จอดรถในที่ “คนพิการ” ที่จอดรถมันไม่พอ? หรือสำนึกมันไม่มี!
เป็นปัญหาโลกแตกก็ว่าได้สำหรับประเด็นเรื่องการแย่งที่จอดคนพิการที่มีให้ได้หัวเสียกันอยู่บ่อยๆทั้งในหน้าฟีดเฟซบุ๊กเว็บไซต์พันทิปหรือแม้แต่ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ชวนคิดจริงๆว่าเราต่างก็รู้กันอยู่ไม่ใช่หรือว่าที่จอดลักษณะนี้ออกแบบมาเพื่อให้คนพิการจอดเป็นของสาธารณะที่สร้างเอาไว้สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้ทำไมถึงยังมีคนปกติเข้าไปแย่งจอดอยู่
แล้วไม่ใช่จำนวนน้อย ๆ เลย หากคุณลองค้นหาในกูเกิ้ลบอกเลยว่า มีแบบสด ๆ ร้อน ๆ อยู่หลายคดี หลาย ๆ ครั้ง คุณก็อาจจะเห็นตำตาตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ มากจนเราพยายามจะทำความเข้าใจว่า เอ๊ะ! เพราะที่จอดสำหรับคนปกติเองมันน้อยเกินไป หรือเพราะคนพวกนี้เค้าไม่มีจิตสำนึกต่อสังคมจริง ๆ กันแน่นะ
เครดิตภาพ: https://news.mthai.com/social-news/375318.html
ที่จอดคนพิการมีแค่ 1 - 2%ต่อที่จอดทั้งหมดเท่านั้น
กฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า จะต้องสร้างที่จอดรถสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชราให้ใกล้ทางเข้าออกอาคาร ต้องไม่ขนานกับทางเดินรถ มีพื้นผิวเรียบ และมีสัญลักษณ์รูปผู้พิการนั่งเก้าอี้ล้ออยู่ชัดเจน
ที่จอดคนพิการต้องมีขนาดกว้างกว่า 2.4 เมตรและยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร นอกจากนี้ต้องมีที่ว่างข้างที่จอดรถกว้างอีก 1 เมตร เผื่อให้วีลแชร์สามารถเข้าไปจอดได้ง่ายๆ
ปกติแล้วอาคารจอดรถอาคารหนึ่งมีอัตราส่วนที่ชัดเจนว่ารถจำนวนเท่าไหร่ ต้องมีที่จอดสำหรับคนพิการเท่าไหร่ เช่นถ้าที่จอด 10-50 คัน ต้องมีที่จอดคนพิการอย่างน้อย 1 คัน 50-100 คัน จะเพิ่มเป็นที่จอดคนพิการ 2 คัน แล้วก็เพิ่มไปที่ละ 1 ทุกจำนวนที่จอดรถคนปกติ 100 คัน
ซึ่งคำนวณกันจริง ๆ แล้วก็ไม่ได้มากอะไรเลย คือตกอยู่ที่ประมาณอย่างมาก 2% จากที่จอดทั้งหมดที่คนปกติจะจอดได้ เท่ากับว่าในที่จอดรถ 100 คันจะมีที่จอดคนพิการไม่เกิน 2 คันเท่านั้น
ประเด็นเรื่องที่จอดคนพิการมีมากเกินไป เรียกได้ว่าตัดตกไปได้เลย ที่จอดวีไอพีหรือที่จอดที่กันไว้สำหรับพนักงานระดับสูง ๆ ยังมากกว่าจำนวนที่จอดคนพิการด้วยซ้ำ
น่าแปลกใจที่ยังคงมีคนปกติมาจอดที่คนพิการอยู่เสมอ และหากจะตีความว่าพวกเขาเหล่านั้นเพิกเฉยต่อกฎเกณฑ์ของสังคมที่วางไว้เพื่อดูแลเพื่อนมนุษย์ที่สภาพทางกายอ่อนแอกว่าก็คงได้
เครดิตภาพ:เพจ Accessibility Is Freedom
คิดจะมีรถต้องยอมรับ
กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องจำนวนรถมาเป็นเวลานานมากแล้ว ทั้งจากสภาพการจราจรที่รถติดแน่นแทบทุกสายทุกวัน แค่จะขับรถไปรับประทานอาหารก็หาที่จอดกันจนเหนื่อย หากคิดจะซื้อรถ จะใช้รถ คุณจะไม่รู้จริง ๆ หรือว่าการหาที่จอดรถเป็นภาระที่เรียกได้ว่าหนักเอาการ แต่หากความจำเป็นบังคับให้ต้องใช้ หรือสมัครใจที่จะใช้แล้ว การดูแลรถ การหาที่จอด และการใช้รถให้ถูกต้องตามกฎหมายและกฎจราจรเป็นสิ่งที่คุณต้องยอมรับให้ได้
สำหรับคนที่ยังอ้างว่าทำธุระแค่ครู่เดียว อ้างว่าก็ที่จอดมันไม่มี ขอให้รู้ว่า ผู้ใช้รถคนอื่น ๆ ก็มาใช้บริการห้างเหมือนกัน ต้องวนหาที่จอดเหมือนกัน บางคนอาจต้องเผื่อเวลามาเพื่อให้ได้จอด การลักไก่จอดที่คนพิการถือว่าไม่ยุติธรรมสำหรับเขาเหล่านั้นด้วย
ยิ่งคนพิการที่จำเป็นจะต้องได้สิทธิ์นี้จริง ๆ คุณริดรอนเขาอยู่แล้ว แบบไม่มีข้ออ้าง
สุดท้ายนี้ขอให้รู้ว่าไม่ว่าทรัพยากรในสังคมอย่างที่จอดมันจะน้อยแค่ไหน จิตสำนึกต่อส่วนรวมนี่ล่ะ คือคำตอบของสมการที่จะทำให้ทรัพย์สินส่วนรวมที่ต้องแบ่งปันกันมันเพียงพอกับทุกคนมากที่สุด
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/801934
https://auto.mthai.com/news/tips/68132.html
https://www.posttoday.com/social/think/361665
https://hilight.kapook.com/view/180686
เพจ Accessibility Is Freedom
รถส่วนใหญ่ที่มาจอดมักจะเป็นรถหรู ทำให้เข้าใจว่าคนมีรถหรูมักจะพิการ พิการทั้งสมองและมโนธรรม
27 ธ.ค. 2561 เวลา 01.06 น.
{|:DrJo:|} ที่จอดคนพิการ มีไว้ให้พวกคนมีเงินใจพิการจอด พวกนี้ พอมีเงิน ใจมันก็ชั่ว คิดว่าทำไรก็ได้
27 ธ.ค. 2561 เวลา 01.07 น.
คนมีเงินส่วนใหญ่จะเป็นผู้พิการทางสมองและจิตใจเห็นแก่ได้เห็นแก่ตัว
27 ธ.ค. 2561 เวลา 01.12 น.
sps--59-- 🐾🐶💕😽🐾 ผมเห็นกับตาเลย ยืนจ้องหน้ามัน มันลงมาเดินก้มหน้าไม่มองใครรีบเข้าห้าง เหมือนรู้ตัวเอง แต่หน้าด้านจะจอด
27 ธ.ค. 2561 เวลา 01.09 น.
มีเงินก็จริง แต่ใจต่ำมากไร้คุณธรรมจิตสำนึกต่อสังคมเห็นแก่ตัว
27 ธ.ค. 2561 เวลา 01.10 น.
ดูทั้งหมด