ทั่วไป

อ.เจษฎ์ เผยวิธี รับมือกับไฟฟ้าสถิตในหน้าหนาว!

NATIONTV
อัพเดต 13 ธ.ค. 2562 เวลา 23.55 น. • เผยแพร่ 13 ธ.ค. 2562 เวลา 23.15 น. • Nation TV
อ.เจษฎ์ เผยวิธี รับมือกับไฟฟ้าสถิตในหน้าหนาว!

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ไฟฟ้าสถิตในร่างกาย เกิดจากอะไร และทำไมในช่วงหน้าหนาวแบบนี้ พอเราไปแจะอะไรก็จะเหมือนถูกไฟช๊อตตลอด เราจะมาบอกว่ามันเกิดขึ้นมาได้อย่างไรและวิธีรับมือ โดย อาจารย์เจษฎ์

โดยเฟจเฟซบุ๊กอ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ได้โพสต์บอกถึงรายละเอียดของการเกิดไฟฟ้าสถิตในร่างกาย และวิธีรับมือกับไฟฟ้าสถิตในหน้าหนาว! มีข้อระบุดังต่อไปนี้…

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แทบจะเป็นคำถามที่ส่งมาถามเยอะมากที่สุดแล้วในช่วงหน้าหนาวแบบนี้ คือ "ทำไมช่วงนี้แตะอะไร ก็เหมือนกันถูกไฟดูดไฟช๊อตเลย แล้วจะแก้จะป้องกันอย่างไรได้บ้าง" …. โถๆ อย่าว่าแต่ทุกท่านเลยครับ ผมก็โดนประจำช่วงนี้ ยิ่งตอนขับรถแล้วลงรถมา แตะประตูแตะมือจับรถ ก็โดน "ไฟฟ้าสถิต" ดูดประจำ 555

ไฟฟ้าสถิตในร่างกาย เกิดจากอะไร ? … ปรกติ สสารต่างๆ จะประกอบไปด้วยอะตอม ที่มีอนุภาคของประจุไฟฟ้าขั้วบวก (โปรตอน) และประจุไฟฟ้าขั้วลบ (อิเล็กตรอน) .. เมื่อเกิดการเสียดสีกันระหว่างสสารต่างชนิด ก็จะทำให้ประจุไฟฟ้าบนพื้นผิวของสสารนั้นเกิดความไม่สมดุลขึ้นได้ และเมื่อสสารที่มีประจุไฟฟ้าไม่สมดุล ไปเจอกับสสารอื่น มันก็จะมีการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้ากันขึ้น เกิดการถ่ายเทของประจุไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า "ไฟฟ้าสถิต"

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ดังนั้น เวลาที่ร่างกายของคนเรา เสียดสีกับเสื้อผ้าที่สวมใส่ เสียดสีกับเก้าอี้ที่นั่ง ก็อาจจะทำให้เกิดการสะสมประจุไฟฟ้าขั้วใดขั้วหนึ่งในตัวของเราไว้มากเกินไป โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างแห้ง หรือสัมผัสในวัสดุบางชนิด เช่น พื้นพรม พื้นขนสัตว์ หรือผ้าใยสังเคราะห์อย่างโพลีเอสเตอร์ ทำให้เมื่อเราสัมผัสกับวัสดุอื่น เช่น โลหะ หรือแม้แต่ผิวหนังของคนข้างเคียง ก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าขึั้นอย่างรวดเร็ว รู้สึกได้เหมือนกับการเกิดไฟฟ้าช๊อต

ในทางทฤษฎีนั้น การป้องกันไฟฟ้าสถิตจึงจะต้องพยายามลดความแห้งของผิวหนังของเรา รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เราอยู่ เช่น ป้องกันไม่ให้ผิวแห้งด้วยการทาโลชั่นและดื่มน้ำมากๆ , เพิ่มความชื้นในอากาศ ด้วยเครื่องเพิ่มความชื้น หรือปลูกต้นไม้ในห้องและหมั่นรถน้ำให้ชุ่มชื้น , พรมน้ำใส่เสื้อผ้าเล็กน้อย โดยเฉพาะเสื้อผ้าขนสัตว์ หรือพรมบนโซฟา เพื่อเพิ่มความชื้นและป้องกันการสะสมของประจุไฟฟ้า

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่ผลิตด้วยผ้าขนสัตว์ ผ้าใยสังเคราะห์ หรือโพลีเอสเตอร์ โดยเปลี่ยนมาใส่ผ้าฝ้ายแทนดีกว่า รวมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าคลุมเตียง เพราะผ้าที่เสียดสีกัน อาจสะสมประจุไฟฟ้าไว้มาก

