ไอที ธุรกิจ

อ่านหรือยัง? เงื่อนไข ‘เราไม่ทิ้งกัน’ ที่คุณอาจมองข้ามก่อนสมัคร

กรุงเทพธุรกิจ
เผยแพร่ 29 มี.ค. 2563 เวลา 05.00 น.

เมื่อไปที่หน้าเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com และคลิกตรงคำว่า “ลงทะเบียนมาตรการชดเชยรายได้” จะพบกับหน้าเว็บที่เต็มไปด้วยข้อความยาวเหยียดซึ่งผู้ลงทะเบียนไปแล้วหลายคนอาจยังอ่านไม่หมด แต่จริง ๆ แล้วเป็นใจความสำคัญและภาระผูกพัน โดยมีข้อความจั่วหัวให้ผู้ใช้ตกลงยินยอมเงื่อนไขดังต่อไปนี้

ข้อความตกลงยินยอมให้กระทรวงการคลังหรือผู้จัดทำระบบให้กระทรวงการคลังจัดเก็บ ประมวลผล และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์ในการดำเนินมาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบหรือผู้ได้รับผลกระทบอื่น ๆ ของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19)

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

มาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบ หรือผู้ได้รับผลกระทบอื่นๆ ของการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

1. สาระสำคัญของมาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบหรือผู้ได้รับผลกระทบอื่น ๆ ของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) (มาตรการฯ)

1.1 ช่วงระยะเวลาดำเนินมาตรการฯ คือ ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

*กรุงเทพธุรกิจ - ระยะเวลาดังกล่าวเป็นกรอบเวลาเบื้องต้นที่รัฐบาลกำหนดไว้ว่าจะเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเป็นเวลา 3 เดือน ระหว่าง เม.ย.-มิ.ย. ดังนั้น หลังเดือน มิ.ย. รัฐบาลจะยุติมาตรการจ่ายเงินนี้ อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์โควิดยังไม่ดีขึ้น ก็อาจมีการพิจารณาออกมาตรการเยียวยารอบใหม่*

158545784672

1.2 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับการชดเชยรายได้ตามมาตรการฯ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

(1) เป็นผู้มีสัญชาติไทย

(2) เป็นผู้มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันลงทะเบียน

(3) เป็นแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม

*กรุงเทพธุรกิจ - คุณสมบัติข้อนี้สำคัญมาก หลายคนที่ไม่เข้าเกณฑ์นี้อาจไม่ได้อ่านและกดสมัครไปแล้ว แต่มาตรการนี้มีจุดประสงค์เพื่อเยียวยาแรงงานและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม แต่หากใครอยู่ในระบบประกันสังคมแล้วลงทะเบียนไป ระบบเยียวยานี้ก็จะตัดชื่อออกและไม่จ่ายเงินให้*

สำหรับผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมอยู่แล้ว สำนักงานประกันสังคมได้กำหนดช่องทางการให้บริการเป็นพิเศษ โดยการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย ให้ยื่นแบบได้ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ หน้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หัวข้อ ขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน online (e-form for sso benefits)โดยผู้ประกันตนกรอกแบบขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย และนายจ้างกรอกแบบรับรองการปิดกิจการจากเหตุ COVID-19

158545786838

(4) ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐ หรือผู้รับบำนาญปกติหรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ

*กรุงเทพธุรกิจ - ข้อนี้ชัดเจน หากเป็นข้าราชการ ลูกจ้างในหน่วยงานรัฐ หรือผู้รับเงินบำนาญอยู่แล้ว ไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาจากมาตรการนี้*

(5) เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19)

*กรุงเทพธุรกิจ - เงื่อนไขสำคัญที่สุดคือ ผู้ลงทะเบียนที่มีคุณสมบัติตามข้างต้น จะต้องได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 เช่น ประกอบอาชีพค้าขายอยู่หน้าโรงงานที่ปิดกิจการจากคำสั่งภาครัฐหรือมีผู้ป่วยโควิด ก็ต้องแสดงหลักฐานรูปถ่ายสถานที่ตั้งร้านค้าหรือแผงขายของตนว่าค้าขายที่นั่นจริง และขาดรายได้ในช่วงโรงงานปิด (อ้างอิงคำให้สัมภาษณ์ของนายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ทางเนชั่นทีวี เมื่อ 28 มี.ค.)*

