ปัจจุบันวงการซีรีส์วายของไทย กำลังได้รับความนิยมไปทั่วโลก สร้างรายได้ สร้างเม็ดเงินเข้าประเทศมหาศาล แต่หากคำว่า วาย มันสามารถถูกจัดเป็นประเภทของซีรีย์ได้ไหม หากมองในมุมของภาพยนตร์ ก็จะมี Genre ที่ระบุไว้ชัดเจนหรือแยกประเภทจากพลอตของภาพยนตร์เรื่องนั้นๆออกมาได้อย่างชัดเจนนและเห็นภาพ
จากที่ เจฟ – วรกมล ซาเตอร์ ซึ่งเป็นทั้งนักร้องและนักแสดงจากซีรีย์ดังคินน์พอร์ช เดอะซีรีส์ ได้ไปออกรายการ The Driver ที่มี โอ๊ต – ปราโมทย์เป็นพิธีกร และได้พูดคุยถึงเรื่องการแยกประเภทของซีรีย์
โดย โอ๊ต – ปราโมทย์ ได้ถามถึงกระแสที่เปลี่ยนแปลงไป โดยคำถามช่วงหนึ่งว่า ‘หลังจากที่ออนไป ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปเยอะปะ มีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้นและเป็นแฟนๆที่สาวที่เขาชอบซีรีส์วาย โอ้โห เขาจะรัก อื้อหือมัน…แล้วมันมาแบบ โว้ว’
ด้าน เจฟ ซาเตอร์ ก็ได้พูดถึงมุมมองของคำว่าวายว่า…’ตัวผมเองนะ ผู้รู้สึกว่าวายเนี่ย ไม่ใช่วิธีการแบบจัดหมวดหมู่วชซีรีส์ มันคือแบบ โอเค เรียกมันว่าวายเพื่อให้ง่าย แต่จริงๆมันไม่ใช่สิ่งที่ระบุว่า เพศ มันไม่ใช่ระบุนะ เพราะฉะนั้น หนังวายมันก็อาจจะแบบไม่ใช่ซะทีเดียว มันคือหนังเรื่องหนึ่งที่มีความรักของผู้ชายๆ แนวหนังคือแบบ หนังบู๊ หนังตลก อะไรอย่างนี้’
แต่ก็มีบางความคิดเห็นมองว่า ควรแยกประเภทถูกแล้ว ไม่ได้มองว่าแยกเพศ แต่มันขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้ชมล้วนๆ เพราะเวลาค้นหาตามแพลตฟอร์มที่ซีรีส์ประเภทนี้อยู่ มันจะได้ทำให้ค้นหาง่ายขึ้น ไม่ปนกับชายหญิง มันหายาก
หากเราทำความเข้าใจกันอีกครั้ง คำว่าวาย ไม่ได้หมายถึงเพศสภาพหรืออัตลักษณ์ทางเพศ และอาจจะยังไม่สามารถหาคำตอบทางวิชาการได้ถูกต้อง 100% แต่ถ้าย้อนกลับไปดูวัฒนธรรมวาย จะพบว่า วัฒนธรรมนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปี 1970 โดยปรากฏในการ์ตูนของญี่ปุ่นจนกลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมวายเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
หากไปลองดูในแอปคลิพเคชั่นที่มีซีรีส์วายอยู่บนแพลตฟอร์มอย่าง VUI(วิว), iQiyi(อ้ายฉีอี้) หรือ WeTV ก็ไม่ได้แบ่งประเภทของซีรีส์วายออกมาชัด มีเพียงหมวดหมู่กว้างๆเท่านั้น เช่น ดราม่า แฟนตาซี วัยรุ่น มิตรภาพ และความรัก