ต่างประเทศ

คุยกูรู เจาะระบบ Iron Dome จริงหรือ ล้ำที่สุดในโลก และเหตุผลที่ 'อิสราเอล' ยังถูกโจมตี

MATICHON ONLINE
อัพเดต 10 ต.ค. 2566 เวลา 13.59 น. • เผยแพร่ 10 ต.ค. 2566 เวลา 12.51 น.

เจาะระบบ Iron Dome จริงหรือล้ำที่สุดในโลก และเหตุผลอิสราเอลยังถูกโจมตี

นาทีนี้ ชื่อของ Iron Dome ระบบอัจฉริยะที่เปรียบเสมือนโดมเหล็ก ปกป้องชาวอิสราเอล กลายเป็นที่สนใจของคนทั้งโลก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หลังจาก 7 ตุลาคม ที่ผ่านมา ฮามาสเปิดฉากยิงจรวด 5,000 ลูก โจมตีอิสราเอล กระทั่งกองทัพอิสราเอล สวนกลับ ประกาศภาวะสงคราม โจมตีชาวปาเลสไตน์ ท่ามกลางการตอบโต้ของทั้ง 2 ฝ่าย ที่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายพันคน

จากข้อมูลที่เรารู้ ไอรอน โดม มีอัตราความสำเร็จเกินกว่า 96% ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการโจมตีทางอากาศระยะใกล้ เริ่มต้นขึ้นหลังจากอิสราเอล ทำสงครามกับกลุ่มติดอาวุธ เฮซบอลเลาะห์ ในปี 2549 และถูกพัฒนาเรื่อยมา

แต่ก็นำมาซึ่งคำถามของคนทั่วไปที่ว่า หากแม่นยำขนาดนั้นแล้ว เหตุใด ยังมีความเสียหายเกิดขึ้นอีกจำนวนมาก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

มติชนออนไลน์ ชวนคุยกับ พริสร์ สมุทรสาร ผู้ชำนาญการด้านวิชาการทางทหาร และเทคนิคอาวุธ ที่มาให้ข้อมูล Iron Dome แบบลึกไปกว่าที่หลายคนรู้

พริสร์ พาไปทำความรู้จัก ไอรอน โดม ว่า เป็นระบบสกัดกั้นขีปนาวุธพิสัยกลาง ที่พัฒนาโดย Rafael Advanced Defense Systems (RADS) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ร่วมกับรัฐบาลอิสราเอล เป็นระบบติดตั้งสกัดกั้น โดยครอบคลุมพื้นที่ 4-70 กิโลเมตร รอบจุดยุทธศาสตร์สำคัญของอิสราเอล ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบให้มีพิสัยเป็น 250 กิโลเมตร แต่ด้วยปัจจุบันสถานการณ์ได้เปลี่ยนไป ไอรอน โดม จะติดตั้งอยู่ 10 จุดยุทธศาสตร์ แต่ละจุด มีฐานยิง 4 ฐาน แต่ละฐานยิงขีปนาวุธได้จุดละ 20 ลูก ซึ่งสามารถนำไปเติมได้เรื่อยๆ

“ไอรอน โดม การันตีขีดความสามารถ จำนวนในขอบเขต 96% คำนวณแล้ว จุดละ 20 มีทั้งหมดแค่ 40 ชุด ยิงได้อย่างมากก็ 800 ลูก แต่สถานการณ์ปัจจุบัน ฮามาสระดมยิงมากกว่า 1,000 นัด หรือ 3-5 พันนัด ทำให้เกิดขีดความสามารถของไอรอน โดม จึงเกิดความเสียหายในพื้นที่ใกล้เคียงกับฉนวนกาซา เพราะสกัดกั้นไม่ได้ทั้งหมด”

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ซึ่ง พริสร์ขยายความว่า ไอรอน โดมนั้นสามารถตรวจจับทันได้ทั้งหมด เพราะมีเครือข่ายเรดาร์ที่แอดวานซ์มาก แต่ไม่สามารถยิงได้ทันทั้งหมด นั่นทำให้บวกกับไอรอน โดมแยกแยะได้ว่าจรวดจะตกไปที่จุดใด และจุดใดเสียหายน้อยที่สุด หากเป็นพื้นที่ชุมชนใดๆ ก็จะยิงสกัดก่อน แยกแยะได้ แต่หากคาดการณ์แล้วว่าจะตกลงสู่ป่า ก็ปล่อยไปได้

แต่ก็ยังมีอีก 1 จุดอ่อน คือจุดยุทธศาสตร์ที่ตั้งของเครื่องดังกล่าว

10 จุดยุทธศาสตร์นั้น ค่อนข้างตายตัว ไม่ได้เคลื่อนที่ไปไหนมาก จากที่เคยไปอิสราเอล เห็นได้ว่า คนจากกาซาร์ และอาหรับ เข้ามาทำงานในพื้นที่เยอะมาก อาจมีสปาย สายลับ คอยมองดูพื้นที่อยู่ และรู้ว่าจุดที่ตั้งอยู่ตรงไหน ประเมินสถานที่ และมาร์กจุดได้ว่าจะต้องหลีกเลี่ยงจุดใด เพื่อให้ไอรอน โดมทำงานได้ช้าที่สุด”

