ทั่วไป

ลุยซ่อมอย่างไว! ถนนงบเกือบ 11 ล้าน ใช้งานปีเดียวผิวลาดยางแตก

Khaosod
อัพเดต 02 มี.ค. 2566 เวลา 08.45 น. • เผยแพร่ 02 มี.ค. 2566 เวลา 08.44 น.

ป.ป.ช. กาฬสินธุ์ ลุยตรวจสอบหลังเป็นข่าว ถนนงบเกือบ 11 ล้าน แต่ใช้งานปีเดียวผิวลาดยางแตก ล่าสุดจัดการซ่อมแซมเป็นที่เรียบร้อย

2 มี.ค. 2566 - จากกรณีที่เพจเฟซบุ๊ก ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน ตีแผ่ข้อมูลการสร้างถนนสาย กส. 2049 แยกทางหลวงหมายเลข 12 บ้านหนองแวง อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ใช้งบประมาณ 10,990,000 บาท แต่ถนนกลับชำรุด ผิวลาดยางแตกเป็นแนวยาว ทั้งที่เพิ่งส่งงานได้ปีเดียว ทำให้ถูกมองว่าไม่คุ้มค่ากับงบประมาณนั้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ล่าสุด ป.ป.ช. กาฬสินธุ์ นำโดย ว่าที่ร้อยตรีสมบูรณ์ หัสดม ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. กาฬสินธุ์มอบหมายกลุ่มงานป้องกันการทุจริต ร่วมกับชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดกาฬสินธุ์ ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยมีแขวงทางหลวงชนบทกาฬสินธุ์ หน่วยงานเจ้าของโครงการร่วมตรวจสอบและให้ข้อมูล เบื้องต้นสรุปได้ดังนี้

1. ถนนสายดังกล่าว เป็นถนนในความรับผิดของแขวงทางหลวงชนบทกาฬสินธุ์ เป็นโครงการ ก่อสร้างยกระดับมาตรฐานทาง มีการก่อสร้างสะพาน คสล. ข้ามคลองชลประทาน ความกว้าง 9.00 เมตร ความยาว 18.00 เมตร 1 แห่งพร้อมก่อสร้างถนนเชิงลาดคอสะพาน ระยะทาง 1.282 กม.งบประมาณก่อสร้างปี 2565 วงเงินงบประมาณ 10,990,000 บาท งานก่อสร้างแล้วเสร็จ และตรวจรับงานเดือน ต.ค. 2565

2. ตำแหน่งชำรุดเสียหาย ที่ กม. 4+086 ตรงบริเวณถนนเชิงลาดคอสะพานจำนวน 4 จุดเกิดรอยแตกร้าวตามยาวของไหล่ทางลาดยาง รอยแตกห่างจากขอบไหล่ทาง 0.50 เมตร ความยาวรอยแตกรวม 170 เมตร

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

3. สาเหตุความเสียหาย เกิดจากถนนช่วงดังกล่าวระดับก่อสร้างคันทางสูง ประมาณ 5.00 ม. มีเขตทางแคบติดปัญหาที่ดินชาวบ้าน การก่อสร้าง ลาดคันทางสูงและชัน ประกอบกับมีการระบายน้ำจากผิวทาง ลงบริเวณ ลาดคันทาง เกิดการกัดเชาะผิวดิน ทำให้ลาดคันทางทรุดตัวลง เกิดรอยแตกตามยาวอยู่ห่าง จากขอบไหล่ทาง 0.50 เมตร

4. แขวงทางหลวงชนบทกาฬสินธุ์ ได้แจ้งประสานผู้รับจ้างบริษัทยงยุทธการโยธา เข้าซ่อมแซมช่วงที่ชำรุดเสียหายตามภาระค้ำประกันสัญญา 2 ปี และผู้รับจ้างได้ ซ่อมแซมขุดแก้ไขรอยแตกขุด กว้าง 0.80 ม. ยาว 170 ม. เพื่อช่อมผิวลาดยาง คืนสภาพเดิมเสร็จ เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2566

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 1
  • preeda phoopao
    บางทีการจัดงบก็ให้มันสมดุลย์หน่อยเถอะครับ..ถนนในเมืองไทยหลายเส้น นิสัยคนไทยกลัวไม่ทั่วถึงแบ่งงบกันไม่ลงตัว ก็เฉลี่ยงบ พอจะสร้างให้ได้มาตรฐานเลยงบไม่พอ ก็ต้องลดสเป็กถนนลงพอพังก็ค่อยมาซ่อมทีหลัง สังเกตุสิถนนที่พังส่วนมากถนนริมคลอง หรือด้านข้างเป็นที่น้ำขัง น้ำลดดินยุบตาม จะสร้างให้อยู่มันต้องปรับสภาพดิน ซึ่งมันต้องใช้ทั้งงบประมาณ และเวลา แค่ถมดินก็ต้องมีอย่างน้อย2ปี รอไม่ไหวก็ต้องทำไปพอมันทรุดได้ทึ่ค่อยมาซ่อมและปูยางซ้ำเอาแต่ขาดการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจ
    03 มี.ค. 2566 เวลา 03.42 น.
ดูทั้งหมด