ทั่วไป

กรมชลฯ เตือน 9 เขื่อนน้ำวิกฤติ!!

สยามรัฐ
อัพเดต 12 ธ.ค. 2562 เวลา 10.16 น. • เผยแพร่ 12 ธ.ค. 2562 เวลา 10.16 น. • สยามรัฐออนไลน์

กรมชลฯ เตือน 9 เขื่อนน้ำวิกฤติ ส่วนเขื่อนภูมิพลเหลือ14% ประคองใช้ถึงฤดูฝนปีหน้า

เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึง สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ว่า ปัจจุบัน(12 ธ.ค. 62)มีปริมาณน้ำรวมกัน 11,468 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 46 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 4,772 ล้าน ลบ.ม. เพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้น้ำเฉพาะการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศ เท่านั้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทั้งนี้ ในช่วงฤดูแล้งปี 2562/63 ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฤดูได้วางแผนจัดสรรน้ำ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.62 ถึงวันที่ 30 เม.ย.63 ไว้ประมาณ 4,000 ล้าน ลบ.ม. เป็นน้ำต้นทุนจาก 4 เขื่อนหลัก 3,500 ล้าน ลบ.ม. และผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองมาเสริมอีก 500 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบัน (12 ธ.ค. 62) มีการใช้น้ำไปแล้วประมาณ 1,046 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 26 ของแผนจัดสรรน้ำฯ ซึ่งกรมชลประทานจะทำการควบคุมการใช้น้ำให้เป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้อย่างเคร่งครัด ส่วนด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในวันนี้ยังคงการระบายน้ำในอัตรา 80 ลบ.ม.ต่อวินาที เพื่อรักษาระบบนิเวศด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาลงมาจนถึงปากอ่าวไทย

สำหรับแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปีนี้ ได้วางแผนเพาะปลูกพืชทั้งประเทศ รวมทั้งสิ้น 2.83 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปรัง 2.31 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 0.52 ล้านไร่ ปัจจุบัน(ข้อมูล ณ วันที่ 11 ธ.ค. 62) ได้ทำการเพาะปลูกทั้งประเทศรวม 1.46 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 51 ของแผนฯ แยกเป็นข้าวนาปรัง 1.39 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 60 ของแผนฯ และพืชไร่-พืชผักอีก 0.07 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 13 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่มีแผนการเพาะปลูกพืชเนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนมีไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนด้านการเกษตร แต่จากการสำรวจพบว่าบางพื้นที่ได้ทำการเพาะปลูกพืชนอกแผนฯ รวมเป็นพื้นที่ประมาณ 1.15 ล้านไร่ ส่วนใหญ่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ของตนเองในการเพาะปลูก

ทั้งนี้ ขอยืนยันว่า กรมชลประทาน จะดำเนินการจัดสรรน้ำตลอดช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 ให้เป็นไปตามแผนฯอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ และพืชที่ใช้น้ำน้อย ส่วนข้าวนาปรังเนื่องจากปริมาณน้ำมีไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก จึงไม่สามารถสนับสนุนได้ ต้องขอความร่วมแรงร่วมใจจากเกษตรกรลดพื้นที่การเพาะปลูกข้าวนาปรัง รวมทั้ง ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัดและเป็นไปตามแผนการจัดสรรน้ำที่วางไว้ เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียงพอใช้ไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า
 
สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศว่า ปัจจุบัน(11 ธ.ค. 62) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกัน 45,469 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 64 ของความจุเก็บกักรวมกัน โดยมีปริมาณน้ำใช้การได้ 21,988 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 46 ของปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ส่วนสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาณเก็บกักน้ำน้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ ปัจจุบัน(11 ธ.ค.62) มีจำนวน 9 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำเก็บกัก 73 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 28 ของความจุอ่างฯ มีน้ำใช้การได้ 59 ล้าน ลบ.ม. ,อ่างเก็บน้ำจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ มีปริมาณน้ำเก็บกัก 47 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 28 ของความจุอ่างฯ มีน้ำใช้การได้ 10 ล้าน ลบ.ม.,อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น มีปริมาณน้ำเก็บกัก 520 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 21 ของความจุอ่างฯ อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำเก็บกัก 24 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ มีน้ำใช้การได้ 23 ล้าน ลบ.ม.,อ่างเก็บน้ำลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำเก็บกัก 24 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 20 ของความจุอ่างฯ มีน้ำใช้การได้ 21 ล้าน ลบ.ม.,อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำเก็บกัก 286 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ มีน้ำใช้การได้ 283 ล้าน ลบ.ม. 

ขณะที่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่หลายแห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำเก็บกักค่อนข้างน้อยถึงน้อยมาก ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าวจะสงวนไว้ใช้สนับสนุนเฉพาะการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศ เท่านั้น กรมชลประทานจำเป็นต้องบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เป็นไปตามแผนการจัดสรรน้ำฤดูแล้ง ปี 2562/63 ที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่เพียงพอใช้ตลอดฤดูแล้งนี้ต่อเนื่องไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า รวมทั้ง เพื่อรักษาเสถียรภาพของอ่างเก็บน้ำ ลำน้ำ ลำคลอง และระบบนิเวศต่างๆ อีกด้วย 

ทางด้านสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(สสน.) แจ้งเตือนเขื่อนที่มีน้ำใช้การน้อยวิกฤติ เช่น เขื่อนอุบลรัตน์ -3% เขื่อนจุฬาภรณ์ 6% เขื่อนกระเสียว 7% เขื่อนทับเสลา 12% เขื่อนภูมิพล 14% เขื่อนลำพระเพลิง 15% เขื่อนลำนางรอง 17%

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 12
  • พวกมึงทำอะไรกัน พอฝนตกน้ำท่วมทันทีพอหมดฝนน้ำไม่มี มึงทำอะไรถ้าไม่มีปัญญาจัดการน้ำพวกมึงลาออกไปให้หมดไอ้พวกควายรอแต่แดกงบน้ำท้วมน้ำแล้ง เลวจริงพวกมึง
    12 ธ.ค. 2562 เวลา 14.13 น.
  • catz
    คนไทยบอกแล้วไง​ ตูจะใช้น้ำแบบตูเคยใช้​ ไม่พอตูก็ประท้วงสิขอเงิน​ ใครจะเป็นรัฐบาล​ตูไม่สนที่สนเอาเงินมาให้​ตูสิ
    12 ธ.ค. 2562 เวลา 11.34 น.
  • พร
    ใครมีที่ก็ขุดบ่อเพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้เองสมัยก่อนตามบ้านนอกมีบ่อน้ำทุกบ้านเดี๋ยวนี้ถมบ่อหมดรอน้ำประปาอย่างเดียว
    12 ธ.ค. 2562 เวลา 11.34 น.
  • วิถีโคจร กลัดแสง
    ฝนตกน้อยป้าไม้ถูกทำลายพื้นที่ป่าเขาเหลือน้อยไม่มีน้ำฝนเติมเหนือเขื่อนพูดอย่างเป็นธรรมแล้งนานหนาวนานแต่ฝนตกน้อย
    12 ธ.ค. 2562 เวลา 11.33 น.
  • Dodoo1936
    วิกฤตเพราะอะไรล่ะ.....? ประชาชนเขาอยากรู้
    12 ธ.ค. 2562 เวลา 11.28 น.
ดูทั้งหมด