LINE ประเทศไทย จัดเต็ม! ประกาศกลยุทธ์สำคัญ พร้อมบริการใหม่ ภายใต้วิสัยทัศน์ Life on LINE
• LINE ประกาศกลยุทธ์ใช้ OMO, FinTech และ AI ในการขับเคลื่อนธุรกิจสู่เป้าหมายในการเป็น life infrastructure หรือ แพลตฟอร์มที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของคนไทย
• พร้อมเปิดตัวบริการใหม่ ได้แก่ LINE Shopping, บริการสั่งซื้อของจาก LINE MAN, บริการเสียงรอสาย และอื่นๆ
• เปิดตัวนวัตกรรมด้านธุรกิจมากมายทั้งบริการใหม่และผลิตภัณฑ์ใหม่จาก LINE Biz-Solutions โดยเฉพาะรายละเอียดของ LINE Official Account
• จัดงานประกาศรางวัล LINE Thailand Awards ครั้งแรก มอบรางวัลยอดเยี่ยมหลากหลายหมวดหมู่ รวมกว่า 26 รางวัล
กรุงเทพฯ – 25 กรกฎาคม 2562 – ยิ่งใหญ่สมกับเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย LINE Thailand จัดงาน LINE Converge Thailand 2019 เพื่อสะท้อนภาพความสำเร็จของ LINE ในฐานะแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของประเทศไทย โดยภายในงานครั้งนี้ได้รับความสนใจจากแขกผู้มีเกียรติ พันธมิตร องค์กรขนาดใหญ่ ผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก พร้อมด้วยผู้ที่ชื่นชอบเทคโนโลยีเข้าร่วมงานมากมายเพื่ออัพเดทข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแพลตฟอร์ม LINE
โดยในงานวันแรกเริ่มต้นด้วยการแสดงวิสัยทัศน์ใหม่ “Life on LINE” สำหรับตลาดประเทศไทย โดยมีเป้าหมายที่จะทำให้แพลตฟอร์ม LINE เป็น “โครงสร้างพื้นฐานชีวิต” สำหรับผู้ใช้งานทุกคน รวมถึงการประกาศการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่สำคัญสำหรับตลาดในประเทศไทย ได้แก่ LINE Mini app, LINE Shopping, LINE MAN GROCERY, LINE Melody และ Smart Channel นอกจากนี้ยังได้จัดงาน LINE Thailand Awards ซึ่งมีการมอบรางวัลกว่า 26 รางวัลแก่พันธมิตรชั้นนำของ LINE ในหลากหลายหมวดหมู่ธุรกิจ
“LINE มุ่งมั่นที่จะนำเสนอประสบการณ์ “WOW” ให้กับผู้ใช้ทุกคน” อึนจอง ลี รองประธานอาวุโสฝ่ายบริหารธุรกิจระดับโลก LINE คอร์ปอเรชั่น กล่าว “ภายใต้วิสัยทัศน์ ‘Life on LINE’ เราเชื่อว่าทั้ง 3 กลยุทธ์หลักของเราจะสามารถช่วยแก้ไขpain pointให้กับผู้คนได้อีกทั้งทำให้ชีวิตประจำวันสนุกสนานและสะดวกสบายมากขึ้นสำหรับผู้ใช้งานชาวไทยทุกคน”
3 กลยุทธ์สำคัญสำหรับ 'Life on LINE'
วิสัยทัศน์“ Life on LINE” ตามที่ อึนจอง ลี ได้กล่าวไว้ ประกอบไปด้วย:
1) OMO (online-merge-offline การรวมกันของออนไลน์กับออฟไลน์) - คล้ายกับ O2O แต่เป็นการรวมที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ และเพื่อให้ OMO เข้ามาช่วยธุรกิจไทยได้อย่างแท้จริง LINE จึงได้เปิดตัว LINE Mini App ระบบที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้บริการเต็มรูปแบบจากแบรนด์หรือธุรกิจต่างๆ ผ่าน LINE ได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องออกจาก LINE และแบรนด์เองก็ยังคงรูปแบบบริการของตนเองได้ตามที่ต้องการ
2) Fintech – นี่ถือเป็นหนึ่งในแรงผลักดันให้ประเทศไทยเดินหน้าสู่การเป็นสังคมไร้เงินสด ควบคู่กับการนำเสนอนวัตกรรมทางการธนาคาร ซึ่งที่ผ่านมา LINE ได้ดำเนินธุรกิจ Rabbit LINE Pay และได้ร่วมมือกับ KBANK เพื่อปฏิวัติการบริการทางการเงิน ภายใต้องค์กรความร่วมมือใหม่ในนาม KASIKORN LINE
3) AI - LINE จะยังคงเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีด้าน AI ขั้นสูงเพื่อนำไปใช้ในการบริการที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น การนำ AI มาช่วยในฟีเจอร์สำหรับการแนะนำบริการแบบเฉพาะบุคคลในการค้นหาการใช้บริการ LINE TV, Sticker Shop, โฆษณา และอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมีฟีเจอร์ใหม่ล่าสุด Smart Channel ที่เรียนรู้จากพฤติกรรมความสนใจของผู้ใช้ไปสู่การนำเสนอข้อมูลที่ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง
นวัตกรรมเพื่อธุรกิจไทย
ดร. พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) คนใหม่ของ LINE ประเทศไทย ได้แนะนำบริการและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจในประเทศไทยโดยเฉพาะถึง 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่
1) LINE Shopping –บริการรูปแบบใหม่ในการรวมแหล่งออนไลน์ช้อปปิ้งไว้ในที่เดียว เพื่อแก้ pain point ของลูกค้าในการตามหาข้อมูลที่มีมากจนเกินไป และช่วยให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมด้วยฟีเจอร์สำคัญมากมาย อาทิ โปรโมชั่น, คะแนนสะสม, การตั้งรายการสินค้าที่ต้องการซื้อ (wish list), การแจ้งเตือนเมื่อสินค้านั้นๆ ราคาลดลง และฟีเจอร์อื่นๆ ที่จะตามมาอีกมากมายในอนาคต
2) LINE MAN –LINE MAN ได้ชื่อว่าเป็นผู้ช่วยอันดับหนึ่งของคนกรุงเทพฯ ได้ประกาศแผนการรุกขยายการบริการให้ครอบคลุมพื้นที่หัวเมืองใหญ่ของประเทศไทยภายในปี 2563 ซึ่ง LINE MAN เป็นพันธมิตรกับยักษ์ใหญ่อย่าง Wongnai และ Lalamove เพื่อที่จะพัฒนาการบริการที่ดียิ่งขึ้น และบริการดังกล่าวยังได้เปิดตัวโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการลดการใช้พลาสติกอีกด้วย
3) LINE MAN GROCERY - บริการซื้อของใช้ในบ้านจาก LINE MAN
4) LINE MELODY - LINE Call จะเพิ่มฟีเจอร์ให้ผู้ใช้งานสามารถนำเพลงยอดนิยมมาเป็นเมโลดี้หรือริงค์โทนได้
“ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นนวัตกรรมที่มุ่งพัฒนาชีวิตคนไทยทั้งสิ้น” ดร. พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา กล่าว “แต่ที่มากไปกว่านั้นภายใต้วิสัยทัศน์“Life on LINE” สิ่งที่เราจะให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งคือผู้ใช้ของเรา รวมถึงการสร้างแพลตฟอร์มที่ปลอดภัยและตอบสนองความต้องการของพวกเขา”
โซลูชั่นใหม่สำหรับภาคธุรกิจ
นอกเหนือจากการเปิดตัวบริการใหม่สำหรับกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปแล้ว LINE ประเทศไทยยังได้เปิดตัวโซลูชั่นมืออาชีพสำหรับภาคธุรกิจ รวมถึงการใช้งานสำหรับงานทรัพยากรบุคคลและหน่วยงานภาครัฐ ที่จะตอบสนองการเดินหน้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่ง LINE ecosystem กำลังเติบโตอย่างมากและพร้อมเป็นเครื่องมือสำคัญและมีประสิทธิภาพสำหรับภาคธุรกิจที่เชื่อมต่อแบรนด์กับลูกค้า อีกทั้งเพื่อการปรับปรุงการบริการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบัน มีผู้ใช้งาน LINE Official Account (OA) สูงถึง 3 ล้านราย โดยมี 1.3 ล้านรายอยู่ในกลุ่มธุรกิจรีเทล และ 180,000 รายอยู่ในกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งจากความสำเร็จดังกล่าวได้นำไปสู่ความพร้อมในการพัฒนา LINE OA Plus และ OA Plus E-Commerce ที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถซื้อผลิตภัณฑ์โดยตรงผ่าน LINE Official Account ของแบรนด์ โดยไม่ต้องสวิตซ์ไปใช้แอปพลิเคชั่นอื่น โดยชูฟีเจอร์ LINE2SHOP ซึ่งมี MAC Cosmetics เป็นพันธมิตรแบรนด์แรกในการเปิดตัวบริการนี้ รวมถึงพันธมิตรที่ร่วมมือทางด้านระบบ อาทิ aCommerce และ Akita
เช่นเดียวกับบริการใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น OA x LINE MAN ที่แบรนด์สามารถเชื่อมต่อบริการ LINE MAN เข้ากับ Official Account ของธุรกิจตนเองได้
นอกจากนี้ยังมีบริการใหม่ที่เปิดตัวในครั้งนี้ด้วย ได้แก่ :
1) Slide ad บน LINE TODAY ที่จะเพิ่มมิติและความน่าสนใจของข้อความและการโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบัน LINE TODAY เป็นบริการหนึ่งที่โดดเด่นที่เข้าถึงจำนวนผู้ใช้งาน LINE มากกว่าครึ่ง
