ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ต้อนรับสู่ยุคตกต่ำ ผลวิจัยเผย ผู้คนเริ่มเสพข่าวผ่าน Facebook น้อยลงเกือบทั้งโลก

Brand Inside
อัพเดต 16 มิ.ย. 2561 เวลา 14.55 น. • เผยแพร่ 16 มิ.ย. 2561 เวลา 23.00 น. • Thongchai Cholsiripong
shutterstock_572264506

หลังจากผ่านมรสุมใหญ่หลายลูกในช่วงที่ผ่านมา ผู้คนเริ่มเหนื่อยหน่ายกับการเสพข่าวผ่าน Facebook ล่าสุด มีรายงานผลสำรวจชิ้นหนึ่งน่าสนใจ โดยชี้ชัดว่า Facebook เริ่มไม่ใช่ช่องทางหลักในการรับรู้ข่าวสารของผู้คนแล้ว

  • *ถือเป็นข่าวร้ายสำหรับคนทำข่าวที่ใช้ Facebook เป็นฐานหลักในการสื่อสารกับผู้อ่านของตน *
  • เพราะนี่คือยุคตกต่ำของ Facebook สำหรับคนทำข่าว
Photo: Shutterstock
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“ในหลายประเทศทั่วโลก ผู้คนเริ่มเสพข่าวผ่าน Facebook น้อยลง” หนึ่งในข้อความที่กลุ่มผู้สำรวจวิจัยสรุปให้เห็นภาพไว้อย่างชัดเจน

รายงานการสำรวจที่ว่านี้คือ Reuters Institute Digital News Report 2018 รายงานชิ้นนี้เป็นความร่วมมือกันของ The Reuters Institute และ University of Oxford โดยทำการสำรวจผู้คนที่เสพข่าวผ่านช่องทางออนไลน์กว่า 74,000 คนใน 37 ประเทศทั่วโลก ทั้งฝั่งยุโรป แถบอเมริกาเหนือ-ใต้ และเอเชียแปซิฟิก แต่ไม่มีประเทศไทย

ที่ชัดที่สุดคือ ผู้คนเริ่มเสพข่าวผ่าน Facebook น้อยลง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทีมผู้วิจัยทำการสำรวจการเสพข่าวของกลุ่มตัวอย่างจากประเทศต่างๆ ในรอบ 7 ปี พบว่า ในหลายประเทศทั่วโลก ผู้คนเริ่มเสพข่าวผ่าน Facebook น้อยลง หรือในบางประเทศก็มีอัตราการเติบโตที่หยุดชะงักไปเลย

ยกตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีผู้คนเพียง 39% เท่านั้นที่ยังเสพข่าวผ่าน Facebook เป็นช่องทางหลักในปี 2018 เป็นอัตราที่ลดลงถึง 9% จากปี 2017 มากกว่านั้น กลุ่มคนรุ่นใหม่ในสหรัฐอเมริกามีอัตราการเสพข่าวผ่าน Facebook  ที่ลดน้อยลงถึง 20% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

  • อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกประเทศที่อัตราการเสพข่าวผ่าน Facebook จะตกต่ำลงทั้งหมด เพราะมีบางประเทศที่ผู้คนยังใช้ Facebook เป็นช่องทางหลักในการเสพข่าวอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ในมาเลเซียและสาธารณรัฐเช็ก ผลวิจัยพบว่า ผู้คนใน 2 ประเทศนี้ยังคงเสพข่าวผ่าน Facebook ในอัตราที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
Photo: Shutterstock
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เจอข่าวใน Facebook ส่งต่อไปแอพแชทเพื่อถกเถียงพูดคุย

ทีมผู้วิจัยพบว่า ผู้คนที่ยังเสพข่าวผ่าน Facebook ส่วนใหญ่ (โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา) แม้จะใช้ Facebook เป็นช่องทางหลักในการรับรู้ข่าวสาร แต่เมื่อต้องแสดงความเห็นมักจะส่งต่อไปยังแอพพลิเคชั่นสำหรับแชท เช่น WhatsApp มากกว่าที่จะพิมพ์ตอบโต้ในช่องแสดงความคิดเห็นบน Facebook

  • แน่นอนว่า เหตุผลหลักๆ มาจากความรู้สึก “เป็นส่วนตัว” มากกว่า
  • ผู้ให้สัมภาษณ์คนหนึ่งถึงกับบอกว่า แม้ว่าจะแชร์ในแอพ Messenger ของ Facebook ได้ แต่ก็ยังไม่ได้รู้สึกเป็นส่วนตัวมากนัก
Photo: Shutterstock

ข้อมูล – Niemanlab

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 16
  • 𝙽𝚞𝓃𝚎
    เราไม่ชอบระบบ AI ของเฟซบุ๊คเอามากๆเลยค่ะ มันเหมือนจับตาดูเราอยู่ตลอดเวลา มันจำหน้าเราได้ด้วย มันรู้ว่าเราเป็นใคร ก็เลยใช้วิธีเปิดแอคเคาท์สำหรับเป็นกลุ่มๆไป เพื่อรักษาระดับความสัมพันธ์คนรู้จักเอาไว้บ้าง แต่จะไม่ใส่ข้อมูลส่วนตัวเอาไว้มาก แล้วอีกอย่างนึงเวลาเม้นต์อะไรควรจะใช้อวตารนะเฟซเนี่ย กดไลค์กดแชร์ติดคุกกันไปกี่คนแล้ว หลังๆ เรามักจะใช้ไลน์ทำไดอารี่มากกว่า ง่ายกว่า รู้สึกส่วนตัวกว่า สนุกดี ไว้เวลาแก่ๆจะกลับมาอ่าน
    17 มิ.ย. 2561 เวลา 03.52 น.
  • Y0S +
    แอป อันตรายใครจะเล่น เก็บข้อ สอดแนม และอีกหลายรูปแบบที่ยังไม่ได้ถูกตีแผ่ให้คนทั่วไปได้รู้
    17 มิ.ย. 2561 เวลา 04.28 น.
  • Kanitta (Tak) 🎆
    มีแต่ข่าวเท็จ โกหก Fake news เต็มไปหมด
    17 มิ.ย. 2561 เวลา 10.00 น.
  • noeng
    Fakebook น่าจะเหมาะสมกว่า
    17 มิ.ย. 2561 เวลา 07.29 น.
  • TITLE
    Facebook พลาดครั้งใหญ่ตรงที่สร้างระบบ AI ความปลอดภัยบางอย่างเสียความเป็นโปรแกรมไป แถมระยะหลังข้อมูลรั่วไหล บางครั้งระบบมีความผิดพลาดมากขึ้น หลังจากนั้นก็เริ่มตกลงเรื่อยๆ หลังจากมี User ผู้ใช้หลักพันล้าน เสียแชมป์ถึงขนาดว่า เดิมทีมีโครงการใหญ่จะซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอด Premier League แต่กลับกลายเป็น Amazon ได้สิทธิ์ซื้อไปบางส่วน ถ่ายทอดระบบ Stream ถึง 3 ฤดูกาลเลย ตรงนี้ Amazon กุมความได้เปรียบแล้วในตอนนี้
    17 มิ.ย. 2561 เวลา 06.24 น.
ดูทั้งหมด