“แจกเงินปีใหม่500 บาท” กับ“30 บาทรักษาทุกโรค” ใช้เงินภาษีเหมือนกัน แต่ทำไมเสียงวิจารณ์ถึงต่างกัน?
ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของการเพิ่มสิทธิประโยชน์ เงินอุดหนุนพิเศษ 500 บาทให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือที่มีชื่อเล่นว่า ‘บัตรคนจน’ ว่าเป็นการเผาเงินภาษีดั่งการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ แถมยังเป็นการหาเสียงทางอ้อมของรัฐบาล คสช. ก่อนการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง
หนึ่งเสียงในโลกออนไลน์ก็ตั้งข้อสังเกตขึ้นมาว่า ‘ถ้าการแจกเงิน 500 บาท คือการหาเสียง แล้วโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคล่ะ ไม่ใช่การใช้เงินภาษีไปหาเสียงหรืออย่างไร’
ประโยคดังกล่าวหากมองดูแบบผ่านตาก็คงดูเป็นความจริง เพราะโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 ก็เป็นการนำเงินภาษีของประชาชนไปอุดหนุนระบบสาธารณสุขให้กับคนทั่วไป โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายคือคน ‘รากหญ้า’ (อ้างตามศัพท์การเรียกของพรรคไทยรักไทย ที่เป็นรัฐบาลชุดที่ริเริ่มโครงการนี้) และเป็นนโยบายที่ทักษิณชินวัตรใช้เพื่อหาเสียงและนำไปใช้ในยุคที่เป็นรัฐบาลสมัยแรก
งบประมาณในปีแรกที่อุดหนุนอยู่ที่ 1,250 บาทต่อคน และ 15 ปีผ่านไป งบประมาณอุดหนุน ณ ปี พ.ศ. 2560 อยู่ที่ 3,109.87 บาทต่อคน หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 2.5 เท่า และถ้าคิดเป็นเงินก้อนใหญ่ที่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้รับจัดสรรให้เพื่อบริการประชาชน จะอยู่ที่ 123,465.7804 ล้านบาท
เงินกว่าแสนล้านบาทก้อนนี้ จะถูกเรียกว่าเป็นการใช้ภาษีไปหาเสียงได้หรือไม่?
คำตอบอาจจะต้องมาดูที่ปลายทางว่าใครกันแน่ที่ได้รับประโยชน์จากสิ่งนี้
ย้อนกลับไปสมัยก่อนปี 2545 ที่โครงการ ‘บัตรทอง’ เริ่มต้น การรักษาพยาบาลของคนไทยยังไม่ได้ถูกกระจายให้เข้าถึงได้ทุกคน เวลามีโรคภัยไข้เจ็บ หากเป็นคนที่พอจะมีเงินทุนอยู่บ้าง หรือมีฐานะพอจะซื้อประกันสุขภาพเบิกจ่ายได้ ก็เดินตัวปลิวเข้าโรงพยาบาลได้อย่างสบายใจ ในขณะที่หากเป็นชาวบ้านตาสีตาสา หรือคิดเป็น 30% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศในขณะนั้น ก็ต้องเก็บหอมรอมริบตามมีตามเกิดเพราะรัฐบาลไม่ได้มีหลักประกันสุขภาพใดๆ มารองรับ
หากมีเงินไม่เพียงพอจะรักษาก็ต้องถูกจัดให้เป็นผู้ป่วยสงเคราะห์ หรือผู้ป่วยต้องร้องขอพบผู้อำนวยการโรงพยาบาล ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่จะได้สิทธิ์นั้น ทั้งที่หนึ่งในสิทธิมนุษยชน คือการเข้าถึงการรักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียม
โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค จัดเป็นโครงการประเภท ‘ประชานิยม’ ก็จริงอยู่ แต่หากเรามองคำๆ นี้ในเชิงประโยชน์ในระยะยาวที่ได้รับ ที่ทำให้ประชาชนไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไร ก็สามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพได้อย่างมีศักดิ์ศรีโดยไม่ต้องกังวลถึงค่ารักษา
นโยบายแบบนี้เกิดจากแนวคิดพื้นฐานของการเป็น ‘รัฐสวัสดิการ’ หรือการกระจายรายได้รัฐจากภาษีที่ทุกคนจ่าย (ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม) เพื่อช่วยสนับสนุน แบ่งเบาทุกข์ กระจายสุขให้กับคนอื่นๆ ในสังคม เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศในแถบสแกนดิเนเวียนที่ใช้ระบบนี้มาอย่างยาวนาน
จากข้อมูลในปีงบประมาณ 2558 ประชาชนที่มีสิทธิ์ใช้บัตร 30 บาทอยู่ที่ 48.386 ล้านคน และมีการใช้บริการผู้ป่วยนอกอยู่ที่เกือบ 160 ล้านครั้ง หรือหารแล้วอยู่ที่ประมาณ 3 ครั้งต่อคนต่อปี
อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าโครงการนี้จะถูกยกย่องเป็นดั่งเทวดาเสมอไป เพราะตลอด 15 ปีที่ผ่านมา ก็มีเสียงสะท้อนจากผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ หรือพยาบาล ที่ออกมาวิจารณ์ว่าการมีอยู่ของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้การเข้ามารักษาของประชาชนมากขึ้นโดยไม่จำเป็น เบียดบังความจำเป็นของคนไข้ที่ต้องการการรักษาจริงๆ และทำให้หลายโรงพยาบาลประสบภาวะขาดทุน เนื่องจากจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอกับต้นทุนที่เกิดจากการใช้บริการ
แต่ก็มีแพทย์พยาบาลอีกไม่น้อยที่แสดงความเข้าใจบนพื้นฐานวิชาชีพว่าแม้จะเหนื่อยขึ้น ได้รับเงินเดือนช้าหรือขาดจากชั่วโมงการทำงานจริง แต่การได้รักษาผู้ป่วยรายได้น้อยให้หายจากความเจ็บป่วย โดยไม่ต้องเห็นเหตุผลด้านฐานะที่ยากจนเป็นตัวขวางไม่ให้กล้าเดินทางมารักษา ก็เป็นเหมือนรางวัลในการทำงานเช่นเดียวกัน
หากเรามองนโยบายพื้นฐานที่เป็นสวัสดิการรัฐซึ่งทุกคนควรได้รับ ว่าเป็นเพียงนโยบายที่เกิดขึ้นเพื่อต้องการหวังผลทางการเมือง สิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ในการได้รับการรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย คงไม่สามารถเข้าถึงคนทุกระดับชั้นได้ขนาดนี้
ขณะเดียวกัน ลองเปรียบเทียบกับเงินจำนวน 38,730 ล้านบาท ที่เพิ่มให้กับมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยหนึ่งในนั้นเป็นการให้ของขวัญปีใหม่จำนวน 500 บาทแก่ผู้ถือบัตรจำนวน 14.5 ล้านคน คิดเป็นเงิน 7,250 ล้านบาท
1 ใน 4 ของจำนวนเงินที่อุดหนุนให้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ถูกจัดสรรให้ ‘อย่างไม่มีการระบุเป้าหมายอย่างชัดเจน’ นั่นหมายถึง ประชาชนทุกคนไม่ได้รับเงินนี้อย่างถ้วนทั่ว ไม่มีการตรวจสอบและจำแนกผู้มีสิทธิ์ได้รับ (จากที่เราเห็นภาพในโซเชียลมีเดียที่ใส่ทองไปกดเงิน หรือกดเงินไปกินเหล้า)
มาตรการระยะสั้น ที่สั้นยันระยะเวลา การหมุนเวียนของเงิน 500 บาทที่จะไหลวนเข้าระบบอย่างรวดเร็วไปถึงกลุ่มทุนใหญ่ที่อยู่พีระมิดบนสุดจากการจับจ่าย ไม่ได้ทำให้เงินกระจายในระบบเศรษฐกิจได้อย่างหมุนเวียนอย่างยั่งยืน แม้นายกรัฐมนตรีจะออกมาพูดให้ทุกคนวางแผนการใช้เงิน 500 บาทให้ดีก็ตาม
เมื่อเป็นอย่างนี้ การนำนโยบายประชานิยม - รัฐสวัสดิการอย่างโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ประชาชน ‘ทุกคน (ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสุขภาพอื่นๆ)’ ได้ประโยชน์จากการเสียภาษีของตัวเอง มาเทียบกับการใช้เงินภาษีที่ ‘ทุกคน’ จ่าย เพื่อไปโปรยเงินให้กับคน ‘บางคน’ ย่อมเป็นการเปรียบเทียบที่ผิดฝาผิดตัว เพราะถ้าวัดที่ประโยชน์ระยะยาว กับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยที่ทุกคนควรได้รับ เราคงเห็นว่าอะไรกันแน่ที่ได้ประโยชน์มากกว่า
เว้นเสียแต่ว่าคนที่เปรียบเทียบ สายตาจะสั้นเหมือนชั่วชีวิตของเงิน 500 บาทที่เพิ่งหมดจากตู้เอทีเอ็มเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
เป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกวิธี..ดูดีๆเหมือนหาเสียงก่อนเลือกตั้ง ถ้าท่านไม่ลงเล่นการเมืองก็ขออภัย แต่ถ้าใช่ ผมว่าเหมือนการซื้อเสีบงเลยครับ การแจกๆๆๆๆๆๆ
23 ธ.ค. 2561 เวลา 09.14 น.
วาริน322 มญ.ยุพิน หลุดพ้นแล้ว 30 บาท
23 ธ.ค. 2561 เวลา 06.11 น.
ธ ธงคนนิยม😁😆😂 คนจนๆอย่างเราๆได้500แต่ก็ยังดีที่เราๆได้แดกมั้ง ดีกว่าทีพวก สส มันแดกกันทีนึงเปนร้อยล้านไม่ไปด่าพวกสัตว์แบบนั้นบ้างละครับ 500บาท มันก็เป็นภาษีเราๆอยู่ส่วนนึงด้วยนะไม่ใช่เท่าแต่คุณๆนะที่เสียภาษีเราๆซื้อข้าวสารโลนึงภาษีก็หลายสตังค์อยู่นะคุณคนรวย ปล. จากคนจนทรัพย์สินแต่ไม่จนความคิด😊😊😊😊😊😊
23 ธ.ค. 2561 เวลา 06.00 น.
Rong บัตรคนจนไป.ซื้อของธงฟ้าแล้วมึงรู้ไหมว่าของที่ขายในร้านธงฟ้านั้นมาจากไหนมันก็มาจากโรงงานของเศรษฐีที่ร่ำรวยอันดับหนึ่งของประเทศ
20 ธ.ค. 2561 เวลา 13.49 น.
แจกเงินใครเป็นนายยกก็ทำได้หมดแต่ทำให้ประเทศมีกินมีใช้นี้ซิจะมีสักกี่ท่านที่จะนำพาประเทศมีเงินเหลือกินเหลือใช้
20 ธ.ค. 2561 เวลา 00.25 น.
ดูทั้งหมด