ทั่วไป

สามนักบุกเบิก 'แบตลิเทียม-ไอออน' คว้าโนเบลสาขาเคมี

ไทยโพสต์
อัพเดต 09 ต.ค. 2562 เวลา 14.36 น. • เผยแพร่ 09 ต.ค. 2562 เวลา 14.33 น. • ไทยโพสต์

นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน, อังกฤษ และญี่ปุ่น คว้ารางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2562 ไปครองจากการประกาศผลเมื่อวันพุธ ด้วยผลงานการบุกเบิกและพัฒนาแบตเตอรีลิเทียม-ไอออนที่ปฏิวัติวงการพลังงานปลอดเชื้อเพลิงฟอสซิลและเทคโนโลยีอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย

ภาพบนจอขนาดใหญ่ขณะประกาศผลผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาเคมี จากซ้าย จอห์น กูดอีนาฟ, สแตนลีย์ วิตทิงแฮม และอากิระ โยชิโน / AFP

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

    ราชบัณฑิตยสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนประกาศผลการพิจารณามอบรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2562 เมื่อวันพุธที่ 9 ตุลาคม 2562 โดยผู้ที่ได้รับรางวัลมีทั้งสิ้น 3 คน ได้แก่ จอห์น กูดอีนาฟ ชาวอเมริกันอายุ 97 ปี ซึ่งกลายเป็นผู้ชนะรางวัลโนเบลที่อายุมากที่สุด, สแตนลีย์ วิตทิงแฮม ชาวอังกฤษ อายุ 77 ปี และอากิระ โยชิโน ชาวญี่ปุ่น อายุ 71 ปี ทั้งสามคนจะต้องหารเงินรางวัล 9 ล้านโครนาสวีเดน (ราว 27 ล้านบาท)

    คณะกรรมการโนเบลกล่าวว่า แบตเตอรีลิเทียม-ไอออนปฏิวัติชีวิตของมนุษย์เรานับแต่แบตเตอรีชนิดนี้เข้าสู่ตลาดเมื่อปี 2534 บุคคลทั้งสามเป็นผู้วางรากฐานของสังคมไร้สายที่ปลอดเชื้อเพลิงฟอสซิล ที่ยังก่อประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ที่สุดต่อมวลมนุษยชาติ

    วิตทิงแฮมเป็นผู้พัฒนาแบตเตอรีลิเทียมที่ใช้งานได้เป็นคนแรกเมื่อยุคต้นทศวรรษ 1970 จากความต้องการหาแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ในช่วงเกิดวิกฤติน้ำมัน กูดอีนาฟช่วยพัฒนาศักยภาพของแบตเตอรีชนิดนี้ให้สามารถประจุไฟได้มากขึ้น ส่วนโยชิโนเป็นผู้นำวัสดุจำพวกคาร์บอนเข้ามาใช้ ซึ่งทำให้แบตเตอรีชนิดนี้มีความปลอดภัยมากขึ้นและสามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

    ปีนี้โนเบลประกาศผู้ชนะในสาขาการแพทย์หรือสรีรวิทยา และสาขาฟิสิกส์ไปแล้ว เมื่อวันจันทร์และอังคารที่ผ่านมา โดยสาขาการแพทย์มอบให้วิลเลียม เคลิน กับเกรก เซเมนซา ชาวอเมริกัน และปีเตอร์ แรตคลิฟฟ์ ชาวอังกฤษ ที่วิจัยว่าเซลล์ของมนุษย์รับรู้และปรับตัวเข้ากับระดับออกซิเจนที่เปลี่ยนแปลงอย่างไร

    ส่วนสาขาฟิสิกส์ ผู้ชนะได้แก่ เจมส์ พีเบิลส์ นักจักรวาลวิทยาชาวแคนาดา-อเมริกัน ผู้คิดทฤษฎีเรื่องจักรวาลวิวัฒนาการอย่างไรภายหลังบิ๊กแบง และไมเคิล เมเยอร์ และดีดีเยร์ กีลอส สองนักดาราศาสตร์ชาวสวิส ผู้ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2538

    วันพฤหัสบดีจะเป็นคิวของโนเบลสาขาวรรณกรรม ซึ่งปีนี้จะประกาศชื่อผู้ชนะ 2 คน ทดแทนจากการเลื่อนเมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากกรณีอื้อฉาวทางเพศ จากนั้นวันศุกร์จะเป็นสาขาสันติภาพ ซึ่งเกรียตา ทุนแบร์ เป็นตัวเก็งในปีนี้ และวันจันทร์จะปิดท้ายที่สาขาเศรษฐศาสตร์.

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 5
  • eakk
    มหาวิทยาลัยไทยรอมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
    10 ต.ค. 2562 เวลา 00.05 น.
  • Pilot guide
    นี้สิของแท้ ไม่ใช่ไอ้พวกกำมะลอ มหาลัยบ้านเราที่กัดแต่ไอ้เนติวิทย์กับแย่งกันเป็นอธิการบดี
    09 ต.ค. 2562 เวลา 17.05 น.
  • Pojsible
    ชอบตรงเค้ารอเวลา จนมันมีคุณค่าจริง สร้างประโยชน์อเนกอนันต์จริง จึงประกาศให้รางวัล ไม่ใช้ทำไม่กี่ปีให้รางวัล ดับสลายไปหลังได้รางวัล มันไม่มีคุณค่าอะ
    09 ต.ค. 2562 เวลา 16.38 น.
  • 🌐Suwanchai🍁🌷🌲
    ขอคารวะแด่ท่านทั้งสามที่มีคุณูปการต่อเพื่อนมนุษย์
    09 ต.ค. 2562 เวลา 16.38 น.
  • ⏳⇂จ้ๅજາઈ🏯ūήşๅ⌛
    ต้องรอเกือบ 30 ปี ถึงได้รางวัล สมควรได้ครับ เพราะ มือถือที่เราๆใช้อยู่ ก้ Lithium-Ion ซะเกือบทั้งโลก
    09 ต.ค. 2562 เวลา 16.02 น.
ดูทั้งหมด