ดวงอาทิตย์แหล่งพลังงานที่มีความร้อนลุกโชน จะเป็นอย่างไรถ้ามียานอวกาศไปสำรวจแห่งนี้ แต่ก็เป็นไปแล้วเมื่อเวลาตีสาม 31 นาทีของวันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา (ตามเวลาของประเทศสหรัฐอเมริกา) NASA ได้ทำการปล่อยจรวดเพื่อนำส่ง Parker Solar Probe ยานอวกาศที่เตรียมไปสัมผัสและสำรวจดวงอาทิตย์
ซึ่งกระบวนการในสัปดาห์แรกในห้วงอวกาศ ยานจะทำการปรับตั้งเสาอากาศแบบกำลังขยายสูง ที่จะใช้ในการตรวจสอบสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ และช่วงต้นเดือนกันยายนจะเริ่มตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆ ลากยาวไปยังเดือนพฤศจิกายนยานถึงจะได้เดินทางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์เป็นครั้งแรก โดยมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 15 ล้านไมล์เพื่อเข้าถึง "โคโรนา" หรือที่รู้จักกันว่ามันคือระดับชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ และเป็นจุดที่สามารถสำรวจได้ ถึงแม้ชั้นแผ่นของโคโรนาจะมีอุณหภูมิที่สูง แต่ไม่เป็นอันตรายอย่างที่คิด เพราะมีการติดตั้งเกราะป้องกันความร้อนอย่างดีให้กับตัวยาน สุดท้ายยานอวกาศ Parker Solar Probe จะส่งข้อมูลกลับมาในช่วงเดือนธันวาคม
สรุปได้ว่าภารกิจไปสัมผัสดวงอาทิตย์ เพื่อสำรวจกลไกการทำงาน, อธิบายการทำงานของชั้นโคโรนา ที่เกี่ยวกับการปล่อย ลมสุริยะ (Solar wind) ซึ่งเป็นอนุภาคที่มีพลังงานสูง ที่ปล่อยออกจากดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วมากกว่าครึ่งหนึ่งของพลังงานแสง หากการค้นพบครั้งนี้สำเร็จจะทำให้เราสามารถคาดการณ์ และป้องกันความเสียหายที่ ลมสุริยะ จะทำกับระบบดาวเทียม และระบบการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าบนโลกได้
puh ranger ไปหาแหล่งพลังงานอิออนพลาสม่าตามอย่างเขาอะดิ ทำนายลมสุริยะเป็นแค่ผลพลอยได้เอาไว้แปะหน้าข่าว ฉลาดแท้ๆเทียว
16 ส.ค. 2561 เวลา 12.49 น.
ไข่เจียว ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
16 ส.ค. 2561 เวลา 03.22 น.
ดูทั้งหมด