ไลฟ์สไตล์

ส่องดู.. 4 เมนูของว่างไทย อร่อยระดับอินเตอร์

LINE TODAY ORIGINAL
เผยแพร่ 20 ก.พ. 2564 เวลา 17.00 น. • pp.p

หลังจากที่ได้รวบรวมเมนูชื่ออินเตอร์แต่มีขายในประเทศไทยเท่านั้น สัปดาห์นี้มาว่ากันต่อด้วย 4 เมนูของว่างชื่อดัง ชื่ออินเตอร์ และพบเห็นมีอยู่ในประเทศที่เป็นชื่อของเมนูนั้นๆ จริง

จะมีอะไรกันบ้างมาดูกัน..

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
คุกกี้สิงคโปร์แบบไทย(ซ้าย)  เย่ากั๋วผิง(ขวา) | ภาพจาก pinterest

คุกกี้สิงคโปร์ 

ของว่างตระกูลคุกกี้ที่มีหน้าตาน่ารักขนาดจุ๋มจิ๋ม มีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนคุกกี้ทั่วไปคือสีเหลืองอร่าม กับเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่แปะอยู่ด้านบน ข้อมูลเบื้องต้นที่ค้นพบคือถูกตั้งชื่อจากการที่ต้องใช้แป้งที่สมัยก่อนต้องนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์เท่านั้น แต่ทว่าเมนูนี้หากลองหาในประเทศสิงคโปร์ก็พบว่ามีอยู่เช่นกัน โดยมีชื่อว่า 腰果饼 (yāo guǒ bǐng) อ่านว่า เย่ากั๋วผิง แปลเป็นภาษาอังกฤษคือ Buttery cashew nut cookies หรือคุกกี้มะม่วงหิมพานต์ ลักษณะหน้าตาก็จะคล้ายๆกับคุกกี้สิงคโปร์บ้านเรา ซึ่งของว่างชนิดนี้นิยมรับประทานในช่วงตรุษจีนในประเทศสิงคโปร์ โดยประเพณีความเชื่อของที่สิงคโปร์ถือว่าการเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่จะไม่มีวันสมบูรณ์แบบหากขาดขนมหวาน และเจ้า 腰果饼 ก็คือหนึ่งในเมนูขนมยอดฮิตในช่วงปีใหม่นี่เอง.

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
กล้วยแขก (ซ้าย) - Pazham pori (บนขวา) - Pisang Goreng (ล่างขวา) | ภาพจาก pinterest , wikipedia

กล้วยแขก 

พูดถึง “แขก” อันดับแรกๆ ที่จะนึกถึงคงต้องยกให้ประเทศอินเดีย ซึ่งเจ้า “กล้วยแขก” นี้ก็เป็นอีกหนึ่งขนมไทยที่ว่ากันว่าถือกำเนิดเกิดขึ้นในสมัยอยุธยาโดยคำว่า “แขก” มีความหมายว่า แปลก หรือไม่คุ้น บ้างก็ว่าเป็นอาหารของชาวอิสลามเพราะครั้งโบราณยังไม่นิยมการปรุงอาหารด้วยวิธิการทอดด้วยน้ำมัน และเมื่อค้นหาข้อมูลก็พบกับเมนูที่ชื่อว่า പഴം പൊരി (Pazham pori) ที่แปลง่ายๆว่า “กล้วยทอด” เป็นภาษามลยาฬัมที่ใช้ในแถบอินเดีย, มาเลเซีย และ สิงคโปร์ บ้างก็ว่าคล้ายกับ Pisang Goreng แถบอินโด แต่ความน่าสนใจคือไม่ว่าจะเป็น Pazham pori หรือ Pisang Goreng ก็ล้วนมีกรรมวิธิการทำที่คล้ายคลึงกัน เพียงอาจถูกปรับสูตร เปลี่ยนรสชาติให้ถูกปากตามรสนิยมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแน่นอนว่าเราต้องยกให้ “กล้วยแขก” พี่ไทยอร่อยที่สุด.

