สัมภาษณ์พิเศษ นักศึกษาไทยคนเดียว ที่ได้ทุนจาก “แอปเปิ้ล”ในปีนี้ ประสบการณ์ 2ปีแต่เขียนแอป 2วัน มาดูว่า 18ชม.แห่งความพยายามตอบแทนอะไรน้องฟิล์มบ้าง?
หลังจากคนแรกเมื่อปี 2015 ได้ดีไปแล้ว ทุนแอปเปิ้ลมีที่นั่งแค่ 350 คนคัดเลือกจากทั่วโลก หมายถึงการเป็น 1 ใน 350 นักพัฒนาที่ได้รับทุนไม่ใช่เรื่องง่าย น้องฟิล์ม หรือ นายพัชรพล จอกสมุทร ทักทายซีอย่างเป็นมิตร แววตาตื่นเต้นหน่อยๆ ฉายแววว่า เค้ารู้สึกประหลาดใจและ ภูมิใจอย่างมากกับการได้รับทุนของแอปเปิ้ลเพื่อร่วมงาน WWDC 2019 ที่สหรัฐอเมริกาในปีนี้ แน่นอน การได้เป็น”คนไทย”คนเดียวที่ถูกคัดเลือกได้ทุนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เป็นเรื่องที่น้องฟิล์มวางแผนมาแล้วระยะใหญ่ๆก่อนส่งผลงาน
ความตั้งใจของน้องฟิล์ม แฝงด้วยอุดมการณ์อยากทำค่าย iOS สอนเด็กมัธยมปลายเขียนแอป หลังค้นพบว่า พื้นฐานเด็กเขียนโปรแกรมแบบนี้ได้น้อย ทั้งที่ “การเขียนโค้ดเป็นเรื่องสนุก”เป็นกระบวนการฝึกการคิดขั้นพื้นฐาน ซึ่งแอปที่เป็นผลงานที่ทำให้ได้ทุนนั้นในเวลาในการจัดทำแค่ 2 วันแบบไม่หลับไม่นอน โดยเน้น”การทำเกมส์เข้าถึงกลุ่มนักเรียน” เกมที่ส่งคือ โปรแกรมสอนเด็กเขียนโค้ดด้วยการลากปลาวาฬเดินเลี้ยวซ้ายขวา
ถึงจะยังเรียนอยู่ แต่ก็มีประสบการณ์เขียนแอปมือาชีพมาหลากหลาย มีประสบการณ์ 2ปี ในการเขียน CODING ที่จริงก็ตามกติกาของแอปเปิ้ลว่าคนส่งผลงานเข้าประกวดต้องเป็นบุคลากรSTEM ต้องเป็นนักเรียน ในขณะที่น้องฟิล์มถนัดเขียนแอปประเภทการศึกษา และยังเรียนพวกคอร์สออนไลน์ฟรีเองเป็นการศึกษาเพิ่มเติมเสมอ เช่นใน APPLE iBOOK : intro to Swfit Playground , STAMFORD COURSE ENGLISH Ver. โดยการเรียนในห้องเรียนเป็น”การปูพื้นฐานที่สำคัญเท่านั้น”มันอาจจะไม่ได้ใช้ทางตรงแต่เสริม”การเรียนรู้ต่อของเราให้เอาไปใช้ได้เร็ว”ตัวเราต้องศึกษาขวนขวายนอกห้องเรียนเองด้วย
น้องฟิล์มมองว่า “เทรนด์ต่อไปคือ การทำแพทเทิร์นโปรโมชั่นเฉพาะตัวคน” การเรียนรู้ผู้ใช้เพื่อจัดทำ”โปรโมชั่นแบบไม่ซี้ซั้วะ” ตรงคน ไม่ใช่แค่ตรงกลุ่ม รวมทั้ง เรื่อง “ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน” (PRIVACY) สำคัญมากเพราะเรามักกลัวข้อมูลตัวเองหลุดออกไป ซึ่งขัดกับโลก AI/Machine Learning เพราะในมุมของนักพัฒนายิ่งมี “ข้อมูลมาก” เหมือน”ทองในโลกไอที” ยิ่งทำอะไรได้เยอะมาก “นักพัฒนาต้องไม่ส่งข้อมูลผู้ใช้ออกไปนอกเครื่อง ต้องเขียนแอปทำงานในตัวเครื่องเป็นคนจัดการเอง” สิ่งที่พอรู้ได้คือ ไม่ใช่นาย ก.ซื้ออะไร แต่เป็น “กลุ่มเป้าหมายแบบนี้ ชอบซื้อของแบบนี้คู่กับแบบนี้”
พี่สอนน้อง : ฟิล์มฝากบอกน้องๆทุกคนที่อยากเจริญรอยตามว่า “การเรียนรู้จากประสบการณ์ คือการลงมือทำ หรือลองทำดู เขียนเล่นก็ได้ประสบการณ์ไม่ต้องลงแอปสโตร์ก็ได้ อย่ากลัวว่าจะทำออกมาไม่เป็นชิ้นเป็นอัน” ลองทำดูอาจจะชอบและ จัดประกายไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ๆให้เกิดกับวงการนักพัฒนาไทยได้ สิ่งที่น้องฟิล์มเอาดีทาง การทำแอปบน iOS เป็นเพราะว่า คนเขียนแอปบนiOS มีน้อยกว่าเยอะเห็นโอกาส เพราะคนเขียนแอปแอนดรอยด์เยอะมาก แอนดรอย์บางกติกาทำได้ในแอนดรอยด์ทำไม่ได้ใน iOS… แถมต้องคิดรอบคอบมากเพราะแอนดรอย์มีหลายยี่ห้อและมีหลายขนาดจอ เวลาเขียนแอปบนแอนดรอยด์ “เหมือนการเข้าป่า” ในขณะที่เขียนแอป iOS เหมือน “เข้าสวนสนุก” ปิดอยู่ในนั้นแต่ชัดว่าต้องทำอะไร
ทองมา เก่งมากครับ
03 มิ.ย. 2562 เวลา 09.40 น.
.JOEY-JIYEON เพื่อนผมเองครับ ชื่อฟิล์ม อดีตเคยเจอกันในค่ายไอทีแคมป์ครั้งที่10 อายุช่วงม.ปลาย ณ. พระจอมเกล้าฯลาดกระบัง ในคณะไอที
นายเก่งมากๆ อยู่กลุ่ม Sec ของ Oops! Game และนายมีพรสวรรค์มาก เขียนเกมส์มาสร้างให้เพื่อน ตอนพรีเซนในหอประชุมได้ ทึ่งมากๆครับ ดีใจที่นายได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศครับ
03 มิ.ย. 2562 เวลา 13.25 น.
NONAME เก่ง สร้างสรรค์ มองการณ์ไกล เพอเฟค สมเป็นคนรุ่นใหม่ 👍🏻
จบข่าว
03 มิ.ย. 2562 เวลา 13.34 น.
JK คนรุ่นใหม่คนคุณภาพ ชื่นชมครับ
03 มิ.ย. 2562 เวลา 14.54 น.
ดูทั้งหมด