ภาพในโซเชียลมีเดียที่คุณอัพกำลังเป็นโทนสี Dark อยู่หรือเปล่า ?
รู้ไหมคะว่า งานวิจัยจาก Harvard ได้วิเคราะห์การลงรูปใน Instagram
และค้นพบว่า ถ้าเรารู้สึกเครียดหรือเศร้า เรามีแนวโน้มจะลงภาพในโทนสีที่
มืดขึ้น เช่น ภาพขาวดำ สีฟ้า สีเทา
คำในโซเชียลมีเดียที่คุณใช้มีคำแง่ลบอยู่หรือเปล่า ?
ถ้าเรามีอารมณ์ด้านลบ สเตตัสในโซเชียลมีเดียของเราจะมีคำแง่ลบมากขึ้น และมีการใช้คำแง่บวกลดลง สำหรับใครที่เล่น Twitter ถ้าลองพิมพ์ชื่อ Account ของตัวเองลงในเว็บ AnalyzeWords เว็บนี้จะวิเคราะห์การแสดงออกทางอารมณ์ (Emotional Style) จากทวีตของเราออกมาให้ว่า มีความกังวล ความโกรธ ความเครียดอยู่ในระดับต่ำหรือสูงกว่าค่าเฉลี่ย
สิ่งที่เราแสดงออกในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นคำ หรือ ภาพ
จึงสามารถบ่งบอกอารมณ์และความเครียดได้เบื้องต้น
รูปหน้ายิ้มของคนโซเชียล
แต่ช้าก่อน ! ไม่ใช่ทุกกรณีที่เราวิเคราะห์อารมณ์ที่แสดงออกในโซเชียลได้แม่นยำเสมอไป
บ่อยครั้งที่เราชอบใช้โซเชียลมีเดียเพื่อนำเสนอภาพชีวิตที่มีความสุข
แม้กำลังเครียดอยู่ แต่หลายคนก็เลือกลงรูป “เสี้ยวชีวิต” เฉพาะส่วนที่มีความสุข
น้อยคนจะโพสต์ภาพตัวเองกำลังร้องไห้ หรือ ทำหน้าเครียด
อาการนี้เรียกว่า “Smiling Depression” การแสดงออกให้คนอื่นเห็นว่ามีความสุข
แต่แท้จริงแล้วในใจเครียด ความน่ากลัวของ Smiling Depression คือ หลายคนมักไม่รู้ตัวว่ากำลังเป็นอยู่ เมื่อซ่อนอารมณ์แปรปรวนไว้ลึกๆภายใน ทำให้ยิ่งเครียดสะสม
แต่ “ความสุขปลอม” นี้ก็ยังมีข้อดีอยู่บ้าง
นักวิจัยจาก Harvard ได้ค้นพบว่า หากเรารู้ตัวแล้วว่ามีอาการ Smiling Depression อยู่
ทางแก้ไม่ใช่การลบรูปหน้ายิ้มที่ไม่ได้รู้สึกสดใสจริงๆออกจากโซเชียลมีเดียทั้งหมด
แม้สิ่งที่เรารู้สึกจริงๆกับสิ่งที่เราแสดงออกให้คนอื่นเห็นจะแตกต่างกันอยู่บ้าง
แต่การลงรูปมีความสุข จะช่วยเตือนให้เราจดจำว่า
ตัวเรามีความทรงจำที่มีความสุขดีๆมากมายท่ามกลางความทุกข์ ทำให้คิดบวกกับชีวิตได้มากขึ้น
และช่วยเราในการต่อสู้กับความรู้สึกเครียดได้ดีขึ้น
เวลากลับมาดูรูป Year in Review ที่ตัวเองอัพโหลดอีกครั้ง
ก็จะเห็นความทรงจำดีๆในชีวิต เป็นกำลังใจให้ตัวเอง
ทั้งนี้มีข้อควรระวังว่า ห้ามหลอกตัวเองว่ามีความสุขแต่ความจริงทุกข์ จนอาการเครียดหนักกว่าเดิม
What’s On Your Mind?
สิ่งที่สำคัญในการจัดการทางอารมณ์อย่างฉลาด
เป็นการรู้ทันอารมณ์ที่เกิดขึ้นและยอมรับมัน
ไม่ใช่การหลอกตัวเอง ว่ามีความสุข
ทุกวัน Facebook เฝ้าถามว่า “คุณกำลังคิดอะไรอยู่”
และเราก็สามารถเลือก “อารมณ์” จากตัวเลือกที่มี อัพสเตตัสบอกเพื่อนๆได้
แต่นอกจากถามตัวเองว่าเราอยากบอกคนอื่นว่าเรากำลังรู้สึกอย่างไรอยู่แล้ว
เราควรจะถามตัวเองบ่อยๆด้วยว่า ลึกๆแล้วเรากำลังรู้สึกอย่างไรจริงๆ
ในวันที่มีข่าวใน Newsfeed มากมาย
ทั้งข่าวร้าย ข่าวดี ที่พร้อมพัดพากระแสอารมณ์ให้ไม่หยุดนิ่งในแต่ละวัน
การรู้ทันอารมณ์ตัวเองและหมั่นสังเกตอารมณ์ตัวเองบ่อยๆ
จากสื่อโซเชียลที่เราใช้ทุกวัน จะช่วยให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้นค่ะ
ถ้าอัพสเตตัสบอกเพื่อนบ่อยแล้วว่าเราคิดอะไร ทำอะไรอยู่
อย่าลืมเช็คอารมณ์ที่ “รู้สึกจริงๆ” สำหรับบอกตัวเองบ่อยๆด้วยเช่นกันนะคะ
ที่มา
https://analyzewords.com/index.php
http://www.bbc.com/future/story/20180201-how-your-social-media-betrays-your-mood
https://qz.com/1554884/smiling-depression-is-a-dangerous-threat-to-your-mental-health/
https://slate.com/technology/2018/01/why-almost-anything-on-the-internet-can-now-be-your-mood.html
About Me
Instagram: http://www.instagram.com/faunglada
Facebook: http://www.facebook.com/faunglada
Youtube: http://www.youtube.com/faunglada
Twitter: @faunglada
Website:www.faunglada.com
ถ้าสบายใจและไม่ทำให้ใครเดือดร้อนก็เชิญครับ.
25 เม.ย. 2562 เวลา 21.16 น.
ดูทั้งหมด