได้รับการปกป้อง

ความเห็น 9
  • ทัศน์
    แยกระหว่างในเมืองกับชนบทดีกว่ามันไม่เหมือนกัน.. จะบอกสิทธิก็ยังไงอยู่.. มารยาทในสังคมต้องมาก่อน..
    23 ก.ย 2562 เวลา 16.16 น.
  • ผมร้องเรียนครับหลานๆอายุ10ขวบบวกลบเรียนประถมแอบเอาคลิปมือถือนั่งดูกันเป็นหนังโป้ คาดคั้นถามพวกแกได้ต่อมาจากเพื่อน เพื่อนได้ต่อมาจากพี่ เด็กดูแล้วอาจอยากทดลองกับเด็กด้วยกันแล้วเกิดข่มขืนหมู่แบบเป็นข่าวและที่ไม่รู้อีกเท่าไหร่ ทำไงดีกับเรื่องหนังลามกที่มีเกลื่อนเมือง ชาวโซเชี่ยลช่วยๆกันหน่อยทุกคนมีลูกหลาน
    21 ก.ย 2562 เวลา 02.33 น.
  • oun
    น่าคิดมากกับความเปลี่ยนแปลโดยเราไม่มีการศึกษาก่อนรับเข้ามาทำให้เป็นเสมือนดาบสองคม.สังคมเราบริโครเกินควร
    20 ก.ย 2562 เวลา 23.43 น.
  • PATCHAREE
    ข้อมูลดีๆที่เราเพิ่งรู้
    20 ก.ย 2562 เวลา 23.07 น.
  • มีสิทธิ์เสียตัวและเสียคน
    20 ก.ย 2562 เวลา 13.38 น.
ดูทั้งหมด