ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

สงคราม Digital Lending แบงก์ปล่อยกู้ออนไลน์ ง่ายขึ้น-ดอกเบี้ยถูก-หนี้เสียต่ำจริงหรือ?

Brand Inside
อัพเดต 19 ก.พ. 2562 เวลา 03.22 น. • เผยแพร่ 19 ก.พ. 2562 เวลา 03.21 น. • Chutinun Sanguanprasit (Liu)
ภาพจาก shutterstock

Digital Lending หรือสินเชื่อออนไลน์ถูกพูดถึงบ่อยครั้ง ที่ไทยมีหลายธนาคารที่กระโดดเข้ามาลองตลาด ทั้งธนาคารกสิกรไทย  ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา แต่ตลาดนี้เวิร์คจริงหรือ?

ภาพจาก shutterstock
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ธนาคารลงทุนต่อเนื่อง หวัง Digital Lending โตติดตลาด

ฐากร ปิยะพันธ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรี คอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิทัลแบงก์กิ้งและนวัตกรรมธนาคารกรุงศรีอยุธยา บอกว่า 2-3 ปีที่ผ่านมา ทางธนาคารลงทุนสร้างระบบรองรับ Digital Lending และเปิดให้ลูกค้าขอสินเชื่อออนไลน์เมื่อปี 2018 คือ สินเชื่อส่วนบุคคล Krungsri iFIN ปัจจุบันมีผู้สมัครราว 30,000 ใบสมัคร และ สมัครบัตรเครดิตกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ ราว 3,000 ใบสมัคร ใน 1 เดือน

ทั้งนี้ Digital Lending ยังเติบโตไม่มาก เพราะเป็นระยะแรกซึ่งเริ่มในกลุ่มลูกค้าเดิมของธนาคารแต่หลังจากนี้หาก Digital ID และ E-KYC (การระบุตัวตนผ่านช่องทางออนไลน์) เกิดขึ้นทางธนาคารจะสามารถเข้าถึงลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยเป็นลูกค้าของแบงก์ได้ ทำให้ Digital Lending เติบโต และเมื่อลูกค้าคุ้นเคยกล้าใช้งาน สินเชื่อนี้จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อย่างไรก็ตาม  Digital Lending ช่วยลดขั้นตอนในการขอสินเชื่อ ทำให้ต้นทุนส่วนนี้สามารถลดลงกว่า 30-40% และเมื่อต้นทุนลดลงในอนาคตธนาคารสามารถลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ถูกลงไปด้วย แต่ดอกเบี้ยเงินกู้จะลดลงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการบริหารความเสี่ยงและหนี้เสีย (NPL) เป็นหลัก“ในอนาคตการให้สินเชื่อจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จากเดิมธนาคารดูว่าจะให้วงเงินลูกค้าได้เท่าไร แต่ตอนนี้เปลี่ยนมาเป็นลูกค้าอยากได้เงินเท่าไร ต่อไปเราจะเห็นวงเงินสินเชื่อที่เล็กลงอาจจะถึงหลักพันบาท ที่จะเป็นทุนหมุนเวียนให้พ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการเงินหมุนในธุรกิจ ซึ่งจะช่วยลดหนี้นอกระบบในอีกทาง”ปี 2019 นี้ธนาคารกรุงศรีฯ เตรียมขยายสินเชื่อออนไลน์ในหลายประเภท ได้แก่ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อยานยนต์ภายในไตรมาส 2 และในไตรมาส 3 จะขยายไปไปที่สินเชื่อบ้านแลกเงิน (ใช้บ้านปลอดหนี้เป็นหลักประกันในการกู้ )

ภาพจาก shutterstock

Digital Lending จะโตได้ ถ้า Digital ID เกิด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จากการรวบรวมข้อมูล Brand Inside พบว่า Digital Lending  ได้รับความสนใจมากในวงการธนาคาร โดยปัจจุบันมีหลายธนาคารให้บริการสินเชื่อออนไลน์ เช่น ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ฯลฯ ซึ่ง พยายามให้สินเชื่อหลากหลายประเภท อาทิ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อ sme  ส่วนใหญ่ ยังเป็นการปล่อยสินเชื่อ ในกลุ่มลูกค้าเดิมของธนาคาร เพราะใช้ข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่เดิมมาวิเคราะห์ความเสี่ยง (ที่จะเบี้ยวหนี้)

อย่างไรก็ตาม Digital Lending จะ สามารถปล่อยสินเชื่อได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทางธนาคารแห่งประเทศไทย สนับสนุนการใช้ information based lending หรือการใช้ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเงินให้แบงก์ใช้ประกอบการพิจารณาสินเชื่อได้ดีขึ้น เช่น ผู้กู้อาจเป็นพนักงานกินเงินเดือนมีรายได้ประจำ แต่ก็มีรายได้ทางอื่นมีธุรกิจเสริม การดูพฤติกรรมในการจ่ายค่าน้ำค่าไฟว่าตรงเวลาหรือไม่ ฯลฯ

อย่างไรก็ตามจากการสำรวจปัจจุบันการขอสินเชื่อออนไลน์  บางธนาคารสามารถขอสินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์แต่ยังต้องมีพนักงานติดต่อทาง Call Center หรือส่งเอกสารมาให้เซ็นตามกฎระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้นปัจจัยหลักที่สนับสนุนให้แบงค์ไม่ต้องรอลายเซ็นลูกค้าบนเอกสาร  คือ Digital ID  และ e-KYC ที่ใช้ระบุตัวตนผ่านช่องทางออนไลน์ หาทั้ง 2 เรื่องนี้เกิดขึ้นจริงภายในปี 2019 จะเห็น ลูกค้าที่เคยเปิดบัญชีกับธนาคารแห่งใดก็ได้ (KYC  หรือพิสูจน์ตัวตนไปแล้ว) สามารถเปิดบัญชีกับธนาคารใหม่โดยไม่ต้องเดินเข้าสาขาของแบงก์ใหม่เพื่อยืนยันตัวตนอีก ที่สำคัญยังสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงธุรกรรม ออนไลน์ที่หลากหลาย เช่น การเปิดพอร์ตหุ้น การขอสินเชื่อออนไลน์ ฯลฯ

สรุป

Digital Lending เกิดขึ้นในต่างประเทศเยอะมาก เช่น ในประเทศจีน Platform e-Commerce นอกจากเป็นเว็บไซต์ขายของ ยังสามารถเสนอสินเชื่อให้ลูกค้า  มี P2PLending (ผู้กู้และผู้ให้กู้สามารถยืมกันได้โดยตรง) ฯลฯ แต่ในจีนก็มีปัญหา Grey Market ที่เกิดจาก Digital Lending ไทยคงต้องเรียนรู้เป็นบทเรียน และเลือกหยิบมาใช้แต่สิ่งที่เหมาะสมกับบริบทของไทย

ดูข่าวต้นฉบับ