(6) มีบัญชีเงินฝากในสถาบันการเงินใดก็ได้ หรือมีบัญชี PROMPTPAY ที่ลงทะเบียนด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก

(7) ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการฯ ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป

กรุงเทพธุรกิจ - ไม่ต้องรีบสมัคร รัฐบาลยืนยันว่าเปิดให้ลงทะเบียนกันได้เรื่อย ๆ ไม่จำกัดจำนวนคน แต่สมัครได้แล้วต้องรอผลการพิจารณาว่าครบตามหลักเกณฑ์หรือไม่

1.3 รัฐจะสนับสนุนเงิน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ต่อเดือน แก่ผู้มีสิทธิได้รับการชดเชยรายได้ตามข้อ 1.2 แต่ละราย (หนึ่งหมายเลขประจำตัวประชาชนต่อหนึ่งสิทธิ) โดยผู้มีสิทธิจะได้รับการชดเชยรายได้ตามมาตรการฯ ในเดือนเมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน ทั้งนี้ นับตั้งแต่วันที่ลงทะเบียนเป็นต้นไป

กรุงเทพธุรกิจ - ผู้เข้าหลักเกณฑ์จะได้รับเงินเดือนละ 5,000 บาท (เม.ย. พ.ค. และ มิ.ย.) รวมเป็น 15,000 บาท ที่สำคัญ 1 คนต่อ 1 สิทธิ

1.4 ผู้ที่ได้รับสิทธิจะได้รับเงินผ่านบัญชีเงินฝากในสถาบันการเงินที่ได้ระบุไว้ในการลงทะเบียน หรือบัญชี PROMPTPAY ที่ลงทะเบียนด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก

2. ข้อความตกลงยินยอมของผู้ที่ประสงค์จะได้รับสิทธิตามมาตรการฯ

2.1 ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้กระทรวงการคลัง หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้จัดทำระบบให้กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้ให้บริการระบบ www.เราไม่ทิ้งกัน.com จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ข้าพเจ้าได้ให้ไว้ในการลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการฯ

2.2 ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้กระทรวงการคลัง หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้จัดทำระบบให้กระทรวงการคลัง จัดเก็บ ประมวลผล และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ข้าพเจ้าได้ให้ไว้ในการลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการฯ ต่อหน่วยงานของรัฐ ผู้รับให้บริการที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานของรัฐ สถาบันการเงินซึ่งข้าพเจ้าได้ระบุไว้ในการลงทะเบียน และบริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ็กซ์ จำกัด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินมาตรการฯ และมาตรการอื่นของรัฐที่เป็นประโยชน์ต่อข้าพเจ้าในอนาคต

2.3 ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องร้องขอ สอบถาม และใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้า เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามมาตรการฯ

2.4 ข้าพเจ้ารับทราบว่าการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมาย

2.5 ข้าพเจ้าได้อ่าน รับทราบ และตกลงยินยอมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของมาตรการฯ หากข้าพเจ้าไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของมาตรการฯ ข้าพเจ้ายินยอมให้กระทรวงการคลังหรือผู้จัดทำระบบให้กระทรวงการคลังสั่งระงับการจ่ายเงินชดเชยตามมาตรการฯ และตรวจสอบการกระทำดังกล่าว หากตรวจสอบแล้วพบว่าข้าพเจ้ากระทำผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของมาตรการฯ จริง ให้กระทรวงการคลังหรือผู้จัดทำระบบให้กระทรวงการคลังระงับสิทธิในการได้รับเงินชดเชยตามมาตรการฯ และข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินชดเชย ที่ได้รับไปแล้วคืนให้แก่รัฐภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการระงับสิทธิดังกล่าว ตามวิธีการที่กระทรวงการคลังหรือผู้จัดทำระบบให้กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ ให้การตัดสินของกระทรวงการคลังถือเป็นที่สุด

