นักการเมืองต้องศึกษาไว้! “แบ่งเขตเลือกตั้ง” ยังไงให้ชนะมากที่สุด!
BY : TEERAPAT LOHANAN
จากเหตุการณ์เมื่อสิ้นเดือนที่ผ่านมา (30 พฤศจิกายน 2561) ที่ทางรัฐมนตรี คสช. ได้ออกมาใช้ ม.44 อีกครั้ง กับการแบ่งเขตเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงนี้ ซึ่งมีผลให้กกต. สามารถเปลี่ยนแปลงการแบ่งเขตเลือกตั้งได้ นอกเหนือจากสิ่งที่ กกต. ได้เคยดำเนินการมาแล้วในการทำประชาพิจารณ์ โดยเฉพาะประเด็นที่ ม.44 ที่ออกมาอนุญาตให้ กกต.สามารถทำสิ่งที่อาจผิดกับกับกฎเกณฑ์ กติกาต่างๆได้และให้ถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบ
โดย "นายภูมิธรรม เวชยชัย" เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ได้กล่าวเอาไว้ว่า “การแบ่งเขตดังกล่าวเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นเป็นรูปธรรมว่ามีความพยายามที่จะแบ่งเขตโดยไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น เรื่องนี้ไม่ควรเกิดเพราะก่อนหน้าที่จะมีคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 16/2561 กกต.ได้แบ่งเขตเลือกตั้งเสร็จแล้ว ผ่านกระบวนการฟังความคิดเห็นจากพรรคการเมืองและประชาชนมาแล้ว แต่เมื่อ คสช.ออกคำสั่งมาให้สามารถเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง ทำอะไรก็ได้ อนุญาตให้ทำผิดกฎกติกาและหลักเกณฑ์ เท่ากับชัดเจนแล้วว่ามีเจตนาแอบแฝงเอื้อประโยชน์ ซึ่งหลักรัฐศาสตร์ระบุไว้ว่าการแบ่งเขตทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ”
และในความเป็นจริงแล้ว โมเดลของการแบ่งเขตเลือกตั้งในครั้งนี้ เป็น “การแบ่งเขตเลือกตั้งแบบอยุติธรรม”(Gerrymandering) หรือ “การแบ่งเขตเลือกตั้ง เพื่อที่จะให้พรรคของตนเองเชียร์อยู่ ได้เปรียบหรือเป็นฝ่ายชนะขึ้นมา" ซึ่งเป็นการทำให้พรรคในฝ่ายที่ตนเองสนับสนุนอยู่นั้นได้กลายเป็นเสียงข้างมากจากประชาชน เพราะ สัดส่วนของ ประชาชนในพื้นที่รวม (ของเขตเลือกตั้ง) มีอิทธิพลในการ แบ่งเขตเลือกตั้งด้วย
คือ การออกแบบการแบ่งเขตการเลือกตั้งว่า จะทำอย่างไร และพรรคไหนจะชนะ ทั้งๆ ที่ประชากรผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งนั้น ส่วนใหญ่เป็นสีน้ำเงิน และการออกแบบ ก็สามารถทำให้ พรรคสีแดง ซึ่งเสียเปรียบจากจำนวนคน มีโอกาสที่จะ "ตีเสมอ" และสามารถทำให้เขตที่จะแพ้ กลายเป็น "การลุ้น" (Swing) ได้เช่นกัน
เรื่องนี้ ไม่จำเป็นว่า ประชากรในเขตมีเท่าไร ถ้าออกแบบเขตเลือกตั้งได้ดี ผลจะเป็นอย่างที่ตนเองต้องการ ถึงแม้ว่า ฝ่ายตรงข้าม จะมีประชากรมากกว่าก็ตาม
แต่ทางนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ได้ออกมากล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “เรื่องนี้ คสช. ไม่ได้สั่งให้ไปเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้งนะ เพราะมันเป็นการตัดสินใจของ กกต. ต่างหาก แต่ถึงอย่างนั้น นายกฯ ก็ยืนยันว่าการแบ่งเขตใหม่ครั้งนี้ ไม่ได้ทำเพื่อเอื้อประโยชน์พรรคการเมืองใด”
"เป็นการปรับพื้นที่ เพราะ 4-5 ปี ที่ผ่านมา จำนวนประชากรเปลี่ยนแปลงไปเยอะ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะต้องไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ แต่ถ้าเอาแบบเดิมแบบเก่า ประเทศจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ก็ลองดูว่าแบ่งเขตไปแล้วจะดีขึ้นหรือไม่ และถึงแบ่งเขตอย่างไร จะเข้าพรรคไหน ประชาชนไม่เลือกก็จบ อย่าดูถูกประชาชน เพราะประเทศไม่ใช่อยู่ที่คนไม่กี่คน ต้องอยู่ด้วยประชาชนทั้งประเทศ”
อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้ก็มีนักการเมืองจากหลายพรรคหลายฝ่ายได้ยื่นหนังสือร้องเรียนไปเป็นจำนวนมาก และก็มีอีกหลายฝ่ายออกมาชี้แจงถึงตัวอย่างการแบ่งเขตที่เห็นได้ชัดถึงความอยุติธรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งต่อไปที่กำลังจะมาถึงนี้
อ้างอิง : https://www.thairath.co.th/content/1433073
Oldsnake Oldheadsnak ถ้าทำกันขนาดนี้นะ กุว่ามึงปฏิวัติซ้อนตัวเองเหอะ ใช้ขี้ข้าที่แต่งตั้งขึ้นมาทำก็ได้ ไม่มีใครทำอะไรได้อยู่แล้ว รอจนน้ำเดือดได้ที่ คนออกมาเต็มถนน ตายซัก สองสามหมื่นคน ตอนนี้ประเทศไทย คงดีขึ้นแน่นอน
09 ธ.ค. 2561 เวลา 01.44 น.
มหวรรณ ทิพย์เกาะ เอ้าว่ากันไป่อย่าเรื่องมากเดี๋ยวใช้ม.44เลยนิ🤣🤣🤣🤣😭😭😭😭
09 ธ.ค. 2561 เวลา 01.15 น.
chatchai comsiri ไม่ต้องเห่าทีมึงไม่เห็นพูด.ไอ้ขี้ข้า
09 ธ.ค. 2561 เวลา 01.03 น.
จัดมาเลย...แบบไหน ? ผลคะแนนอยู่ที่ประชาชนที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งพรรคที่ตนชื่นชอบ ป.ล.การผูกขาดนั้นคงยากเพราะเงินนั้นไปไม่ถึง อีกทั้งกฎหมายพร้อมเล่นงานบุคคลภายนอกทั้งทางตรง & ทางอ้อม ป.ล.ไม่ขาดใจตายก็ตรอมใจตาย ป.ล.สไตล์พเนจร um umm umm uum umum 😇😨
09 ธ.ค. 2561 เวลา 00.43 น.
KingKorat พรรคที่ออกอาการว่าจะถึงวาระสุดท้ายแล้วมักจะเป็นอาการอย่างนี้ผิดกับเมื่อก่อนสมัย10ปีที่แล้วเห็นคุยโวข่มขู่คนอื่นใช้ทุกช่องทางไม่เลือกวิธีที่จะเอาชนะเขาเรียกว่ากรรมมันสนองพวกเองแล้ว ปชช.จะสั่งสอนให้พวกเองจะได้รู้ไว้ว่าอย่ามาทำร้าย ปชช.และแผ่นดิน
09 ธ.ค. 2561 เวลา 00.43 น.
ดูทั้งหมด