ทั่วไป

เกษตรกรถามยกเลิกพาราควอต ซื้อสารใหม่จ่ายแพงขึ้น 2 เท่าใครจะช่วย

TODAY
อัพเดต 23 ต.ค. 2562 เวลา 08.34 น. • เผยแพร่ 23 ต.ค. 2562 เวลา 08.34 น. • Workpoint News

จากกรณีที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติให้เลิกใช้ 3 สารเคมีทางการเกษตร คือ คลอร์ไพริฟอส,พาราควอต และ ไกลโฟเซต โดยให้ย้ายจากวัตถุอันตรายประเภท 3 คือ กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครอง ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย และต้องได้รับอนุญาตให้ดำเนินการจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนจึงจะประกอบกิจการได้ เป็นประเภท 4 คือ วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง ให้มีผลตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2562

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

วันที่ 23 ต.ค. เกษตรกรที่ จ.นครราชสีมา แสดงความกังวลต่อกรณีดังกล่าว โดยระบุว่าเกษตรกรจะได้รับผลกระทบแน่โดยเฉพาะกลุ่มที่ปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีพื้นที่จำนวนมาก ไม่สามารถใช้วิธีการถางหญ้าแบบเดิมๆ ได้ อีกทั้งยังไม่มีสารใดที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ามาทดแทน

นายสมคะเน บ่มกลาง อายุ 57 ปี เกษตรกรผู้ปลูกข้าวและปลูกมันสำปะหลัง ใน อ.พิมาย จ.นครราชสีมา กล่าวว่า การยกเลิกสารเคมีทั้ง 3 ชนิด ภาครัฐต้องถามความเห็นจากผู้ใช้คือเกษตรกรด้วยเพราะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ส่วนสารเคมีที่คาดว่าจะนำมาใช้ทดแทนพาราควอตและไกลโฟเซต นั้น ก็เป็นวัตถุอันตรายประเภท 3 ที่มีราคาสูงกว่าถึง 6 เท่า ขณะเดียวกันประสิทธิภาพต้องใช้เพิ่มขึ้น 1.5-2 เท่า เท่ากับเกษตรกรมีต้นทุนเพิ่ม 12-14 เท่าตัว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หรือหากใช้แรงงานคนกำจัดวัชพืช ต้องจ้างคนมาตัดหญ้าในไร่มันสำปะหลังและนาข้าว มีค่าแรงสูงถึงวันละ 300 บาท โดย ไร่มันสำปะหลัง 1 ไร่ ต้องใช้คนประมาณ 6 คน ในการตัดหญ้า ดายหญ้ากำจัดวัชพืช เป็นเงินค่าจ้างกว่าวันละ 1,800-2,000 บาท ซึ่งแพงกว่ายาเคมีกำจัดวัชพืชที่มีราคาแกลอนละ 450 บาท สามารถฉีดพ่นกำจัดวัชพืชได้จำนวน 1 ไร่ ซึ่งรวมค่าแรงจ้างคนฉีดแล้วตกเป็นเงินไร่ละ 900 บาทเท่านั้น จึงไม่เห็นด้วยที่ทางรัฐบาลจะยกเลิกสารเคมีดังกล่าว

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 50
  • Changnoi
    รัฐควรจะออกมาให้ความรู้ผ่านทรัพยากรหรือเครื่องมือต่างๆที่รัฐมี ซึ่งมีเยอะมาก แต่ไม่เคยใช้ ส่วนยกเลิกแล้วก็ต้องหาสินค้าหรือวิธีที่ทำให้ต้นทุนเค้าลดลงหรือเท่าเดิมก็ยังดี ส่วนพวกโลกสวยที่บอกเค้าไม่มีความรู้ ไม่หาความรู้ใน โทรศัพย์บ้าง google บ้าง ก็ลองไปดูความเป็นอยู่ของเค้าดูว่าเค้ามีความสามารถเข้าถึงทรัพยากรแบบนั้นมั้ย บางที่แค่น้ำไฟ จะใช้ทำนายังไม่มีเลย ต้นทุนคนเราแต่ละคน แต่ละที่ก็ไม่เท่ากัน ก็อย่าไปดูถูกกันเลย คนพูด สนุกปาก คนฟัง ผูกคอตาย
    23 ต.ค. 2562 เวลา 09.24 น.
  • ลุงแมร่ง อาจจะไม่มีสมารทโฟน ไม่มีกูเกิ้ล มันต้องมีคนไปสอนในพื้นที่ปะ
    23 ต.ค. 2562 เวลา 09.13 น.
  • Phong 4659
    พิมพ์ว่า “ หญ้าไม่ใช้ศัตรูพืช “ จะได้มีมุมมองใหม่
    23 ต.ค. 2562 เวลา 09.11 น.
  • N o-o M
    กว่าจะประกาศห้ามใช้จริง.ธันวาคม ระหว่างนี้ รัฐคงมีหน่วยงานเข้าไปให้ความรู้แหล่ะครับ พวกเราจะได้กินอาหาาปลอดสารพิษสักที กินมานาน พวกเกษตรกรอย่างลุงไม่สนใจ คนกินปลายทางบ้างเหรอครับ
    23 ต.ค. 2562 เวลา 09.45 น.
  • ขอเขาแนะนำก่อนใช้ไรแล้วค่อยออกข่าว. งง
    23 ต.ค. 2562 เวลา 08.58 น.
ดูทั้งหมด