ทั่วไป

“สืบจาก (จิต) ศพ”

Thai PBS
อัพเดต 18 ก.พ. 2563 เวลา 00.08 น. • เผยแพร่ 18 ก.พ. 2563 เวลา 00.08 น. • Thai PBS

"ดิฉันเคยมีประสบการณ์ตรงในพื้นที่ปลายด้ามขวานมา 15 ปี ในปี 2552 อดีตทหารพรานกราดยิงคนละหมาด ในมัสยิด อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส มีผู้เสียชีวิต 10 คน บาดเจ็บ 12 คน และยังมีเหตุการณ์ที่กำลังพลบุกทำร้ายผู้บังคับบัญชา กำลังพลเครียดยิงเพื่อนร่วมงานและยิงตัวเองเสียชีวิตมาหลายครั้ง แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่เป็นข่าว…"

น.ส.เพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส.พรรคภูมิใจไทย สะท้อนข้อมูลช่วงหนึ่ง ระหว่างการอภิปรายญัตติด่วนของสภาฯ หาแนวทางป้องกันความรุนแรง และถอดบทเรียนเหตุกราดยิงในจังหวัดนครราชสีมา “ท่านประธานสภาฯ ได้กล่าวไว้เบื้องต้นว่าเหตุการณ์นี้ (โคราช) ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย ฉะนั้นมีคำถามมากมายทั้งผู้ก่อเหตุ สาเหตุ การสื่อสารภาวะวิกฤตการเสนอข่าว ระบบคลังอาวุธ และนำเรื่องดี ๆ มาบันทึก เยียวยาแก้ไขป้องกันในอนาคต” “คนคนหนึ่ง ถูกทำอะไรมาก่อนหรือไม่ ความเจ็บปวดในอดีต ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดความรุนแรง ทั้งหมดนี้คือการชันสูตรศพในเชิงจิตวิทยา หรือ Psychological Autopsy”

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
พ.ญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส.พรรคภูมิใจไทย

พ.ญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส.พรรคภูมิใจไทย

งานวิจัยที่เผยแพร่โดยสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย อธิบาย Psychological Autopsy ศึกษาปัญหาการฆ่าตัวตายในพื้นที่หนึ่งของไทย เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์ญาติหรือผู้ใกล้ชิดของผู้ก่อเหตุ พยาบาลจิตเวช เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและสาธารณสุข หรือคนที่ก่อเหตุแล้วยังมีชีวิตอยู่ นอกจากข้อมูลทั่วไปอย่างอายุ เพศ สถานภาพ อาชีพ ประวัติโรคประจำตัว ทั้งโรคทางกาย และโรคจิต ปัญหาการใช้สารเสพติด แอลกอฮอล์ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่กระตุ้นให้ก่อเหตุ รวมถึงวิธีที่ใช้ วิธีการนี้จะวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเครียด สิ้นหวังและตัดสินใจใช้ความรุนแรง หากสามารถลดปัจจัยเหล่านี้ ย่อมหมายถึงการลดความเสี่ยงและความสูญเสียได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ผศ.ร.ต.อ.จอมเดช ตรีเมฆ คณะอาชญาวิทยา ม.รังสิต

ผศ.ร.ต.อ.จอมเดช ตรีเมฆ คณะอาชญาวิทยา ม.รังสิต

เช่นเดียวกับนักอาชญาวิทยา มองปรากฏการณ์ที่นครราชสีมา ว่าทีมระงับเหตุไม่บรรลุเป้าหมายสูงสุด คือไม่มีผู้เสียชีวิตแม้แต่คนเดียว รวมถึงตัวผู้ก่อเหตุด้วย เพราะการนำตัวมาสอบสวนและศึกษาจะเกิดประโยชน์มากกว่า แม้อีกด้านก็ยอมรับว่าในสถานการณ์นั้น ก้าวพ้นการเจรจาหรือการจับเป็นแล้ว และการวิสามัญฆาตกรรมนั้นจำเป็น เพื่อรักษาชีวิตประชาชนที่เหลือ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การจำคุกตลอดชีวิตมันโหดกว่าการประหารชีวิต เพราะมันทำให้เขาต้องอยู่ไปเรื่อยๆ และเขายังเป็นกรณีศึกษา และเป็นตัวอย่างให้กับคนอื่นที่คิดจะทำตาม แต่ถ้าเขาตายเขาจะถูกลืม ถ้าโทษจำคุกมันไม่ร้ายแรงเท่าประหาร คงไม่มีใครฆ่าตัวตายในเรือนจำ ดังนั้นควรจะปรับเป็นการจำคุกตลอดชีวิตแบบไม่ลดโทษ” ผศ.ร.ต.อ.จอมเดช ตรีเมฆ คณะอาชญาวิทยา ม.รังสิต ให้สัมภาษณ์ไว้ในรายการตอบโจทย์ ไทยพีบีเอส
นับเป็นอีกมาตรการระยะยาว นอกเหนือจากการเคลื่อนไหวในระยะสั้นๆ อย่างการเยียวยาผู้สูญเสีย ตรวจสอบปัญหาบ้านสวัสดิการที่หลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นต้นตอ รวมถึงเรียกร้องความรับผิดชอบจากนายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รวมถึงผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งไม่นานก็อาจจะเลือนหายไปตามเวลา

จตุรงค์ แสงโชติกุล
ข้อมูล http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/58-1/01-Anuphong.pdf

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 3
  • mothaey
    ช่วยๆกันเถอะครับกับเหตุการที่เกิดขึ้นเอามาเป็นประเด็นในการหาวิธีการแก้ใขป้องกัน อย่าใช้ซ้ำเติมกันและกันเลย ข้อคิดคือหากมีบุคคลประเภทเดียวกับผู้ก่อเหตุอยู่ในกองทัพสัก 20 คนแล้วบังเอิญอยู่ที่เดียวกันหรือสนิทเป็นเพือนร่วมรุ่นกันฯลฯ น่ากลัวนะครับเพราะขนาดคนเดียวยังทำให้เกิดการสูญเสียขนาดนี้หาก 20 คนละอะไรจะเกิดขึ้น อย่าระเริงกับชัยชนะบนความสญเสียขนาดนี้กันเลยใด้โปรด.
    18 ก.พ. 2563 เวลา 01.54 น.
  • mom2kids
    ดับทุกข์ที่เกิด จากการที่ต้องรู้ต้นเหตุ และหาวิธีแก้ไขจากสาเหตุนั้นๆ ประมาทปล่อยๆไป ผู้มีอำนาจคิดว่าต้องกดต้องทนกันได้ ก็ย่ำและจะซ้ำรอยเดิม
    18 ก.พ. 2563 เวลา 05.04 น.
  • ถวิล
    ไม่ได้ดอก คุน ..กดหมายไทยไม่มีคำว่าไม่ลดโทษ. ..ติดตลอดชืวิตแต่ 10กว่าปีก้อออกแล้ว ออกมาสร้างความเดือดร้อนต่อ
    18 ก.พ. 2563 เวลา 01.39 น.
ดูทั้งหมด