ทั่วไป

‘วราวุธ’ แสดงจุดยืนไทยบนเวทีโลกร้อน ยืนยันพร้อมจับมือนานาชาติแก้ปัญหา

The Bangkok Insight
อัพเดต 10 ธ.ค. 2562 เวลา 13.52 น. • เผยแพร่ 10 ธ.ค. 2562 เวลา 13.50 น. • The Bangkok Insight

วันนี้ (10 ธ.ค.) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้านำคณะผู้แทนไทย รวมถึง นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)  และนายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช รองเลขาธิการสผ. เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำ และระดับรัฐมนตรี (High-level Segment) ของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 25 (COP25) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 15 (CMP 15) และการประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ 2  (CMA 2)

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การประชุมครั้งนี้ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงมาดริด สเปน มีผู้แทนระดับสูงจากทุกประเทศเข้าร่วมกว่า 190  ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐมนตรีของประเทศต่างๆ  แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับทิศทางการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก และความคาดหวังในการประชุมครั้งนี้

https://www.youtube.com/watch?v=XjIWRdZJg40&feature=youtu.be

นายวราวุธได้กล่าวถ้อยแถลงในนามประเทศไทย เพื่อแสดงจุดยืนในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและตระหนักถึงผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ  จึงได้มีการบูรณาการเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งในวาระการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ในส่วนของการดำเนินงานนั้น  เมื่อปี 2560 ไทยประสบความสำเร็จในการลดก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 14%  ในภาคพลังงานและขนส่ง หรือคิดเป็น 2 เท่าของเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ไทยกำหนดไว้

นอกจากนี้ ไทยยังพยายามเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกการดำเนินงานภายในประเทศ ด้วยการเพิ่มความสามารถของบุคลลากรในประเทศ และกำหนดโครงสร้างที่จำเป็นในการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งในด้านการลดก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวจากผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อทำให้การดำเนินงานในประเทศสอดคล้อง และตอบโจทย์เป้าหมายความตกลงปารีส

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ตัวอย่างการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ การจัดทำร่างกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฉบับแรกของประเทศ จัดทำยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนา ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ และการปรับปรุงระบบการเงินในประเทศ รวมถึง เสริมสร้างบทบาทของกองทุนสิ่งแวดล้อม ในการสนับสนุนทางการเงินแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน เพื่อจัดทำโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ไทยยังมุ่งมั่นที่จะบูรณาการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับประเด็นสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น การอนุรักษ์ความหลายหลายทางชีวภาพ ลดมลสารช่วงชีวิตสั้นที่ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ (Short-lived climate pollutants) และขยะทะเล

ในฐานะประธานหมุนเวียนอาเซียนในปีนี้ ไทยยังผลักดันบทบาทของอาเซียนในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการจัดทำถ้อยแถลงของอาเซียนสำหรับการประชุมสุดยอด United Nations Climate Action Summit ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถ้อยแถลงดังกล่าวในฐานะประธานอาเซียนในการประชุมเมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐ ทั้งยังจัดทำถ้อยแถลงของอาเซียนสำหรับการประชุม COP 25/CMA 15/CMA 2 ในครั้งนี้ด้วย

นายวราวุธย้ำว่า ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานร่วมกับประเทศต่างๆ ให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้  ภายใต้กลไกความร่วมมือพหุภาคี

“โลกนี้ ไม่ใช่มรดกที่เราได้รับมาจากพ่อแม่ของเรา หรือจากบรรพบุรุษของเรา แต่เรายืมโลกนี้มาใช้จากลูก หลาน และเหลนของเรา ในโอกาสนี้ ประเทศไทยจึงแสดงความตั้งใจอย่างเต็มที่ ที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานเพื่อปกป้องภูมิอากาศสำหรับอนาคตของโลกและลูกหลานของเราทุกคน"

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 25
  • pitak
    แก้ ไทย โรงขยะของโลก ก่อนไหม
    10 ธ.ค. 2562 เวลา 16.38 น.
  • ขยะ
    10 ธ.ค. 2562 เวลา 16.26 น.
  • anopsss
    ที่ดินสปก.ราชรีก่อนไหม?
    10 ธ.ค. 2562 เวลา 16.00 น.
  • chu
    บอกต่างชาติไปด้วยเลยว่าการทำกินในพื้นที่ป่าได้ถ้าถูกตรวจพบก็ให้คืนได้ด้วยอีกนะ รักโลกร้อน
    10 ธ.ค. 2562 เวลา 15.57 น.
  • Werapong
    ถามจริง มึงมีกึ๋นแค่ไหนวะ แค่อ่านตามสคริปต์ที่ใครก็ไม่รู้เขียนให้
    10 ธ.ค. 2562 เวลา 15.56 น.
ดูทั้งหมด