ถ้าจะต้องแตะกับวัตถุที่อาจเกิดไฟฟ้าสถิตช๊อตได้ เช่น ต้องจับรถเข็นหรือตะกร้าในห้างสรรพสินค้า หรือจับลูกบิดประตูบ้าน หรือจับที่เปิดประตูรถยนต์ ซึ่งมักมีอากาศภายในที่แห้งและทำให้เกิดประจุไฟฟ้าสะสมในตัวคุณ ก็ให้ถือโลหะที่ติดตัวมา เช่น กุญแจ แหวน หรือสร้อยข้อมือ ไว้ในมือสักพัก ก่อนที่จะไปจับวัตถุอื่นๆ เพื่อถ่ายโอนกระแสไฟฟ้าออกไปจากตัว , หรือเอาโลหะนั้นไปแตะกับวัตถุที่จะจับเสียก่อน เพื่อลดทอนการถ่ายเทประจุไฟฟ้าไปที่เครื่องประดับโลหะนั้น

หวังว่าทุกคนคงจะเอาตัวรอดจากไฟฟ้าสถิตยามหน้าหนาวนี้ไปได้นะครับ

ปล. ส่วนอุปกรณ์ที่โฆษณาขายกันว่า สวมใส่แล้วลดไฟฟ้าสถิตได้นั้น ผมยังไม่เคยลองใช้นะว่าได้ผลจริงหรือเปล่า ใครเคยใช้ก็บอกด้วยครับ

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 14
  • Ping
    ก่อนจะสัมผัสอะไรถ้าใส่รองเท้าแตะอยู่ก็ให้เอาส้นเท้าแตะพื้นก่อนแค่เสี้ยววินาที มันจะถ่ายประจุลงดินแล้วเราจะไม่โดนไฟช็อตอันนี้ผมใช้ประจำเวลาลงจากรถยนต์และก่อนสัมผัสประตูเหล็กหน้าบ้าน หรือถ้าใส่ผ้าใบก็ให้ใช้ฝ่ามือสัมผัสสิ่งต่างๆก่อนทุกครั้ง(อย่าให้นิ้วโดนก่อนนะครับ)จะช่วยลดความรู้สึกเจ็บจนถึงไม่รู้สึกอะไรเลยจากการช็อตของไฟฟ้าสถิตย์ได้ สาเหตุที่เราเจ็บเพราะพื้นผิวที่สัมผัสในการถ่ายเทประจุมีน้อยส่วนใหญ่คือปลายนิ้วนั่นเอง ทำให้ตัวเราคายประจุแบบบีบอัดจึงเกิดการช็อตที่รุนแรง ลองเอาทริคนี้ไปใช้กันดูครับ
    14 ธ.ค. 2562 เวลา 01.26 น.
  • 🫧
    ชนิดเนื้อผ้าของเสื้อ คือสาเหตุหลักที่ผมเจอมา ตั้งแต่เปลี่ยนมาใช้ คอตต้อน (ฝ้าย) แบบ 80%-100% ก็ ไม่เคยเจอ รถกับประตูรั้วดูดอีกเลย จากที่ก่อนหน้านี้ เสื้อยืดถูกๆผ้าโพลีเยสเตอร์ ตอนกลางคืนบางทีจับประตูรั้วไฟแลบเลย หรือคนมาแตะตัวก็โดนช๊อตไปตามๆกัน
    14 ธ.ค. 2562 เวลา 00.17 น.
  • dandy-jp
    ได้ความรู้ขึ้นเลย ถึงว่าช่วงหน้าหนาวเวลาปิดประตูรถยนต์โดนไฟฟ้าสถิตบ่อยมาก เป็นเพราะสาเหตุนี้นี้เอง
    14 ธ.ค. 2562 เวลา 00.42 น.
  • 💞ผึ้ง💋🌾🌸🍃
    เราเป็นบ่อยมากเลย โดนอะไรก็ช็อตไปหมด แม้แต่น้องหมาอยู่ด้วยกันในห้องแอร์ยังโดนช็อตไปตามๆกัน😬
    14 ธ.ค. 2562 เวลา 02.04 น.
  • ShelL
    หมดหนาวแล้ว แต่จริงๆกลางวันร้อนแห้ง กลางคืนเปิดแอร์ยังไงก็มีแน่ๆ
    14 ธ.ค. 2562 เวลา 02.01 น.
ดูทั้งหมด