เมล็ดเจีย (Chia Seeds) อยู่ในกลุ่มเดียวกับกระเพรา โหรพา แมงลัก ชาวเม็กซิโกและโบลิเวียนิยมรับประทานเป็นอาหารนานกว่า 5,000 ปี ถือธัญพืชที่อุดมไปด้วยโปรตีน ใยอาหารที่นิยมในหมู่คนรักสุขภาพ ที่ใช้ผสมน้ำดื่ม หรือ ผสมในอาหารที่มีน้ำ อาทิ โยเกิร์ต หรือ ข้าวโอ๊ตค้างคืน (Overnight Oatmeal) ผสมน้ำมันเต้าหู้ หรือนมเป็นต้น ซึ่งเหมาะกับเป็นมื้อเช้า หรือมื้อว่างๆ ที่ทำให้อิ่มสบายท้องได้นานเลยทีเดียวนะคะ
ถั่วเขียว ประโยชน์ธัญพืชช่วยป้องกันโรคหัวใจคุมน้ำตาลในเลือดได้!
อาหารเพื่อสุขภาพคุณหญิง นอกจากสุขภาพดีหุ่นสวยยังเป็นของแถม!
ประโยชน์ของเมล็ดเจีย
ลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากเมล็ดเจียมีการดูดซึมน้ำและผลิตเจลในปริมาณมาก คล้ายกับเมล็ดแมงลัก ซึ่งทำให้อิ่มท้องนานขึ้น อีกทั้งเมล็ดเจียให้พลังงาน โปรตีน และสารอาหารต่างๆ ที่สูงมาก ครบตามที่ร่างกายต้องการ
น้ำมันOmega-3 ซึ่งเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ
แคลเซียมที่ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ลดการเสื่อมของกระดูกในผู้สูงอายุ
ไฟเบอร์ที่สูงซึ่งเป็นกากใยอาหารที่สำคัญต่อการขับถ่าย สำหรับผู้ที่ท้องผูกหรือมีปัญหาระบบขับถ่าย ไฟเบอร์จากเมล็ดเจียถือเป็นทางเลือกที่ดีมาก
เมล็ดเจียมี เมือก Mucilage (มูซิลเลจ) สูงมาก กากใยชนิดนี้ทำหน้าที่เป็นตัวชะลอในกระบวนการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล มีประโยชน์กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
โปรตีนสูงกว่าเมล็ดแมงลัก ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมเเซมส่วนที่สึกหรอ โดยสารอาหารจะผ่านเข้าไปตามระบบไหลเวียนโลหิตแล้วไปสู่อวัยวะต่างๆ ซึ่งเหมาะกับทุกเพศทุกวัย
ขณะที่มีงานวิจัยในเรื่องของการลดน้ำหนักนั้นเป็นการศึกษาในผู้ที่เป็นโรคอ้วน และผู้ที่มีน้ำหนักเกิน โดยให้บริโภคเมล็ดเจียบดเป็นผง 35 ก./วัน นาน 12 สัปดาห์ พบว่าที่ผู้เป็นโรคอ้วนน้ำหนักลดลงมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักเกินเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และกลุ่มที่ได้รับเมล็ดเจียรอบเอวลดลง
ขณะที่อีกหนึ่งการศึกษาให้รับประทานเมล็ดเจีย 50 กรัม/วัน นาน 12 สัปดาห์ ในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน พบว่าไม่สามารถลดน้ำหนักได้ แต่มีผลทำให้ระดับ ALA ในเลือดสูงขึ้น จะเห็นได้ว่าการศึกษายังให้ผลไม่ไปในทิศทางเดียวกันอาจต้องการศึกษาเพิ่มเติม
เมล็ดเจีย กินแบบไม่ต้องแช่น้ำก่อนได้หรือไม่ ?
อันที่จริง ไม่ค่อยนิยมกินแบบ เมล็ดแห้ง แต่สามารถโรยบนสลัด หรือจะผสมในขนมปังอบ หรือใส่คุกกี้ได้เพียงเล็กน้อย เพราะการกินแบบไม่แช่น้ำให้พองก่อน อาจทำให้ท้องอืดได้
8 อาหารว่างผู้สูงอายุมีปัญหาการบดเคี้ยว-เบื่ออาหาร เสริมโภชนาการมื้อหลัก!
ข้อควรระวังในการกินเมล็ดเจีย
ผู้ที่ปัญหาเกี่ยวกับระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดเพราะเส้นใยอาหารที่พองตัวในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25
เมล็ดเจียมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 สูง ดังนั้นต้องหยุดรับประทานในผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดและในผู้ที่มีประวัติการใช้ยาแอสไพริน หรือผู้ที่มีภาวะฮีโมฟิเลีย (haemophilia) หรือภาวะที่เลือดแข็งตัวช้า เลือดไหลไม่หยุด เพราะจะทำให้เลือดหยุดยาก
จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นหากผู้บริโภคต้องการรับประทานเมล็ดเจียเพื่อช่วยในเรื่องการลดน้ำหนัก คงต้องรับประทานในปริมาณที่กำหนดไว้ ควบคู่ไปกับการเลือกและควบคุมอาหารที่มีประโยชน์ พร้อมทั้งการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคน
ขอบคุณข้อมูลจาก : สวพส. และ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
"พริกขี้หนู" สรรพคุณทางยา ช่วยเจริญอาหาร ลดไขมันเลว คุมน้ำหนักได้
พืชโปรตีนสูง 10 อันดับ ทางเลือกเพื่อสุขภาพ ไม่กินเนื้อก็มีโปรตีนได้!