70% ของร่างกายคือน้ำ การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวันนับว่าเป็นสิ่งสำคัญนอกเหนือจากแค่ดื่มให้ได้ครบ 8 แก้วต่อวัน เพราะถ้าเราดื่มน้ำไม่เพียงพอแล้วร่างกายอาจทำงานผิดปกติหรือเจ็บป่วยได้ง่าย แต่ว่าการน้ำที่ดื่มน้ำสะอาดบริสุทธิ์ก็สำคัญ เพราะจะทำสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่ต้องรับสิ่งสกปรกที่เจือปนมากับน้ำด้วย แต่ว่าน้ำที่ดื่มทุกวันนี้สามารถให้ความมั่นใจในการบริโภคได้มากน้อยแค่ไหน เราลองมาเช็คกันดูเลยค่ะ
#5 น้ำประปาดื่มได้
การตรวจเช็คคุณภาพจากโรงผลิตน้ำ
จากการเก็บตัวอย่างโรงผลิตน้ำหลักๆ เช่น โรงผลิตน้ำธนบุรี, โรงผลิตน้ำสามเสน, โรงผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ และโรงผลิตน้ำบางเขน จากการนำตัวอย่างน้ำมาตรวจหาค่าความ ความเป็นกรดด่าง ค่าคลอไรด์ ปริมาณสารที่ละลายทั้งหมด ค่าคลอรีน ค่าจุลินทรีย์ ค่าโลหะที่ตกค้าง ผลการตรวจวิเคราะห์พบว่า ทุกตัวอย่างผ่านมาตรฐานคุณภาพของการประปานครหลวงซึ่งผ่านเกณฑ์คุณภาพเป็นน้ำประปาที่สามารถดื่มได้
ตรวจเช็คท่อและก๊อกน้ำภายในบ้านของคุณอีกที
เพียงแต่น้ำประปาอาจจะมีกลิ่นคลอรีนค่อนข้างแรง ซึ่งสามารถลดกลิ่นคลอรีนได้ โดยการหาภาชนะรองน้ำประปาแล้วเปิดฝาทิ้งไว้ 30 นาที กลิ่นคลอรีนก็จะสามารถลดลงได้แล้ว แต่ทั้งนี้ก็ควรตรวจสอบท่อประปาในบ้านเรือนของคุณเองด้วยว่ามีการรั่วซึมหรือไม่ เพราะอาจจะทำให้เกิดการปนเปื้อนสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคปะปนมากับน้ำประปาที่จะนำมาบริโภคซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
#4 กรองน้ำแทนการต้มน้ำก่อนดื่มปลอดภัยยิ่งกว่า
น้ำประปาที่เราจะใช้ดื่มนั้น ถ้าผ่านการกรองจะมีความสะอาดมีความปลอดภัยกว่าน้ำต้มอยู่หลายส่วน เนื่องด้วยเครื่องกรองน้ำในปัจจุบันได้มีการพัฒนาจากแต่ก่อนที่สามารถกรองได้แต่สิ่งสกปรกและสารโลหะหนักเพียงอย่างเดียว เครื่องกรองน้ำได้มีการพัฒนาให้กำจัดพวกเชื้อแบคทีเรียต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องต้มให้เกิดคราบตะกันหรือเร่งปฏิกิริยาเกิดความร้อนต่างๆ ทำให้น้ำที่ได้รับไม่มีทั้งแร่ธาตุอันตรายและเชื้อราแบคทีเรียต่างๆ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเครื่องกรองน้ำที่เราใช้
ถึงจะขาดแร่ธาตุจากน้ำก็เสริมจากอาหารแทนได้
รวมถึงการบำรุงดูแลรักษาต่างๆ ด้วย เครื่องกรองน้ำบางประเภทสามารถกรองน้ำจนน้ำกลายเป็นน้ำบริสุทธิ์ไม่มีสิ่งอื่นใดเจือปนรวมถึงแร่ธาตุที่ส่งผลดีต่อร่างกาย แต่ก็ไม่ต้องกังวลไปเพราะเราสามารถหาแร่ธาตุเหล่านั้นจากการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวันทดแทนได้
#3 เช็คค่าความเป็นกรด-ด่าง
ถ้าน้ำค่าเป็นกรดมากเกินไป