เมื่อ ไอรอน โดม ไม่สามารถเป็นอาวุธป้องกันได้ทั้งหมด กองทัพอิสราเอลที่เรียกว่าเป็น 1 ในกองทัพที่แข็งแกร่งที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จึงใช้ยุทธวิธีอื่น คือ ระบบ Close-in weapon system (CIWS-ระบบอาวุธระยะประชิด ป้องกันจุดสำหรับการตรวจจับและทำลายขีปนาวุธขาเข้าระยะสั้น) ที่ประจำอยู่ตามฐานทัพ เป็นปืนกล 30 มิลลิเมตร ที่หากจรวดมาก็จะทำงาน ยิงสกัด แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะขีปนาวุธทั้งหมดได้ อิสราเอล จึงป้องกันเชิงรุก ส่งอากาศยานไปทำลายในพื้นที่ฮามาส พื้นที่ข้าศึก หรือที่เรียกว่า Bomb Run โจมตีภาคพื้นดิน

“ปัญหาคือว่า ขีปนาวุธจากอากาศยานนั้น เลือกพิกัดได้แม่นยำจริง แต่ก็สร้างความเสียหายพื้นที่โดยรอบและความเสียหายแก่พลเรือน”

นอกจากนั้นแล้ว พริสร์ระบุว่า กองทัพอิสราเอล ยังมีภาคการบินที่เข้มแข็งมาก มีทั้ง F35 F16 F15i F16i เป็นอากาศยานครองอากาศและโจมตีภาคพื้นดิน ซึ่งอิสราเอลเป็นกองทัพแรกของโลก ที่ใช้ F35 ที่ทันสมัยที่สุดในโลก รบจริงและสำเร็จในซีเรีย

พริสร์กล่าวอีกว่า ตอนนี้เว็บเพจทั้งหมดของอิสราเอล ปิดข่าวทั้งหมด ไม่ให้คนนอกรู้ยุทธศาสตร์ จะกลายเป็นสงครามข่าวสารเหมือนในยูเครน ซึ่งไม่รู้ว่าจะยืดเยื้อไปแค่ไหน เพราะ การที่ฮามาสเปิดสงครามด้วยจรวด 5,000 ลูก ก็เป็นเรื่องช็อกคนทั้งโลก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ฮามาส มีอาวุธเยอะมาก จากการส่งอาวุธให้เป็นระยะ จากกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ รวมถึงองค์กรการเมืองอื่นๆ ฮามาสได้ปรับวิธี พารามอเตอร์ หรือโดรนทิ้งระเบิดต่อรถถัง ที่ได้ผลในยูเครน ที่จะเห็นได้จากวิดีโอต่างๆ ส่วนอิสราเอล ก็เป็นกองทัพที่พร้อมรบที่สุดในโลกกองทัพหนึ่ง จากนี้สิ่งสำคัญคือเรื่องยุทธวิธี ซึ่งอิสราเอลเคยต่อกรกองทัพ 6 ประเทศ ได้ในสงคราม 6 วันมาแล้ว

คำถามต่อไปที่คนต่างสงสัยว่า อาวุธไฮเทคสุดล้ำเช่นนี้ ยังมีในโลกนี้อยู่อีกหรือไม่

พริสร์ระบุว่า อิสราเอลอาจจะมีไอรอน โดม แต่ว่าที่ใกล้เคียงกันคือเทคโนโลยีต่อต้านขีปนาวุธของอเมริกา Patriot Missile system กับ THAAD แต่ระบบป้องกันขีปนาวุธของอเมริกา จะจัดขึ้นเป็นองค์กรเครือข่าย มีสถาบันป้องกันขีปนาวุธNational missile defense (NMD) ซึ่งวางเครือข่ายไว้เยอะ ทั้งระบบภาคพื้นดิน ทะเล และอวกาศ ทำให้โอกาสที่จะยิงขีปนาวุธเข้ามาในอเมริกานั้น ไม่ง่าย แม้จะยิงมาเยอะ ก็ป้องกันได้ระดับ 3 มิติ มีเครือข่าย ระบบทั้ง ดาวเทียม ฟอร์เวิร์ด เรดาร์ เรดาร์แจ้งเตือนล่วงหน้า และระบบต่อต้านอากาศยาน

และว่า ไอรอนโดรน ต้นทุนอาจจะอยู่ที่หลักร้อยล้านดอลลาร์ สหรัฐ ยิงต่อครั้งใช้เงินราว 1-1.5 แสนดอลลาร์สหรัฐ แต่สหรัฐนั้นพัฒนาเป็นเครือข่ายแห่งชาติ มีมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 5
  • 🎤 EkkarinJ. 🍺
    Iron dome สามารถตรวจจับภัยคุกคามที่เข้ามาได้ทั้งหมด แต่จำนวนระบบต่อต้านที่มีจำกัด ไม่สามารถรับมือกับการยิงระดับ 4-5000 ลูกในเวลาเดียวกันได้ น่าจะใช้ CIWS phalanx ที่ใช้ในเรือรบอเมริกามาเพิ่ม
    10 ต.ค. 2566 เวลา 15.39 น.
  • มาร์คVIP
    อิสราเอลเขาเก่ง ถ้าเป็นไทยเราทหารไทยได้แต่แหงนหน้ามอง ทำตาปริบๆ
    11 ต.ค. 2566 เวลา 01.48 น.
  • P_Jettana
    จุดอ่อนของมันคือถูกหลอกได้ง่าย
    11 ต.ค. 2566 เวลา 00.40 น.
  • ยศ คนสองจอม
    จะยังไงก็ช่างทำลายทรัพยากรโลกอยู่ดี
    11 ต.ค. 2566 เวลา 00.35 น.
  • กร
    ไอ้ยิวหัวควยแม่งพูดเกินจริง ใครจะยิงได้ถึง5000ลูก พ่อมึงเมกา นะยิงได้แน่ๆ แต่ไอหัวควายโดม มึงมันเฮงซวย ทำไรไม่ได้เลย โทษเขาชั้วร้ายมาก ชาติหมายิว
    10 ต.ค. 2566 เวลา 16.02 น.
ดูทั้งหมด