ไลฟ์สไตล์

ศุกร์ (สุข) ละวัด กับ ‘พระมหาเจดีย์ชัยมงคล’

The Bangkok Insight
อัพเดต 02 เม.ย. 2564 เวลา 10.52 น. • เผยแพร่ 02 เม.ย. 2564 เวลา 10.39 น. • The Bangkok Insight

ศุกร์ (สุข) ละวัด พระมหาเจดีย์ชัยมงคล : พระมหาเจดีย์ชัยมงคล พระมหาเจดีย์เหมือนวิมานสวรรค์

วันนี้ได้เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด พาท่านมาสัมผัสกับศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลาง และภาคอีสาน ที่พระมหาเจดีย์ชัยมงคล

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่บริเวณวัดเจดีย์ชัยมงคล ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทางจากตัวเมืองร้อยเอ็ด ประมาณ 80 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ ที่วิจิตรพิสดาร ใช้ศิลปกรรมร่วมสมัย ระหว่างภาคกลาง และภาคอีสาน เป็นการผสมกันระหว่าง พระปฐมเจดีย์ และพระธาตุพนม ใช้งบประมาณก่อสร้างถึงปัจจุบันกว่า 3,000 ล้านบาท ดำเนินการสร้างโดย พระเทพวิสุทธิมงคล (ศรี มหาวีโร) ซึ่งเป็นศิษย์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

พระมหาเจดีย์ชัยมงคลออกแบบโดยกรมศิลปากร เป็นสีขาวตกแต่งลวดลายตระการตาด้วยสีทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศสร้างในเนื้อที่ 101 ไร่ กว้าง 101 เมตร ยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร รวมยอดทองคำเป็น 109 เมตร ใช้ทองคำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม

เราเดินเข้าไประหว่างที่เราอยู่ตรงซุ้มประตูของระเบียงคดเบื้องหน้าของเราคือองค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ที่มีกรอบภาพเป็นโค้งซุ้มประตู ความสวยงามขององค์พระธาตุตัดกับท้องฟ้าที่เป็นสีฟ้าดูแล้วงดงามจับใจเป็นอย่างยิ่งถือว่าเป็นโชคดีของการเดินทางที่เจอท้องฟ้าแบบนี้เหมาะกับการถ่ายรูปเป็นอย่างมาก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เมื่อเดินเข้ามาภายในพระมหาเจดีย์ ผ่านประตูเข้าไป

ชั้นที่ 1 มองเข้าไปเจอสีทองอร่าม ไปทั้งห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ

ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลายไทยวิจิตรพิสดาร

ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานพระประธานอุโบสถ ความสำคัญอย่างหนึ่งของพระมหาเจดีย์ชัยมงคลที่ชั้น 3  คือ ใช้ประโยชน์เหมือนกับอุโบสถ ของวัดอื่นๆ จึงประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระประธาน นอกจากนั้นก็ยังมีรูปพระคณาจารย์ ปราชญ์ อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโน 101 องค์ การตกแต่งภายในไม่ว่าจะเป็นบริเวณเสา ผนัง คาน ขื่อ ล้วนแต่สวยงามลงตัว รวมไปถึงกระจกรอบด้านที่เป็นภาพเขียนสีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา คล้ายกับงานสเตนกลาสของโบสถ์คริสต์

ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสม ถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรีเคยบำเพ็ญธรรมมา

ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วันที่เราเดินทางไปชมกำลังซ่อมแซมอยู่

This slideshow requires JavaScript.

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ดูข่าวต้นฉบับ