เมื่อเข้าสู่เดือนเมษายน แน่นอนว่ามีวันที่ใครหลายๆคนรอคอยให้มาวนมาถึงอยู่ นั่นก็คือวันสงกรานต์ หรือวันปีใหม่ของประเทศไทยเรา ที่เราจะได้เฉลิมฉลองและทำตามประเพณีต้อนรับวันใหม่ปีใหม่ และยังเป็นเทศกาลที่โด่งดังไปทั่วโลก แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่านอกจากเทศกาลสงกรานต์แล้ว ยังมีเทศกาลอื่นๆที่นับเป็นวันปีใหม่ของตัวเองซึ่งไม่ตรงกับวันที่ 1 มกราคมด้วยเหมือนกัน ซึ่งถ้าใกล้ตัวและมีคนรู้จักมากที่สุดก็คงจะเป็นวันตรุษจีน และนอกจาก 2 เทศกาลที่ว่ามาแล้ว เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับเทศกาลวันปีใหม่ของประเทศอื่นๆกัน
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
- Diwali (ดิวาลี) ปีใหม่ของชาวฮินดู : หรือเรียกกันว่าเทศกาลแห่งแสงสว่าง โดยจะมีขึ้นในเดือน Kartika ของปฏิทินฮินดูหรือที่เรียกว่า กฤษณปักษ์ ซึ่งจะอยู่ช่วงระหว่างกลางเดือนตุลาคม-กลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยในปีที่ผ่านมา ตรงกับวันที่ 12-16 พฤศจิกายนคำว่า มีที่มาจากคำว่าดิวาลี (Diwali หรือ Divali) ที่กร่อนมาจากคำว่า ทีปวาลี (Deepavali หรือ Dipavali) ในภาษาสันสกฤต แปลว่า แถวแห่งแสงไฟ ซึ่งเชื่อกันว่าชาวเมืองอโยธยาจุดตะเกียงจำนวนนับพันเพื่อต้อนรับพระราม พระลักษณ์ และนางสีดากลับนคร หลังได้ชัยชนะเหนือทศกัณฑ์ และเพื่อแสดงถึงความดีที่ชนะความชั่ว ชาวฮินดูจะทำการจุดเทีนย เปิดไฟ และจึดพลุเพื่อปเฉลิมฉลอง และจะมีการเฉลิมฉลองทั้งหมด 5 วัน
- 설날 (ซอลลาล) หรือ ตรุษเกาหลี : เป็นวันปีใหม่ตามปฏิทินทางจันทรคติ ซึ่งก็คือวันตรุษจีนนั่นเอง แต่ในเกาหลีจะมีการเฉลิมฉลองที่แตกต่างกัน โดยในปี 2021 นี้จะตรงกับวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2564 คนเกาหลีจะเดินทางกลับไปต่างจังหวัดเพื่อไปเยี่ยมครอบครัว โดยพิธีการในตอนเช้าจะเป็นการระลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งเรียกว่า 차례 (ซาแร) เมื่อเสร็จสิ้นพิธีก็จะมีการกราบไหว้ผู้ใหญ่ที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเรียกว่า 세배 (เซเบ)
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
- บางที่อาจจะมีการให้เงินของขวัญปีใหม่ที่เรียกว่า 세뱃돈 (เซเบตน) คล้ายกับอั่งเปา และทั้งครอบครัวจะนิยมร่วมกันกินอาหารอย่าง 떡국 (ต๊อกกุก) คือซุปเค้กข้าวทำจากแป้งข้าวเหนียว การรับประทานต๊อกกุกนี้มีความหมายว่า "อายุมากขึ้นไปอีกหนึ่งปี" เพื่อให้อายุยืน โชคดี และมีการเริ่มต้นใหม่ที่ดี
- Nyepi หรือ Day of Silence (วันแห่งความเงียบ) : เทศกาลสุดแปลกจากเกาะบาหลี หรือเรียกว่า นิเยปี ประเทศอินโดนีเซีย ที่กินระยะเวลา 3 วัน โดยในวันแรกจะมีพราหมณ์ทำพิธีบวงสรวงเทพยดา สวดมนต์ขอพรกัน วันที่ 2 ทุกคนจะเริ่มแห่ Ogoh-Ogoh (โอกอห์ โอกอห์) หรือหุ่นจำลองตัวแทนของเทพที่หน้าตาดุดันน่ากลัว เพื่อจะขับไล่ภูตผีปีศาจออกไปให้พ้นจากพื้นที่เกาะบาหลีเสีย และวันที่ 3 จะเป็นการทำตามชื่อวันแห่งความเงียบ เพราะตั้งแต่เวลา 6 โมงเช้า จนถึง 6 โมงเช้าของวันถัดไป ผู้คนจะเก็บตัวอยู่ในบ้าน งดอาหาร งดการพูดคุย ไม่เปิดไฟส่องสว่างหรือเปิดเพียงน้อยนิด ท้องถนนเต็มไปด้วยความว่างเปล่า ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่สนามบินก็งดให้บริการ เพราะเชื่อว่าภูตผีปีศาจที่ถูกไล่โดย โอกอห์ โอกอห์ ในวันที่ 2 จะหนีออกมาหาที่อยู่ จึงต้องต้องแกล้งทำเป็นว่าเกาะนี้ร้างไม่มีคนอยู่