ทั่วไป

น่าห่วง! อาชีวะเอกชน ปิดกิจการปีละ 20 แห่ง หลังจำนวนเด็กลดฮวบ-อ่อนบริหาร

Khaosod
อัพเดต 21 พ.ค. 2562 เวลา 12.33 น. • เผยแพร่ 21 พ.ค. 2562 เวลา 12.33 น.

อาชีวะเอกชน แห่ปิดกิจการปี 2561 ปิดไปแล้ว 20 แห่ง หลังจำนวนเด็กลดลง บริหารงานผิดพลาด เผยกว่า 80% อยากกลับไปอยู่ใต้สังกัดสช.

อาชีวะเอกชน / เมื่อวันที่ 21 พ.ค. นายชลำ อรรถธรรม เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เปิดเผยว่า ตามที่สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สวทอ.) และสมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ส.ปส.กช.) ออกมาระบุว่า วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนหลายแห่งจำนวนนักเรียน และนักศึกษาลดลง ส่งผลให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนบางแห่งไม่รับนักเรียน และนักศึกษาในปีนี้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อีกทั้งมีแนวโน้มว่าจะปิดกิจการ โดยเริ่มมีปัญหาตั้งแต่ให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนไปอยู่ภายใต้ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ซึ่งไม่เหลียวแล และจากการสำรวจพบว่ากว่า 80% อยากกลับไปอยู่ภายใต้สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ตามเดิมนั้น ทางสช.ยังไม่ได้มีการพูดคุยกับสอศ.เรื่องนี้ อยู่ที่ตัววิทยาลัยซึ่งย้ายสังกัดไปอยู่ภายใต้สังกัดสอศ. แล้วอยากกลับมาอยู่กับสช.

ซึ่งส่วนตัวพร้อมที่จะดูแลอาชีวะเอกชน เพราะเป็นงานที่เคยทำ อีกทั้งขณะนี้ก็ยังมีระเบียบบางเรื่องที่พิจารณาร่วมกันอยู่ อาทิ ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการบริหารกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบพ.ศ.2556 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการยืมเงินเพื่อก่อสร้างอาคารเพิ่มเติม เป็นต้น

“หากอาชีวะเอกชนอยากกลับมาจริง ผมก็พร้อมรับเสมอเพราะเป็นงานที่เคยทำมาก่อน ซึ่งตอนนี้ย้ายไปอยู่สอศ. เพราะมองว่าเป็นหลักสูตรอาชีวะเหมือนกัน หากไปอยู่สังกัดเดียวกัน น่าจะสามารถพัฒนาไปได้ดีกว่า การจะย้ายกลับมา ต้องขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหาร ที่ต้องพิจารณาว่า หากย้ายกลับมาอยู่สช. จะมีข้อดีข้อเสียอย่างไร โดยอาจจะต้องมองทั้งด้านการบริหารวิชาการ ที่ทางสอศ.จะสามารถพัฒนาได้มากกว่า แต่ในส่วนของการส่งเสริมสนับสนุนวิทยาลัยอาชีวะ ก็อาจจะไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ ส่งผลถึงการพัฒนาวิชาการ ที่แม้จะสนับสนุนอย่างไรก็ต้องตามด้วยงบประมาณด้วย” นายชลำ กล่าว

เลขาธิการกช. กล่าวต่อว่า ในส่วนของการพัฒนาโรงเรียนเอกชนนั้น แม้จำนวนเด็กจะลดลง แต่ตนพยายามทำความเข้าใจกับโรงเรียนให้อยู่อย่างมีคุณภาพ และทำหน้าที่แบ่งเบาการจัดการศึกษาของภาครัฐ โดยปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านมามีโรงเรียนเอกชน ปิดการเรียนการสอนไปแล้ว ประมาณ 20 โรงเรียน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขปกติ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เพราะที่ผ่านมาแต่ละปีมีโรงเรียนปิดกิจการเฉลี่ยปีละประมาณ 18-19 โรงเรียน ซึ่งปัญหาเด็กเข้าเรียนลดลงเป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่ประเด็นหลักเกิดจากปัญหาการบริหารจัดการ ขณะที่ผู้ปกครองเองก็มีสิทธิเลือกโรงเรียนที่มีศักยภาพ ดังนั้นสิ่งที่ตนพยายามสื่อสารมาตลอดคือ ให้โรงเรียนพัฒนาตัวเอง เพิ่มคุณภาพ เพื่อแบ่งเบาภาระการจัดการศึกษาของภาครัฐ

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 17
  • GNUN
    ใครจะกล้าส่งลูกหลานไปเรียน แค่ใส่เสื้อช้อปก็ถูกฆ่าตายแล้ว
    21 พ.ค. 2562 เวลา 13.50 น.
  • THE_JACKs
    เด็กลดลง อัตราส่วน อาจารย์/เด็ก แคบลง ยิ่งจะทำให้การเรียนการสอนเข้มข้นและดีขึ้น แต่ที่เห็นข่าวนี่ เปิดเทอมปุ๊บ ยกพวกไล่ฆ่ากันแล้ว ...มันสวนทางกับความน่าจะเป็นเสียเหลือเกิน...
    21 พ.ค. 2562 เวลา 13.55 น.
  • Koon lawyer
    ส่งลูกไปเรียน ไม่ได้ไปรบ ที่ต้องรอรับศพกลับบ้าน #คิดไปเอง
    21 พ.ค. 2562 เวลา 13.50 น.
  • Test1😊ตื่น♾หรือ⚖ยัง🌞
    อนาคตของชาติ ช่วยๆๆกันนะครับ สู้ๆๆ✌😊
    21 พ.ค. 2562 เวลา 13.32 น.
  • หนุกหนาน
    ก้อ..อาชีะมีแต่นักเลงมาเรียน วันๆก้อไล่ตีกัน พ่อแม่ก้อกลัวลูกตาย ไม่อยากให้มาเรียน มันไม่ใช่เครื่องบริหารหรอก
    21 พ.ค. 2562 เวลา 14.02 น.
ดูทั้งหมด