ไลฟ์สไตล์

คนพูดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้พูด ‘Armchair Quarterback’ คนทำงานแบบวิจารณ์เก่ง มั่นใจสูง แต่ไม่ทำอะไรเลย

Future Trends
อัพเดต 14 ม.ค. 2566 เวลา 14.08 น. • เผยแพร่ 08 ก.ย 2565 เวลา 12.16 น.

ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ลูกน้อง ในสังคมชีวิตจริง หรือโลกการทำงาน ทุกคนต่างรู้ดีว่า เราเลือกไม่ได้ที่จะเจอคนแบบไหน บางคนอาจจะเจอคนที่ดีต่อใจราวกับสวรรค์มาโปรด ในขณะที่ บางคนอาจจะเจอคนที่ไม่ดี ที่นอกจากอยู่ด้วยจะชวนหงุดหงิดแล้ว ก็ยังบั่นทอนจิตใจให้แย่ลงด้วย

อย่างเช่น คนที่คอย ตัดสินการกระทำของคนอื่น ทำตัวเป็น Commentator ตั้งคำถามว่า ทำไมไม่ทำอย่างนู้น ทำไมไม่ทำอย่างนี้ ถ้าพวกเขาเป็นเรา พวกเขาจะทำ…..แบบนี้ ทั้งที่ตัวเองก็ไม่ได้มีส่วนร่วม และไม่เคยยืนอยู่ในจุดนั้นมาก่อน ถ้าลงไปทำเอง ก็อาจจะพลาดเหมือนกันก็ได้ แถมที่หนักที่สุด คือบางเคสทำตัวเป็นเกรียนคีย์บอร์ด ‘Mr. Know-it-all’ ที่ลึกๆ แล้ว ก็ไม่มีความรู้ในเรื่องที่พูดด้วยซ้ำ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หรือสรุปง่ายๆ ว่า ทำตัวเข้าทำนองคนทำงานแบบ ‘Armchair Quarterback’ ที่คนพูดดันไม่ได้เป็นคนทำ ส่วนคนทำก็ไม่ได้เป็นคนพูดนั่นเอง

แล้ว Armchair Quarterback คืออะไร มีที่มาจากไหน ส่งผลเสียยังไง จะรับมือกับพฤติกรรมเหล่านี้ด้วยวิธีไหนได้บ้าง? ในบทความนี้ Future Trends จะพาไปดูกัน

Armchair Quarterback คืออะไร มีที่มาจากไหน?

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
armchair-quarterback 1

คำว่า Armchair Quarterback คือคำที่ใช้เปรียบเทียบคนทำงานที่ชอบพูด แต่ไม่ลงมือทำ วิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ นานา โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของพื้นหลัง และความคิดตัวเอง มีความมั่นใจในตัวเองสูงพอๆ กับคนที่มีอคติเชิงรับรู้อย่าง Dunning Kruger Effect ชอบสั่งการ นั่งบนเก้าอี้แล้วควบคุมทุกอย่าง คล้ายกับคนแบบนาโต้ (NATO) ที่ใครๆ ก็อยากอยู่ให้ห่าง

ซึ่งก็เปรียบได้กับแฟนกีฬานั่งดูการแข่งขันอเมริกันฟุตบอลอยู่บนเก้าอี้นวม (Armchair) ที่บ้าน แต่อินเกิน วิจารณ์เหมือนกับว่า ตัวเองเป็นผู้เล่น Quarterback ตำแหน่งสำคัญที่มีหน้าที่คอยคุมทีม คุมจังหวะการเล่นตลอดทั้งเกม คิดว่าตัวเองเหนือกว่า เก่งกว่าผู้เล่นที่แท้จริงในสนาม ไร้ซึ่ง Empathy ไม่ได้ลองสวมตัวเองเป็นอีกฝ่ายแล้วทำความเข้าใจว่า อาจจะมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้เข้ามาเกี่ยว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ถ้ามีคนทำงานแบบ Armchair Quarterback อยู่ในทีม ส่งผลเสียยังไง?

อย่างที่เล่าว่า คนทำงานประเภทนี้มักจะวิจารณ์การงานของคนอื่นเป็นหลัก หากมี Armchair Quarterback อยู่ในทีม แน่นอนว่า พวกเขาก็จะวิจารณ์อย่างเต็มที่ ไม่ว่างานนั้นจะเล็กน้อย หรือใหญ่โตระดับพันล้านก็ตาม ถ้าเกิดผิดพลาดขึ้นมา Armchair Quarterback ก็อาจจะเป็นกลุ่มคนแรกๆ ที่คอยเหยียบคนอื่นในทีมซ้ำ ทำให้เครียดกว่าเดิม ทำลายบรรยากาศการทำงานดีๆ จนสุดท้ายแล้ว ก็อาจนำไปสู่ภาวะหมดไฟกับงาน หมดใจกับองค์กร และลาออกในที่สุดนั่นเอง

