แฟชั่น บิวตี้

Diderot Effect เช็กพฤติกรรมของคนชอบซื้อ จำเป็นไหมไม่รู้ขอซื้อไว้ก่อน!

SistaCafe
อัพเดต 23 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 23 ชั่วโมงที่ผ่านมา • SistaCafe

สวัสดีค่าชาวซิสและนักอ่านทุกคนเลยนะคะ~ ไหน ๆ มีใครเป็นสายชอบชอปปิงหรือซื้อของบ้างไหมคะ? เชื่อเลยว่าคนที่เข้ามาอ่านต้องมีสายนี้แน่นอน แต่ทุกคนพอจะเคยเห็นหรือเคยได้ยิน " Diderot Effect " กันบ้างไหมน้า ถ้าใครยังไม่เคยได้ยิน เราก็อยากจะชวนมารู้จักกันดีเดอโร เอฟเฟกต์หรือปรากฏการณ์ดีเดอโรกันให้มากขึ้นว่ามันคืออะไร เกี่ยวกับการชอปปิงยังไง ส่งผลกระทบยังไง พฤติกรรมแบบไหนที่เรียกว่าเข้าข่าย ถ้าอยากรู้แล้วละก็มาเช็กลิสต์กันเล้ยยย!

♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

Diderot Effectคืออะไร?

Diderot Effect (ปรากฏการณ์ดีเดอโร) เป็นปรากฎการณ์การซื้อของแบบลูกโซ่หรือก็คือพฤติกรรมการของการซื้อของใหม่เพิ่มเรื่อย ๆ โดยที่อาจจะไม่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น ซื้อโต๊ะทำงานมาใหม่แล้วรู้สึกว่าเก้าอี้ที่นั่งประจำดันไม่เข้ากับโต๊ะ เฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ ก็ดูไม่คุมโทน อยากเปลี่ยนใหม่ทั้งเซต ใครมีพฤติกรรมแบบนี้บอกเลยว่าเข้าข่าย Diderot Effect เลยล่ะ!

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡

Diderot Effectเกิดจากอะไร แล้วมีผลกระทบยังไงบ้าง?

Diderot Effectเกิดจากกลไกของการตลาดหรือระบบทุนนิยม เนื่องจากเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจะค้าขายแบบเน้นกำไรทำให้นายทุนผลิตสินค้าต่าง ๆ ออกมาพร้อมกับใช้การโฆษณาหรือการตลาด ๆ ชักจูงให้ผู้บริโภคแบบเรารู้สึกว่า "ของมันต้องมี" รวมไปถึงค่านิยมของสังคมที่มองว่ามีของชิ้นนั้นแล้วเทสดีด้วย ทั้ง ๆ ที่สิ่งของเหล่านั้นบางชิ้นไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ ยกตัวอย่างแบบง่ายที่สุดก็คือแบรนด์ Apple เลยนะคะ ซื้อไอโฟนแล้วอยากได้หูฟังมาฟังเพลง ถามว่าซื้อหูฟังแบรนด์อื่นได้ไหม ก็ซื้อใช้งานได้เหมือนกันแต่การตลาดและค่านิยมในสังคมก็เปลี่ยนความคิดให้เรารู้สึกว่าต้องมีแอร์พอดมาฟังคู่กันสิ ถึงจะดูดี ใช้งานง่ายกว่า เป็นต้น ซึ่งสิ่งนี้จะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ เลยหากเรามีเงินมากพอที่จะจับจ่ายใช้สอย แต่ถ้าเราไม่มีเงินมากพอ แถมยังขาดการคิดวิเคราะห์ว่าสิ่งของมันจำเป็นไหม… เมื่อนั้นนั่นแหละค่ะที่จะมีผลกระทบ หลายคนอาจจะอยากมีอยากได้จนเป็นหนี้สินก็ได้นะคะ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ส่วนใครที่อยากรู้ว่าทำไมต้องเรียกว่า Diderot Effectก็สามารถดูได้จากคลิปของช่อง KORN a LOT ได้เลยน้า

♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡

Diderot Effect เหมือนหรือต่างยังไงกับ Shopaholic?

เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า Shopaholic กันมาบ้างใช่ไหมคะ เลยอาจจะเกิดความสงสัยว่า Diderot Effect กับ Shopaholic มันเหมือนกันรึเปล่า ก่อนอื่นเราต้องอธิบายก่อนว่า Shopaholic มันคืออะไร มันก็คือการชอบซื้อของจนเกินตัว รู้สึกดีทุกครั้งที่ได้ใช้จ่าย หมกมุ่นกับการซื้อของมากจนเกินไปจนอาจเป็นอาการทางจิตได้เลย แต่ Diderot Effect เป็นแค่พฤติกรรมการซื้อแบบลูกโซ่เท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นเป็นอาการทางจิตหรือส่งผลกระทบที่ร้ายแรงค่ะ ดังนั้น 2 สิ่งนี้อาจจะฟังดูคล้าย ๆ กันแต่ไม่เหมือนกันนะคะ

♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡

เช็กลิสต์เราเข้าข่ายการเป็นดีเดอโร เอฟเฟกต์แล้วรึยัง?

Diderot Effect อาการที่ 1. เห็นของที่มีอยู่แล้วรู้สึกว่ามันเก่า

มีหลายคนเลยนะคะที่มองของที่มีอยู่ในบ้าน ไม่ว่าจะเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า เครื่องสำอางต่าง ๆ แล้วรู้สึกว่ามันเก่า ทั้งที่มันไม่ได้เก่า ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ก็มักจะเกิดจากเทรนด์ในปัจจุบันมันเปลี่ยนไปไว รวมไปถึงสินค้าก็ผลิตกันออกมาแบบ Fast ไปหมด อย่างเสื้อผ้าก็ Fast Fashion หรือเครื่องสำอางก็ Fast Beauty มาแป๊บ ๆ ก็เปลี่ยนไป ทำให้เรารู้สึกว่าของที่มีมันเก่าแต่จริง ๆ ไม่ได้เก่า ใครกำลังรู้สึกแบบนี้แสดงว่าเข้าข่ายอยู่นะจ๊ะ

อาการDiderot Effect ที่ 2. ซื้อของที่คิดว่าในอนาคตจะได้ใช้ แต่ในอนาคตไม่ได้ใช้

ใครที่มีพฤติกรรมซื้อของชิ้นนี้เพื่อใช้กับชิ้นนี้ไหมคะ ถ้ากรณีที่ซื้อเพราะต้องใช้งานจริง ๆ เช่น จะไปงานแต่งงานเลยต้องซื้อต่างหูใส่เข้ากับชุด อันนี้ไม่มีปัญหานะคะ แต่เมื่อไหร่ที่เราเริ่มอยากซื้อต่างหูอีกชิ้นเพื่อจะใส่กับเสื้อผ้าตัวอื่น ๆ ในบ้าน แล้วก็คิดไปก่อนว่า "ซื้อเผื่อ เดี๋ยวก็ได้ใช้" แต่สุดท้ายไม่ได้ใช้ ถ้าเป็นบ่อย ๆ อันนี้เรียกได้ว่าเข้าข่ายปรากฏการณ์ดีเดอโรเยแหละค่ะ

ดีเดอโร เอฟเฟกต์ อาการที่ 3. เวลาซื้อของใหม่มาแทนของเก่าด้วยเหตุผลที่ไม่จำเป็น

ของในบ้านบางชิ้นมันก็อยู่มาได้ปกติ ไม่เคยมีความรู้สึกว่ามันไม่เข้าพวกมาก่อนเลย แต่อยู่มาวันนึงที่ไปเจอของใหม่ เราดันรู้สึกว่าอยากได้ของใหม่มาแทนของเก่า ซึ่งเหตุผลก็อาจจะเป็นเพราะมันไม่เข้าพวก ไม่คุมโทน / มองว่าของชิ้นนั้นเก่า ทั้งที่ยังใช้งานได้ดี เป็นต้น สิ่งนี้ก็เป็น 1 ในพฤติกรรมที่เข้าข่ายนะเออ

