ต่างประเทศ

“คิม จอง อึน” เรียกร้องเปลี่ยนสถานะเกาหลีใต้เป็น “ปรปักษ์อันดับ 1”

WeR NEWS
เผยแพร่ 16 ม.ค. เวลา 07.09 น.

วันที่ 16 ม.ค. 67 สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ผู้นำเกาหลีเหนือ คิม จอง อึน เรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดให้เกาหลีเป็น “ปรปักษ์หลัก” และเตือนว่าพร้อมที่จะไม่หลีกเลี่ยงการทำสงคราม แม้เกาหลีเหนือจะไม่ต้องการให้เกิดสงครามก็ตาม

โดยในการกล่าวสุนทรพจน์ต่อการกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุมสมัชชาประชาชนสูงสุด นายคิม กล่าวว่า เขาได้ข้อสรุปว่าการรวมเป็นหนึ่งเดียวกับเกาหลีใต้เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป และกล่าวหาว่าเกาหลีใต้ต้องการให้ระบบการปกครองของเกาหลีเหนือล่มสลาย และรวมชาติโดยการแทรกซึมอย่างช้า ๆ ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ชาวเกาหลีเหนือ ว่าเกาหลีใต้เป็น “ศัตรูหลักและศัตรูหลักที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้” และดินแดนของเกาหลีเหนือแยกออกจากเกาหลีใต้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ เกาหลีเหนือควรวางแผนสำหรับการยึดครอง และยึดคืนเกาหลีใต้โดยสมบูรณ์ในกรณีที่เกิดสงคราม และชาวเกาหลีใต้ก็ไม่ควรถูกเรียกว่าเพื่อนร่วมชาติอีกต่อไป พร้อมเรียกร้องให้ตัดการสื่อสารระหว่างเกาหลีทั้งหมด และการทำลายอนุสาวรีย์เพื่อการรวมชาติในกรุงเปียงยาง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ด้านสำนักข่าวต่างประเทศ กล่าวอีกว่า หน่วยงานทั้ง 3 แห่งที่เกี่ยวข้องกับการรวมชาติและการท่องเที่ยวระหว่างเกาหลีก็จะถูกปิดเช่นกัน

ส่วนประธานาธิบดี ยุน ซอก ยอล ของเกาหลีใต้ กล่าวในการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า เกาหลีเหนือกำลัง ต่อต้านชาติ ที่เรียกเกาหลีใต้ว่าเป็นประเทศที่ไม่เป็นมิตร

การเรียกร้องของนายคิมให้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ เกิดขึ้นในขณะที่ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลียังคงย่ำแย่ลง ท่ามกลางการทดสอบขีปนาวุธของเกาหลีเหนือหลายครั้ง และความพยายามของเกาหลีเหนือในการฝ่าฝืนนโยบายและการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ ที่ดำเนินมานานหลายทศวรรษ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นักวิเคราะห์กล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศของเกาหลีเหนืออาจเข้าควบคุมความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ และอาจนำไปเป็นข้ออ้างในการใช้อาวุธนิวเคลียร์กับเกาหลีใต้ในสงครามในอนาคต

ทั้งนี้ รุดเกอร์ แฟรงก์ ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐกิจและสังคมเอเชียตะวันออกแห่งมหาวิทยาลัยเวียนนา กล่าวว่า นโยบายใหม่ของนายคิม จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีและพลวัตของภูมิภาค เขาเขียนในรายงานสำหรับโครงการ "38 นอร์ธ" ซึ่งอยู่ในสหรัฐฯ ว่านี่ถือเป็นการเปิดประตูสู่ความสัมพันธ์แบบปกติระหว่างรัฐ รวมถึงการฟื้นฟูทางการทูตและความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น