ไลฟ์สไตล์

ใช้นิ้วกดลิฟต์ vs ใช้ศอกกดลิฟต์ ชีวิตในออฟฟิศเปลี่ยนไปอย่างไร หลัง COVID-19

The MATTER
เผยแพร่ 27 พ.ค. 2563 เวลา 09.09 น. • Lifestyle

หลายคนทำนายว่าหลังยุค COVID-19 ออฟฟิศจะเปลี่ยนไป เช่น ขนาดออฟฟิศอาจจะเล็กลง เพราะคนทำงานจากที่บ้านมากขึ้น พนักงานต้องพัฒนาทักษะด้่านดิจิทัลให้ดีขึ้น และบางคนมองว่าหากความตระหนักเรื่องโรคติดต่อเกิดขึ้นในระยะยาว อาจทำให้เกิดออฟฟิศประเภทใหม่ที่มีลักษณะคล้ายกับโรงพยาบาล เช่น มีสถานีอนามัย เป็นต้น

ตอนนี้หลายคนกลับมาทำงานที่ออฟฟิศแล้ว หลังมีการปลดล็อกดาวน์ในระยะ 2 และอาจสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับออฟฟิศของตัวเอง เช่น ทีนั่งอยู่ห่างจากเพื่อนโต๊ะข้างๆ มากขึ้น หรือ มีการตั้งเจลล้างมือตามจุดต่างๆ เราเลยอยากชวนทุกคนคุยว่าการใช้ชีวิตในออฟฟิศเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การชงกาแฟ

เมื่อก่อนเวลาอยากดื่มกาแฟ บางคนอาจขอให้แม่บ้านชงให้ แต่ตอนนี้เปลี่ยนมาชงกาแฟเอง เพราะกลัวการสัมผัสกับผู้ป่วย COVID-19 ที่ไม่แสดงอาการ บางคนอาจพึ่งพาร้านอาหารน้อยลง และหันมาทำอาหารเองมากขึ้น เพราะโรคระบาดด้วย การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างดคร่งครัด เช่น การสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ 70% รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล ฯลฯ จะช่วยให้เราปลอดภัยจากโรคระบาด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การใช้งานลิฟต์

ช่วงนี้หลายคนคงกลัวการสัมผัสกับสิ่งที่เราใช้ร่วมกัน เช่น ปุ่มลิฟต์ จึงเลี่ยงการสัมผัสกับปุ่มลิฟต์โดยตรง แต่ใช้อย่างอื่นในการสัมผัสแทน เช่น ข้อศอก หลายออฟฟิศมีจุดให้บริการเจลล้างมือ รวมถึง หลายคนก็พกเจลล้างมือเยอะขึ้นกว่าเมื่อก่อน แสดงให้เห็นว่าคนให้ความสำคัญกับสุขอนามัยมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางคนทำนายว่าคอนเซ็ปท์ ‘ออฟฟิศไร้การสัมผัส’ (contactless office) เช่น ห้องประชุมที่สั่งการระบบไฟด้วยเสียง หรือ เครื่องชงกาแฟที่ควบคุมผ่านแอพฯ ในมือถือ เป็นต้น จะได้รับความนิยมมากขึ้นในอนาคต

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ที่นั่งในออฟฟิศ

เมื่อเราต้องรักษาระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing เพื่อยับยั้งการระบาดของโรค COVID-19 หลายที่ได้มีมาตรการให้คนสามารถรักษาระยะห่างระหว่างกันได้ เช่น การเว้นที่นั่งในรถไฟฟ้า - รถเมล์ รวมไปถึง การจำกัดจำนวนคนในอาคาร บางออฟฟิศที่พื้นที่ภายในอาคารเหลือเฟือและมีพนักงานไม่เยอะ สามารถจัดที่นั่งใหม่ให้แต่ละคนสามารถรักษาระยะห่างระหว่างกันได้ บางออฟฟิศที่มีขนาดเล็ก รักษาระยะห่างได้ลำบาก อาจใช้แผงกั้นระหว่างโต๊ะเข้ามาช่วย หรือ จัดเวรให้พนักงานเข้ามาทำงานกันคนละวัน เพื่อลดความแออัดในอาคาร การรักษาระยะห่างตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) คือ การอยู่ห่างกัน 1 - 2 เมตร ซึ่งเป็นระยะปลอดภัยจากการส่งต่อเชื้อจากคนสู่คน

