ไลฟ์สไตล์

ลูกหนี้ต้องอ่าน!! หากเผลอเป็นหนี้นอกระบบ เราจะให้กฎหมายช่วยยังไงดี?

Mango Zero
เผยแพร่ 12 ก.ค. 2561 เวลา 10.32 น. • Mango Zero

โดยปกติแล้วการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ตามกฎหมายต้องไม่เกินร้อยละ15 ต่อปี แต่! ถ้าเราเผลอไปกู้หนี้ยืมสินนอกระบบ จนดอกเบี้ยเงินกู้ทะยานพุ่งเกินกว่ากฎหมายกำหนด และเงินในกระเป๋าจะจ่ายไหวT^T แถมมีคนแปลกหน้ามาเคาะประตูหน้าบ้านเพียบอีกกกก

เอาล่ะ! ทำใจร่มๆ ไว้นะคะ ถ้าเจอเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยเกินที่กฎหมายกำหนด ถือว่าดอกเบี้ยนั้นเป็นโมฆะทันทีที่เริ่มกู้เลยค่ะ แต่ยังมีอีกหลายประเด็นสำคัญที่ลูกหนี้ควรรู้ไว้ ทนายเจมส์ มีคำตอบให้กับผู้อ่านMango Zero ค่ะ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

คิดดอกเบี้ยกู้ยืมตามกฎหมายแท้จริงแล้วเท่าไหร่กัน?

ทนายเจมส์  นิติธร แก้วโต บอกกับทีมงานMango Zero ว่า ในตามกฎหมายแล้วหากมีการกู้ยืมเงิน เจ้าหนี้จะต้องคิดดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ15 ต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ1.25 ต่อเดือน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แล้วถ้าเผลอกู้นอกระบบ โดนดอกเบี้ยแพง ทำยังไงดี?

ถ้าจู่ๆ เผลอไปกู้หนี้นอกระบบ แล้วโดนคิดดอกเบี้ยเกิดร้อยละ15 ในทางกฎหมายนั้นดอกเบี้ยจะถูกเป็นโมฆะตั้งแต่ทันทีที่กู้เลยค่ะเท่ากับว่าเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์คิดดอกเบี้ยและลูกหนี้ชำระแค่เงินต้นเท่านั้นค่ะ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ยิ่งเจ้าหนี้ถึงขั้นฟ้องร้องลูกหนี้ละก็… สิ่งแรกที่ศาลจะพิจารณาก่อนเลย ท่านจะดูว่าในสัญญาการกู้หนี้เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไหม?

ถ้าพบหลักฐานการคิดดอกเบี้ยเกินที่กฎหมายกำหนด ดอกเบี้ยทั้งหมดจะถูกเป็นโมฆะ และให้รวมเป็นเงินต้นไปเลย เท่ากับว่า ณ ตอนนั้นเหลือหนี้ที่ต้องชำระคืนเท่าไหร่ ก็จ่ายแค่นั้นค่ะ เผลอๆ บางรายพอรวมดอกเบี้ยที่เคยจ่ายก่อนหน้าไปแล้ว อ่าว! หมดหนี้แล้วนี่หว่า ก็ไม่ต้องชำระแล้วค่ะ

เช่น ยืมเงินนอกระบบ10,000 บาท ดอกร้อยละ3 เท่ากับ300  บาทต่อวัน โดยผ่อนวันละ500 กำหนดผ่อน50 วัน

เท่ากับว่าผ่อนเงินต้นไปวันละ200 บาท หากผ่อนครบ50 วัน จะเสียเงินไปทั้งหมด25,000 บาท

แต่ถ้าผ่อนไปได้25 วัน เท่ากับจ่ายไปแล้ว12,500 บาท ศาลท่านเห็นว่าได้รับดอกเบี้ยเกินกฎหมายกำหนด จะให้ดอกเบี้ยที่เคยผ่อนไปรวมกับเงินต้นที่เคยผ่อน ก็เท่ากับว่าลูกหนี้ได้ชำระเกินเงินต้นมาแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้หนี้ตามที่เจ้าหนี้ฟ้องค่ะ

ใครปล่อยกู้เป็นอาชีพระวัง! มีความผิดตามนี้

ทนายเจมส์ ยังบอกด้วยอีกว่า ใครที่ปล่อยกู้เงินนอกระบบทำเป็นธุรกิจ กิจการเต็มที่ละก็ ถือว่าเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 แต่ถ้าเป็นเพื่อนให้ยืมกันเอง ถือว่าไม่เข้าข่าย