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ขนมฝรั่งกุฎีจีน (ซ้าย) - Potingall (ขวา) | ภาพจาก wikipedia และ washingtonpost.com

ขนมฝรั่งกุฎีจีน 

อีกหนึ่งเมนูขนมไทยที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี โดยเป็นขนมที่อยู่คู่กับชุมชนกุฎีจีน ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี เป็นชุมชนของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสตั้งอยู่ที่บริเวณใกล้กับโบสถ์ซางตาครู้ส “ขนมฝรั่งกุฎีจีน” ถูกตั้งชื่อตรงตัวตามแหล่งที่มาและกลุ่มผู้สร้างสรรค์โดยเป็นขนมที่ได้รับอิทธิพลมาจากขนมโปรตุเกสที่ชื่อ Potingall หรือ Portugal Cakes แปลตรงตัวคือเค้กโปรตุเกส หน้าตาก็ละม้ายคล้ายกัน และเป็นขนมอบขนาดเล็กที่ใส่ลูกเกดด้วยเช่นกัน.

เครปญี่ปุ่นแบบไทย(ซ้าย) กับเครปญี่ปุ่นสไตล์ญี่ปุ่น (ขวา) | ภาพจาก pinterest

เครปญี่ปุ่น 

ของว่างที่วัยรุ่นนิยมรับประทาน ด้วยความกรอบของแผ่นแป้งที่โอบอุ้มไส้คาวหวานทานง่ายที่เรียกกันว่า”เครปญี่ปุ่น” ซึ่งในฝั่งญี่ปุ่นนั้นคำว่า “เครป” (クレープ) ออกเสียงแบบญี่ปุ่นว่า “คุเรปุ” ( Kurepu ) ซึ่งก็คือทับศัพท์ของคำว่า crepe (เครป) ในภาษาอังกฤษนี่เอง อันที่จริงแล้วเครปนั้นมีที่มาจากประเทศฝรั่งเศส และได้ถูกนำมาดัดแปลงให้น่ารักตามสไตล์ของญี่ปุ่น โดยแผ่นแป้งเครปในญี่ปุ่นนั้นจะนุ่มนิ่มกว่า แต่ก็ยังสามารถเป็นได้ทั้งของว่างและของหวาน ขึ้นอยู่กับไส้ที่เลือกเช่นกัน และแน่นอนว่าเมนูนี้ก็หาได้ง่ายๆ ตามแหล่งท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น บางร้านต่อคิวยาวเหยียดเลยทีเดียว

อ้างอิงจาก 

milkanddust.com

wikipedia

blogspot.com

rarecooking.com

washingtonpost.com

sites.google.com

ความเห็น 7
  • GARNJANA
    ใช่ ของว่างไทยเหรอ ... งง ... คนเขียนข่าว เขียนไปเรื่อย เขียนยังไงให้ได้คะแนนคนค้านสูงสุด
    12 ก.ย 2565 เวลา 08.51 น.
  • Castillo de la Luna
    เยากั๋วปิ่ง ไม่ใช่เย่ากั๋วผิง ปิ่งตัวเดียวกับขนมเซาปิ่งค่ะ b ในภาษาจีน ออกเสียง ป.ปลา ไม่ใช่ ผ.ผึ้งค่ะ งงกับพาดหัว ของว่างไทย? บางอย่างน่าจะเรียกขนมไทยประยุกต์(จากต่างชาติ)มากกว่า
    26 ส.ค. 2565 เวลา 14.23 น.
  • saansol
    จริงดิ ดูพื้นๆ อะ
    23 ก.พ. 2564 เวลา 03.48 น.
  • praphan_pr
    เครปญี่ปุ่น มันเป็นของว่างไทย ตรงไหนเหรอค่ะ
    23 ก.พ. 2564 เวลา 01.43 น.
  • คุ๊กกี้สิงคโปร์ มีส่วนประกอบแค่ แป้งสาลี+น้ำตาลทราย+น้ำมันพืช ผสมกันทำรูปร่างให้สวยทาไข่แดงแล้วเอาไปอบ.วางเม็ดมะม่วงตกแต่ง มีคุณค่าแค่เม็ดมะม่วง เท่านั้นเอง
    21 ก.พ. 2564 เวลา 22.38 น.
ดูทั้งหมด