การประชุม

บางบริษัทให้พนักงานกลับมาทำงานในออฟฟิศแล้วก็จริง แต่อาจจะยังประชุมออนไลน์อยู่ อาจเพราะมีพนักงานหลายคน และกังวลว่าการประชุมคนจำนวนมากในห้องเดียว อาจทำให้เกิดความแออัด และเสี่ยงต่อการระบาดแบบเป็นกลุ่มก้อนได้ มีการทำนายว่าในอนาคตออฟฟิศหลายแห่งอาจมีขนาดเล็กลง เพราะคนเข้ามาทำงานในออฟฟิศกันน้อยลง และทำงานทางไกลกันมากขึ้น ตอนนี้บางบริษัทเริ่มให้พนักงานทำงานออนไลน์แบบถาวรแล้ว เช่น Twitter และ Facebook แต่บางธุรกิจก็มีความกังวลเรื่องข้อมูลทางธุรกิจจะรั่วไหล

การรับประทานอาหาร

พอกลับมาเจอกับเพื่อนร่วมงานแล้ว ช่วงพักกลางวัน ยังกินข้าวกับเพื่อนเหมือนเดิม หรือ เปลี่ยนมากินข้าวคนเดียวแล้ว ช่วงที่เราทำงานจากบ้าน บางคนอาจชินกับการสั่งอาหารมากินที่บ้านคนเดียว และยังกลัวโรคระบาดอยู่ เลยหลีกเลี่ยงการกินข้าวในร้านอาหารที่มีคน และนำอาหารมากินในที่ทำงานแทน แต่บางคนก็อาจไม่มีปัญหากับการนั่งกินข้าวร่วมโต๊ะเดียวกันกับคนหลายๆ คน

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าการทำงานในออฟฟิศของแต่ละคนจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่อย่างไร การรักษาความปลอดภัยจาก COVID-19 ก็เป็นเรื่องที่หลายคนต้องให้ความสำคัญ เพราะหากการระบาดระลอก 2 เกิดขึ้น และมีการปิดเมืองอีกครั้ง ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่รุนแรงก็จะเกิดขึ้นตามมา

Illustration by Waragorn Keeranan

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 3
  • สาธิต 😱
    ง่ายปุดๆ คิดอะไรยุ่งยาก แค่ติดเจลแอลกอฮอล์ในลิฟต์ กดชั้นเสร็จ ก็เจลล้างมือ แล้วไม่ต้องห่วง ออฟฟิศที่ทำงาน มีแม่บ้านคอยเติมเวลาเจลหมดให้อยู่แล้ว เดี๋ยวคิดมากกันอีก
    27 พ.ค. 2563 เวลา 16.09 น.
  • Ton hunter
    ผมใช้นิ้วตีนกดครับ..ปลอดภัย
    27 พ.ค. 2563 เวลา 15.49 น.
  • ✈️✈️🛩️🛩️🚁🚁🚀✈️✈️🛩️🛩️🚁🚁✈️✈️🚁🚁🚀✈️✈️
    ใครก็ได้ช่วยออกแบบ เเผ่นฟลิม์สำหรับกดลิฟต์ ตรงหน้ากากลิฟต์ พอกดแล้ว ฟลิม์จะเลื่อนไป เพื่อนให้กดใหม่ได้ไปต้องกดซ้ำ
    27 พ.ค. 2563 เวลา 15.16 น.
ดูทั้งหมด