การดื่มน้ำที่มีค่า pH เหมาะสมกับร่างกายจะอยู่ที่ 7.4-8.5 ซึ่งน้ำที่มีค่า pH เป็นด่างเล็กน้อยจะช่วยปรับสมดุลความเป็นกรดด่างในเลือดได้ ค่าความเป็นกรดด่างนั้นสำคัญกับร่างกายอย่างไร เพราะค่านี้จะส่งผลต่อการทำงานของเลือดในร่างกาย ถ้าค่า pH ในเลือดต่ำความเป็นกรดในเลือดจะสูง ค่าออกซิเจนจะต่ำ แคลเซียมในเลือดจะสูง ส่งผลให้เป็นโรคกระดูกพรุน หลอดเลือดอักเสบเอาได้ การไหลเวียนของเลือดจึงไม่สะดวก
ถ้าน้ำค่าเป็นด่างมากเกินไป
แต่หากว่าค่า pH ในเลือดสูงจะมีค่าความเป็นด่างในร่างกายมากเกินไป ถ้าสารอาหารในเซลล์มีค่า pH สูงขึ้นเป็นอย่างมาก การทำละลายของโซเดียมของคลอไรด์จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งการทำละลายจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีค่า pH 7.35-7.45 จึงจะมีประสิทธิภาพ ซึ่งถ้ามีค่าความเป็นด่างมากเกินไป จะทำให้สารอาหารต่างๆ ไม่ทำการละลาย ไม่มีสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ในร่างกายส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียได้นั่นเอง
#2 ตู้น้ำหยอดเหรียญดื่มได้
จากการตรวจสอบของหน่วยงาน
กรมอนามัยแจ้งการสุ่มตรวจสอบคุณภาพน้ำในปีนี้พบว่า น้ำจากตู้หยอดเหรียญมีคุณภาพที่เหมาะสมสำหรับการบริโภคร้อยละ 40.13 โดยน้ำตู้หยอดเหรียญและบรรจุถัง 20 ลิตรมีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการดื่มบริโภคมากที่สุด
การเลือกตู้น้ำที่เหมาะสมกับการดื่ม
แต่ทางที่ดีแล้วก่อนที่จะใช้เพื่อการบริโภคนั้นควรตรวจดูความสะอาดของตู้ให้ดี เช็ควันที่เปลี่ยนไส้กรอง มองหาสติ๊กเกอร์แจ้งวันเวลาที่มีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบไม่ควรเกิน 6 เดือน และสังเกตน้ำที่ได้ว่าสะอาดดี มีกลิ่น มีสี รสชาติ หรือสิ่งแปลกปลอมใดๆ หรือไม่ ก่อนที่จะเลือกบริโภคค่ะ
#1 หยดทิพย์ อ.32 ทำให้น้ำสะอาดได้
หากว่าขาดแคลนน้ำ จำเป็นต้องนำน้ำจากแม่น้ำลำคลองหรือน้ำบาดาลอื่นๆ มาใช้โดยตรง ควรปรับปรุงคุณภาพน้ำและฆ่าเชื้อโรคก่อน ด้วยการแกว่งสารส้มชนิดก้อนลงในน้ำเพื่อให้มีการตกตะกอนจับตัวที่ก้นภาชนะ หลังจากทิ้งไว้สักพักแล้วก็เทเฉพาะน้ำใสแยกออกมา จากนั้นจึงทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยการใช้หยดทิพย์ อ.32 ของกรมอนามัย ซึ่งเป็นคลอรีนแบบน้ำเข้มข้น 2% ใช้ตามปริมาณที่แนะนำ ทิ้งไว้เป็นเวลา 30 นาทีจึงนำไปเป็นน้ำดื่มได้
น้ำคือสิ่งที่เราต้องรับเข้าสู่ร่างกายอยู่ทุกวัน ถ้าหากว่าเรารับน้ำที่เป็นอันตรายเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะเกิดการสะสมไปเรื่อยๆ ย่อมจะทำให้เกิดความผิดปกติ หรือว่าอาจทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ ดังนั้นแล้วก่อนที่จะดื่มน้ำที่นอกจากน้ำขวด ก็ควรทำน้ำให้สะอาดได้มาตรฐานที่เหมาะสมกับการบริโภคกันด้วยนะคะ
T.cho จะดื่มน้ำจักหน่อย ยังวุ่นขนาดนี้
17 เม.ย. 2562 เวลา 12.03 น.
ดูทั้งหมด