เราจะรับมือกับคนทำงานแบบ Armchair Quarterback ด้วยวิธีไหนได้บ้าง?

armchair-quarterback 2

อดัม แกรนต์ (Adam Grant) ได้อธิบายในหนังสือ Think Again ไว้ว่า ‘Confident Humility zone’ คือโซนที่เป็นจุดสมดุลระหว่าง Armchair Quarterback ที่มีความมั่นใจมากกว่าความสามารถกับ Imposter Syndrome ที่มีความสามารถมากกว่าความมั่นใจ

ความผิดพลาดเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ถึงจะมีการป้องกันแล้ว แต่บางครั้งก็อาจเกิดขึ้นได้ และที่แน่ๆ การพูดย่อมง่ายกว่าทำอยู่แล้ว การเป็นกองหลังที่นั่งดูแบบ Armchair Quarterback ก็เช่นกัน

เพราะฉะนั้น ก่อนจะวิจารณ์อะไร ทั้งหัวหน้าอย่างเราๆ หรือเพื่อนร่วมงานบางคนที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ ก็ควรหมั่นกลับมาเช็กตัวเองด้วยว่า เราได้วิเคราะห์สิ่งนั้นบนพื้นฐานของความเป็นจริงรึเปล่า หรือใช้มุมมองตัวเองไปตัดสินโดยไม่รู้ตัวกันแน่?

มองหลายมุม ตั้งคำถามกับตัวเองว่า ‘คิดอย่างไร?’ มากกว่า ‘ทำไม?’ ความมั่นใจเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้ามีมากเกินไปก็ย้อนศรกลับมาทิ่มแทงได้ ถ้าไม่รู้ก็แค่พูด แสดงความคิดเห็นเท่าที่รู้ เราไม่เคยไปเห็นด้วยตาตัวเอง หรือต่อให้เคย ก็ไม่ได้ยืนอยู่จุดนั้น ณ ตอนนั้นอยู่ดี บริบทต่างกัน ไม่แปลกหรอกว่า ทำไมพวกเขาถึงเลือกทำอีกแบบ และทำผิดพลาด ถ้าเราไปยืนตรงนั้นบ้าง ก็อาจจะทำแบบนั้น หรือทำได้แย่กว่าก็ได้

ส่วนใครที่กำลังเจอคนแบบนี้อยู่ แนะนำว่า รับฟังได้ แต่ไม่ต้องเก็บทุกอย่างมาใส่สมอง เพราะไม่อย่างงั้นก็อาจจะหมดเวลาชีวิตไปเปล่าๆ อันไหนดีก็รับ อันไหนไม่ดีก็คัดออก รวมไปถึงเวลาคุยกันก็ให้ทำใจร่มๆ ไว้ พยายามอธิบายให้พวกเขาเห็นว่า มีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ หรือข้อจำกัดบางอย่างอยู่ เพื่อที่ว่าครั้งต่อไปพวกเขาจะได้ไม่ตั้งตัวเองเป็นศาลที่คอยตัดสินคนอื่นอีก

การนั่งวิจารณ์ เล่าไอเดียเจ๋งๆ กับการทำ แม้จะหลั่งน้ำออกมาจากร่างกายเหมือนกัน แต่ปลายทางก็ต่างกันอยู่ดี การนั่งวิจารณ์ เล่าไอเดียเจ๋งๆ นั้นหลั่งน้ำลายออกมา ส่วนการทำหลั่งหยาดเหงื่อแรงกาย อย่างหลังมีคุณค่ากว่า และทุกอย่างง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากก็ต่อเมื่อคนพูดไม่ได้ทำนั่นเอง

แล้วคุณล่ะคิดยังไงกับเรื่องนี้ มีคนทำงานแบบ Armchair Quarterback อยู่ในทีมมากน้อยแค่ไหน มีวิธีรับมือเด็ดๆ อะไรบ้าง? มาแชร์ในคอมเมนต์กัน

Sources: https://bit.ly/3ASKEVk
https://bit.ly/3CWUp7K
https://bit.ly/3cLy5U1
https://bit.ly/3qbClzb
https://bit.ly/3RAA2Bh
https://bit.ly/3Qc0joF

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 2
  • Kurt-Jib Lee
    มันจะไม่ใช่แค่พบเจอพวกเลวๆ นี่ แค่ที่ทำงานน่ะสิ แต่จำพวกนี้มีอยู่เต็มประเทศเลยนะ หาเจอได้แทบทุกข่าว หรือ ทุกบทความเลยล่ะ
    09 ก.ย 2565 เวลา 06.58 น.
  • Pok
    2 ปีที่ศึกษามาอย่างดี พอทำจริงจมบาดาล แบบนี้เรียกว่าอย่างไรดีกรั๊บ? ท่านสื่อสารนารวม #เทนก๊ากxฟานเดอกาก=ก๊ากกาก
    09 ก.ย 2565 เวลา 05.50 น.
ดูทั้งหมด