เช็คเงื่อนไข เงินเยียวยาน้ำท่วมล็อตแรก หลังกระทรวงมหาดไทย เริ่มโอนแล้ว พร้อมเผยจำนวนเงินที่ประชาชนจะได้รับ
เหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปี 2565 หลายพื้นที่ของประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก บ้านบางหลังต้องจมอยู่ใต้น้ำนานเกือบเดือน พื้นที่เกษตรกรรมเสียหาย ที่ร้ายแรงกว่านั้นบางครอบครัวต้องสูญเสียคนที่รักจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ล่าสุดทางภาครัฐมีการเคลื่อนไหวสำหรับการเยียวยาน้ำท่วม ในล็อตแรกแล้ว
น.ส.ทิพานัน ศิริชนะรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาเปิดเผยว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ติดตามและแก้ไขเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ และได้เร่งกำชับให้หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องเร่งบรรเทาทุกข์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย โดยพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เริ่มโอนเงินช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบโดยมีการโอนเงินครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนจำนวน 38,408 ครัวเรือน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565
เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ที่ได้ผลกระทบ จจึงมีการเยียวยาแก่ครอบครัวอุทกภัยเป็นกรณีพิเศษ พร้อมทั้งอนุมัติกรอบเงิน 6,258.54 ล้านบาทเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ทั้ง 66 จังหวัด จามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือ มีอัตราตั้งแต่ 5,000-9,000 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้
กรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันตั้งแต่ 1 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือถูกน้ำท่วมขังเกินกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน ได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท
กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ได้รับเงินช่วยเหลือ 7,000 บาท
กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขังติดต่อกันเกิน 60 วัน ขึ้นไปให้ความช่วยเหลือครัวเรือนละ 9,000 บาท
เมียหลวงเจ็บใจ ผัวถูกหวย 6 ล้าน หนีตามเมียน้อย หลังผัวดับ ยังโดนฮุบสมบัติอีก
เปิดประวัติ เจมส์ เจตพล The Star 2022 พร้อมเงินรางวัลที่ได้ หลังคว้าแชมป์
แฟนคลับใจหาย ต้นสังกัด แพรวา ณิชาภัทร ออกจดหมายยุติบทบาทการเป็นศิลปิน
ทางรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปภ. ได้ดำเนินการบันทึกข้อมูลเข้าระบบตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2565-20 มกราคม 2566 แล้ว รวมจำนวนทั้งสิ้น 562,212 ครัวเรือน จาก 66 จังหวัดที่ประสบอุทกภัยและกรุงเทพมหานคร ซึ่งมี 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตราด นราธิวาส และจังหวัดอำนาจเจริญ และรายงานว่าไม่มีครัวเรือนที่เข้าหลักเกณฑ์การช่วยเหลือ
ทั้งนี้ ในส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ จังหวัดปทุมธานี จัดส่งข้อมูลบัญชีรายชื่อครัวเรือนผู้ประสบอุทกภัย ปี 2565 ชุดแรกให้ ปภ.จำนวน 39,425 ครัวเรือน จำนวนเงินทั้งสิ้น 311,838,000 บาท โดย ปภ.ได้ส่งกรมการปกครองตรวจสอบความถูกต้องของเลขประจำตัวประชาชน และส่งข้อมูลครัวเรือนผู้ประสบภัยให้ธนาคารออมสินเรียบร้อยแล้ว จำนวน 39,414 ครัวเรือน ส่วนผู้ประสบภัยอีก 11 รายพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้องจึงได้ส่งให้จังหวัดดำเนินการตรวจสอบอีกครั้ง
โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ปภ.ได้ส่งข้อมูลให้ธนาคารออมสินและธนาคารออมสินได้โอนเงินช่วยเหลือ ครั้งที่ 1 เข้าบัญชีผู้ประสบอุทกภัยจำนวน 38,408 ราย ผ่านระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) แบ่งเป็น ธนาคารออมสิน 5,645 ราย และธนาคารอื่น 32,763 ราย อย่างไรก็ตาม มีผู้ประสบอุทกภัยจำนวน 1,006 ราย ไม่สามารถโอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ได้เนื่องจากไม่ได้ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน ซึ่งปภ.ได้แจ้งให้จังหวัดประสานผู้ประสบภัยมาดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์เพื่อรับเงินช่วยเหลือต่อไป
ในขณะเดียวกันมีจังหวัดที่ได้จัดส่งข้อมูลครัวเรือนผู้ประสบอุทกภัยมาให้ ปภ. เพิ่มเติมแล้วอีก 4 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ขอนแก่น และสุพรรณบุรี รวม 75,841 ครัวเรือน จำนวนเงิน 547,805,000 บาท ซึ่งจะได้รวบรวมส่งให้ธนาคารออมสินเพื่อดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีต่อไป สำหรับจังหวัดอื่น ๆ หลายจังหวัดได้มีกำหนดการประชุม ก.ช.ภ.จ. เพื่อตรวจสอบและจัดส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้ ปภ. เพื่อให้สามารถจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยได้ครบถ้วนตามระยะเวลาที่กำหนด
สำหรับประชาชนที่ได้ยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเรียบร้อยแล้ว สามารถติดตามสถานะ การดำเนินการของตนเองได้ที่ https://flood65.disaster.go.th หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หมายเลขโทรศัพท์ 0-2637-3511
ทั้งนี้รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่าอีกว่า นายกฯ ได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนให้รวดเร็ว ครอบคลุมและทั่วถึง ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นในที่อยู่อาศัย เครื่องมือทำมาหากิน ด้านเศรษฐกิจ สร้างอาชีพสร้างรายได้ ด้านสุขภาพพลานามัย ด้านจิตใจ เป็นต้น รวมทั้งเตรียมแผนรับมือปัญหาในระยะยาว
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Tnews