2) Smart Channel – พื้นที่โฆษณาที่อยู่ด้านบนของหน้า chat list เพื่อให้นักการตลาดสามารถส่งข้อความโฆษณาที่ตรงกลุ่มเป้าหมายในเวลาที่เหมาะสม หรือผู้ใช้งานจะได้รับข้อความโฆษณาที่ตรงกับความสนใจมากขึ้น
3) LINE IDOL – ช่องทางการสื่อสารสำหรับกลุ่มศิลปิน ดารา และคนดัง เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับแฟนคลับได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปัจจุบัน LINE IDOL มีช่องพิเศษสำหรับคนดังและนักเขียนบล็อก และในงานนี้เอง LINE IDOL ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ พร้อมเพิ่มหมวดหมู่ Business สำหรับคอนเทนต์จากผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ และ Sports สำหรับเนื้อหาเกี่ยวกับกีฬาต่างๆ
นอกจากนี้ แพลตฟอร์มการชำระเงินบนมือถือของ LINE ยังคงเติบโตอย่างโดดเด่น โดยพบว่าปัจจุบันมีผู้ใช้งาน Rabbit LINE Pay กว่า 6 ล้านบัญชี และมีการผูกกับบัตรเครดิต / เดบิตกว่า 4 ล้านใบ และมีผู้ลงทะเบียนสร้าง e-wallets กว่า 5 ล้านราย จึงเป็นที่มาของการร่วมมือระหว่าง Rabbit LINE Pay และ LINE Points ให้ผู้ใช้สามารถนำ LINE Points มาใช้งานกับร้านค้ากว่า 60,000 รายที่อยู่ในระบบของ Rabbit LINE Pay ได้
สำหรับธุรกิจ FinTech ของ LINE ที่ดำเนินงานภายในนามบริษัทKASIKORN LINE ซึ่งได้มีการเปิดตัวไปเมื่อปลายปี 2561 ภายในงานครั้งนี้ ได้มีการยืนยันแผนการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ในปี 2563 โดยเน้นการให้บริการเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจสถานะการเงินของตนเอง รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลเครดิตและลงทุนได้อย่างปลอดภัยผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลเชิงลึก, การกู้ยืม, ประกัน และการลงทุน
ภายในงาน ยังได้มีการจัดมอบรางวัล LINE Thailand Awards ครั้งแรกกับการประกาศและมอบรางวัล “ที่สุด” บนแพลตฟอร์ม LINE ให้กับแบรนด์ที่ทำผลงานเชิงธุรกิจบน LINE ได้อย่างโดดเด่นและยอดเยี่ยม ตามหมวดหมู่และแวดวงอุตสาหกรรมที่หลากหลาย อาทิ เทคโนโลยี การสื่อสารและบันเทิง, ยานยนต์และพลังงาน, สินค้าบริโภคและค้าปลีก รวมไปถึงการเงินและประกัน โดยมีการมอบรางวัลทั้งหมดกว่า 26 รางวัล
เกี่ยวกับ LINE Corporation
LINE Corporation ก่อตั้งในประเทศญี่ปุ่น (NYSE: LN / TSE: 3938) ด้วยพันธกิจสำคัญ “Closing the Distance” ที่จะเชื่อมโยงข้อมูล บริการและผู้คน แอพส่งข้อความของ LINE เปิดตัวในเดือนมิถุนายน 2554 และต่อมาเติบโตเป็นระบบนิเวศที่แข็งแกร่งระดับโลก รวมถึงเทคโนโลยีชั้นนำ AI, fintech และอื่น ๆ สำหรับ ในประเทศไทย LINE เปิดตัวบริการครั้งแรกในปี 2555 และเติบโตอย่างรวดเร็วในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชั้นนำของประเทศ
Nm โฆษณาเยอะเกินไปแล้ว.
25 ก.ค. 2562 เวลา 11.43 น.
Songsri T. กลยุทธอะไรทำเพือผลประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงผู้ใช้ เช่นโฆษณามากๆแล้วหลอกให้โดนหรือสัมผัสโดนไม่ตั้งใจ ปรับเวอร์ช้่นล่าสุดก่อความรำคาญมากๆ เอาข่าวในไลน์มาอยู่บนหน้้้าแชท แล้วกดไม่ออกด้วยนะ กลับกลายเป็นเข้าอ่านทั่งที่ไม่อยากอ่านมันมัดมือชกมั้ยคะคุณผู้บริหารเพื่อเห็นแก่....มีกากบาทให้กดออก แต่ไม่ออก กลับตรงข้าม ไลน์ไม่มีความจริงใจพฤติกรรมแบบนี่ มันมองอื่นไม่ได้ หลอกผู้ใช้ ปิดดารติดต่อโดยตรง ให้ใช้ทาง เนทเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่two way communication
ปิดเรื่องร้องเรียน ภาพพจน์ที่ดีหรือนี่
12 ส.ค. 2562 เวลา 06.32 น.
Gaï 9899🥂✨ มึงพัฒนา คนเขียนข่าวให้ถูกก่อนไหม ...ควายยังอ่านไม่รู้เรื่องเลย 👣🐃
25 ก.ค. 2562 เวลา 15.38 น.
Khun Pakorn P.K.💯 ข่าวใน Line Today พาดหัวให้ถูกหน่อย เนื้อหาข่าวอย่าผิดเยอะ
25 ก.ค. 2562 เวลา 13.23 น.
ดูทั้งหมด