  • ตัวผู้ปล่อยกู้ต้องจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ชัดเจน
  • ทนายว่าจ้างให้ไปทวงหนี้ต้องได้รับรองขึ้นทะเบียนจากสภาทนายความ
  • จะทวงหนี้ใครต้องแจ้งชื่อ–นามสกุล หน่วยงานต้นสังกัดทุกครั้ง ฝ่าฝืนโทษจำคุก1 ปี ปรับไม่เกิน100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ห้ามแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาทวงหนี้
  • ห้ามข่มขู่ คุกคาม ประจาน หรือทำร้ายร่างกาย ทำลายข้าวของ โทษจำคุก5 ปี ปรับไม่เกิน500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ห้ามทวงหนี้กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นญาติ พี่น้องก็ตาม
  • ทวงหนี้ได้เฉพาะ วันจันทร์– วันศุกร์ เวลา8.00 น. – 20.00 น. / วันหยุดราชการ เวลา8.00 น. – 18.00 น.
  • หากโทรไปที่ทำงานลูกหนี้ ห้ามเปิดเผยข้อมูลการเป็นหนี้กับคนอื่นของลูกหนี้

โทษของการเรียกดอกเบี้ยเกินกำหนด!

สำหรับเจ้าหนี้ที่เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จะถือว่าเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 จำคุกไม่เกิน2 ปี ปรับไม่เกิน200,000 บาท

ลูกหนี้ที่ตกเป็นเหยื่อร้องเรียนได้ที่….

  • ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย มีประจำทุกทุกจังหวัด สามารถเข้าไปขอคำปรึกษาได้ โทร. 1567
  • ส่วนอำนวยการปฏิบัติการแก้ไขหนี้สินภาคประชาชน สามารถช่วยเจรจาประนอมหนี้ได้ โทร.1359
  • ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ให้ความช่วยเหลือด้านทนาย โทร.02-575-3344

 

ทางที่ดี“การไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ” ประโยคคลาสสิคที่คอยเตือนสติได้เสมอนะคะ

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 28
  • IN💐💐🌾🌾
    ถ้าคิดจะชักดาบหรือหัวหมอก็อย่าไปกู้เขาถ้าจะเอาดอกเบี้ยตามกฎหมายก็ไปยื่นกู้ธนาคารโน่น ตอนมาขอกู้แทบกราบเท้าพอได้เงินไปทำหัวหมอไม่คืนเงินหน้าด้าน
    12 ก.ค. 2561 เวลา 12.09 น.
  • S.CIC
    ผมเคยคิดดอกร้อยละ12ต่อปีเดือนละ1% โดยไม่มีหลักประกันอะไรเลยนอกจากเช็ค(เด้ง) เป็นการกู้ยืมในบรรดาคนอยู่วงการเดียวกันเพื่อช่วยเหลือกันแต่พอทวงถาม คนที่กู้เราไปบอกไม่มีไม่หนีไม่จ่ายไม่ได้ทั้งต้นทั้งดอก พอทวงหนักๆเข้าเขาโกรธด่าสารพัด เครียดมากเสียทั้งเงินทั้งพรรคพวกอุตส่าห์ช่วยเหลือต้องมาช้ำใจแบบนี้ แล้วนี่สังคมจะไว้ใจกันยังไง พอให้กู้ก็ไม่คืนทั้งในและนอกระบบ
    12 ก.ค. 2561 เวลา 13.06 น.
  • Kan(พีรญา)
    ถ้ารัฐปล่อยกู้ง่ายๆคงดี นอกระบบจะได้หมดไปงัย
    12 ก.ค. 2561 เวลา 12.51 น.
  • รวย สถิรวัฒนกุล
    ไม่ว่าในหรือนอกระบบ ก็ไม่ต่างกันหรอกโดยเฉพาะบัตรหายนะ(เครดิส)นี้หละตัวดี รอเวลาจะยึดทรัพย์สินทำลายอนาคต
    12 ก.ค. 2561 เวลา 12.15 น.
  • ตุ้ยครับ
    แบงค์แม่งยังคิดเกินเลย...1.5-2% ต่อเดือน และอีกเรื่องเหมือนแนะนำให้คนโกงกันกายๆเลยเนอะ
    12 ก.ค. 2561 เวลา 11.58 น.
ดูทั้งหมด