2.6 ในกรณีที่รัฐได้ดำเนินการตามข้อ 2.5 แล้ว รัฐอาจใช้สิทธิในการที่จะดำเนินคดีทางแพ่งหรือทางอาญาต่อไป

ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้ให้ไว้ในการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมมาตรการฯ ถูกต้องตามความเป็นจริง ทุกประการ หากข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการระงับการจ่ายเงินตามมาตรการฯ หรือยินยอมคืนเงินที่ได้รับพร้อมดอกเบี้ย แล้วแต่กรณี

158545858355

*กรุงเทพธุรกิจ - ส่วนเงื่อนไขตั้งแต่ข้อ 2.ลงมา เป็นข้อตกลงยินยอมให้รัฐบาลดำเนินการต่าง ๆ กับตนเองได้ในภายหลัง ซึ่งหลายคนอาจไม่ได้อ่าน หากกดตกลงก็หมายความว่า ยอมให้มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัว สั่งระงับการจ่ายเงินชดเชย หากทำผิดหลักเกณฑ์ และดำเนินคดีตามกฎหมาย หากนำเข้าข้อมูลเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์*

อย่างไรก็ตาม หากผู้ใช้ลงทะเบียนด้วยข้อมูลที่เป็นจริงและมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลใด ๆ และรอรับเงินเยียวยาที่จะส่งตรงถึงบัญชีส่วนตัวในเร็ว ๆ นี้ #เราจะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกัน

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 80
  • ตอนนี้ประชาชนเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า โดยเฉพาะประชาชนหาเช้ากินค่ำ โดยเฉพาะ หาค่ำกินเช้า...คนขับรถรับจ้าง ... พ่อค้าแม่ขาย ยอดขายรายได้ลดลงกันทั้งนั้น...จากมาตรการ ของรัฐทั้งปิดสถานที่ต่างๆ. ขอความร่วมมืออยู่ บ้าน หยุดเชื้อเพื่อชาติ...อย่าเข้มงวดจนเกินไปนัก ทุกคนเดือดร้อนกันจริง ๆ ตอนโควิดยังไม่ระบาด เศรษฐกิจก็ไม่ดีอยู่แล้ว ตอนนี้โดนสถานการณ์โควิดระบาด เหมือนซ้ำเติม ความยากลำบากในการทำมาหากิน ให้หนักหนาสาหัสเพิ่มขึ้นอีก...ให้ประขาชนช่วย ก็ช่วยประชาชนด้วยครับ
    29 มี.ค. 2563 เวลา 10.49 น.
  • yo'shi_103
    น่าจะมีคนลงไปโดยที่ไม่อ่านเป็นล้านคนแล้ว รัฐคงฟ้องร้องไม่ไหว ยกผลประโยชน์ไป
    29 มี.ค. 2563 เวลา 10.35 น.
  • @sittichai@
    ยากมาก กว่าจะได้ แล้วก้ยังไม่ทั่วถึง อีกต่างหาก ชีวิต
    29 มี.ค. 2563 เวลา 10.48 น.
  • Shop อิ่มบุญ
    โซนร้านเราขายแฟชั่น ของสวยงาม เสื้อผ้า รองเท้า นาฬิกา โดนสั่งปิดหมดเลย จะได้เงินช่วยเหลือหรือเปล่าก็ไม่รู้ ของก็ไม่ได้ขาย ค่าเช่าก็ต้องจ่าย ค่าทำความสะอาดอีก แต่โซนร้านขายของสดลงกันทั้งตลาด ไม่รู้รัฐจะช่วยเหลือยังไงเพราะคนลงเยอะมาก
    29 มี.ค. 2563 เวลา 11.09 น.
  • วิทยา คำภูบาล
    ถ้าผมไม่ผ่านก็ไม่เป็นไรครับไม่เอาก็ได้
    29 มี.ค. 2563 เวลา 10.50 น.
ดูทั้งหมด