อาการของดีเดอโร เอฟเฟกต์ที่ 4. ซื้อของใหม่มาแล้วรู้สึกไม่พอใจในของเก่า

บางคนซื้อของใหม่เพราะอยากได้ล้วน ๆ และพอได้มาแล้วก็ดันรู้สึกไม่พอใจในของเก่าขึ้นมาซะอย่างนั้น เช่น ซื้อเก้าอี้นั่งทำงานมาตรงใจสุด ๆ แต่พอเอามาวางคู่กับโต๊ะทำงานปุ๊บดันรู้สึกว่าโต๊ะไม่สวย โต๊ะไม่เข้าพวกซะอย่างนั้น ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้รู้สึกว่าโต๊ะมันเก่าหรือรู้สึกว่ามันไม่สวยเลย ใครเป็นแบบนี้รู้ไว้เลยนะคะว่าตัวเองกำลังเข้าข่าย Diderot Effect แล้วล่ะ!

พฤติกรรมDiderot Effect ที่ 5. รู้สึกว่าซื้อของใหม่มาแล้ว แต่ก็ยังอยากได้ของชิ้นอื่น ๆ เพิ่มอยู่

เวลาซื้อของใหม่ เราก็มักจะซื้อมาเติมให้ของเก่ามันสมบูรณ์มากขึ้น แต่ถ้าซื้อของใหม่แล้วยังอยากได้ของใหม่ชิ้นอื่น ๆ เพิ่มอีกเพราะรู้สึกว่ามันยังไม่เพียงพอ มันยังขาด มันยังอยากได้อีก นี่ก็เป็นอีกหนึ่งในสัญญาณของการเข้าข่ายพฤติกรรม Diderot Effect นะคะ ยกตัวอย่างเช่น ซื้อ Art Toy ตัวนึงแล้วรู้สึกอยากมีชั้นวางสวย ๆ หรืออยากมีกระเป๋าไว้ใส่ Art Toy เป็นต้น

พฤติกรรมดีเดอโร เอฟเฟกต์ ที่ 6. ติดคุมโทนจนเกินไป

นิสัยติดคุมโทนถ้าเลือกจากของที่มีอยู่แล้วหรือซื้อเพื่อให้คุมกับแนวเดิมก็ยังถือว่าโอเคอยู่นะคะ แต่ถ้าซื้อของใหม่มาแล้วอยากซื้อให้ครบเซต อยากซื้อให้เป็นสีเดียวกันทั้งหมด ติดคุมโทนต่าง ๆ แสดงว่าคุณกำลังเข้าข่าย Diderot Effect อยู่นะเออ เพราะว่ามันคือการอยากซื้อจริง ๆ แค่ 1 แต่มันดันได้มามากกว่า 1 นั่นเอง

♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡

อยากออกจากวงการหยุดซื้อของไม่ได้ ต้องทำยังไง?

♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥

ได้รู้จักกับปรากฏการณ์ดีเดอโรหรือ Diderot Effect กันไปแล้ว ใครเข้าข่ายพฤติกรรมที่ว่าก็ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนกันไปนะคะ บางครั้งมันอาจจะเป็นความเคยชินบวกกับสิ่งเร้าต่าง ๆ มันทำให้เรารู้สึกเคลิบเคลิ้มจนติดเป็นพฤติกรรมได้ ถ้าแก้ไขได้แล้ว เงินที่ใช้จ่ายก็จะลดลง ของที่ซื้อมาก็จะอยู่ในปริมาณที่พอดี ไม่มากไม่น้อย ไม่ซื้อมาแล้วรู้สึกเสียดายด้วยเน้อ ใครชอบบทความนี้ก็ฝากกดแชร์ส่งต่อให้สายชอปด้วยน้า แล้วกลับมาพบกันใหม่ในบทความหน้าค่า บ๊ายบาย :-D

ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ worldhistory.org

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อ่านบทความต้นฉบับได้ที่: SistaCafe.com ครบเครื่องเรื่องบิวตี้

ดูข่าวต้นฉบับ