ทั่วไป

กทม. เล็งปรับ ‘รวมโรงเรียนขนาดเล็ก’ 60 แห่ง แก้ปัญหาโควตาครูน้อย ผลสัมฤทธิ์การเรียนของเด็กต่ำ

The Bangkok Insight
อัพเดต 01 พ.ค. 2566 เวลา 02.14 น. • เผยแพร่ 01 พ.ค. 2566 เวลา 02.14 น. • The Bangkok Insight

กทม. เล็งปรับ "รวมโรงเรียนขนาดเล็ก" 60 แห่ง แก้ปัญหาโควตาครูน้อย ต้องสอนหลายวิชาที่ไม่ถนัด ผลสัมฤทธิ์การเรียนของเด็กต่ำกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่

นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชกากรุงเทพมหานคร ร่วมเสวนาในงาน “insKru Festival 2023 มหกรรมไอเดียการสอน ความหวังและพลังในตัวครู” ซึ่งจัดโดย บริษัท อินสครู จำกัด ภายใต้การสนับสนุนจากบริษัท TCP กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ สวนโมกข์กรุงเทพ สวนรถไฟ เขตจตุจักร

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
กทม.

รวมโรงเรียนขนาดเล็กให้ใหญ่ขึ้น แก้ปัญหาครูน้อย ได้งบน้อย

โดยระบุว่า ปีหน้าโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครขนาดเล็กที่มีนักเรียนน้อยกว่า 100 คน จะมีประมาณ 60 โรงเรียน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเมื่อเทียบผลสัมฤทธิ์แล้วพบว่าโรงเรียนขนาดเล็กมีผลสัมฤทธิ์การเรียนของเด็กนักเรียนต่ำกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ เพราะมีครูน้อยและครูต้องสอนหลายวิชาที่ตนไม่ถนัด รวมถึงเรื่องงบประมาณที่ได้รับตามจำนวนนักเรียนก็จะน้อยตามไปด้วย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จึงมีแนวทางในการที่จะทำให้โรงเรียนขนาดเล็กมีมาตรฐานมากขึ้น อาจปรับรวมให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อสามารถพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยในเทอมการศึกษาหน้ากรุงเทพมหานครได้เล็งที่จะปรับเพิ่มโรงเรียนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน เนื่องจากเด็กวัย 2-6 ปี เป็นวัยที่กำลังมีพัฒนาการที่ดี มีความสำคัญสำหรับการเรียนรู้ หากมีการปูพื้นฐานที่ดีให้เด็กก็สามารถส่งต่อเด็กไปสู่การเรียนระดับประถมศึกษายังโรงเรียนสังกัดต่าง ๆ ได้ต่อไป

กทม.

ปรับการศึกษาให้คล่องตัว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายศานนท์ กล่าวด้วยว่า อยากให้การศึกษาเปลี่ยนเป็นการเรียนรู้ ครูก็สามารถเรียนรู้ได้ ถ้ามีการเปิดพื้นที่ให้ครูได้เรียนรู้ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพได้ ทั้งนี้ การศึกษามีหลายมิติที่เป็นความท้าทายของกรุงเทพมหานคร เช่น เรื่องกายภาพ มีการปรับกายภาพของโรงเรียนให้มีความเหมาะสม ซึ่งได้มีการจัดสรรงบประมาณดำเนินการให้

ที่สำคัญต้องให้โรงเรียนมีความคล่องตัวในการใช้งบปรับปรุงแก้ไข ต่อมาเรื่องวิทยฐานะของครู ปัจจุบันโรงเรียนสังกัดอื่นมีการปรับแนวทางประเมินแล้ว แต่ของกรุงเทพมหานครยังใช้แบบเดิมก็จะมีการปรับแนวทางประเมินใหม่แต่ยังคงมีมาตรฐานตามเกณฑ์

กทม.

ด้านสื่อการเรียนการสอน กรุงเทพมหานครโดยสำนักการศึกษาได้มีการออกหลักเกณฑ์กลาง ให้สำนักงานเขตกับโรงเรียนพิจารณาเลือกสื่อที่เหมาะสมกับโรงเรียนได้ โดยในปีนี้มีการตั้งคณะกรรมการมาดูแลมาตรฐานสื่อการเรียนการสอน ซึ่งคณะกรรมการจะมีการคัดเลือกสื่อการเรียนการสอนที่เข้าหลักเกณฑ์ไว้ แล้วให้โรงเรียนมาดูจากตรงนี้แล้วเลือกซื้อสื่อการเรียนการสอนที่เหมะสมจากตรงนี้ไป

แต่อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้วการเรียนรู้ปัจจุบันไม่ใช่อยู่แค่ในหนังสือ มีการเรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ ได้ ครูอาจคิดขึ้นมาใหม่โดยใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยได้ ซึ่งที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้ทดลองนำร่องนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียนการสอนผ่าน Google Classroom ในบางโรงเรียนพบว่า สามารถทำให้เด็กสนใจอยากเรียนเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากเด็กได้เรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ที่เด็กให้ความสนใจ ซึ่งนอกจากจะทำให้เด็กสนใจเรียนเพิ่มขึ้นแล้วยังช่วยในเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ดูข่าวต้นฉบับ