ไอที ธุรกิจ

บอกเลย! พฤติกรรมใช้เงินแบบนี้สร้างแต่หนี้ล้วนๆ

The Bangkok Insight
อัพเดต 14 ก.ย 2562 เวลา 10.54 น. • เผยแพร่ 14 ก.ย 2562 เวลา 10.54 น. • The Bangkok Insight

เผยปัจจุบันคนไทยเป็นหนี้เร็วขึ้น ชี้อายุเพียง 29 ปีเริ่มก่อหนี้ มีหนี้เสีย และเป็นหนี้เยอะขึ้น เตือนหากมีพฤติกรรมแบบนี้ชีวิตมีแต่หนี้แน่นอน!

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า ไตรมาสแรกปีนี้ สถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทย มีมูลค่ารวม 12.97 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 78.7% ต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ซึ่งหนี้สินส่วนใหญ่เกิดจากการอุปโภคบริโภค โดยพบว่ายอดคงค้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) เพื่ออุปโภคบริโภคมีมูลค่า 127,439 ล้านบาท และถ้าดูลึกลงไปจะเห็นว่ายอดสินเชื่อผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนขึ้นไปของสินเชื่อบัตรเครดิตมีมูลค่า 7,322 ล้านบาท

บริษัท ศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เปิดเผยว่าปัจจุบันคนไทยเป็นหนี้เร็วขึ้น อายุเพียง 29 ปีก็เริ่มก่อหนี้ มีหนี้เสีย และเป็นหนี้เยอะขึ้น โดยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปริมาณหนี้สินต่อหัวรวมทุกประเภทสินเชื่อเพิ่มขึ้นจาก 377,109 ล้านบาท เป็น 552,499 ล้านบาท ที่สำคัญเป็นหนี้กันนานขึ้น คือ ภาระหนี้ไม่ได้ลดลง ถึงแม้ว่าอายุจะใกล้วัยเกษียณก็ตาม

ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่าครัวเรือนไทยที่อ่อนไหวต่อปัจจัยลบทางเศรษฐกิจที่กระทบรายได้ (Income Shock) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น หมายความว่า ถ้ารายได้ลดลงแต่รายจ่ายเท่าเดิม ครัวเรือนที่มีหนี้สินอาจมีปัญหาสภาพคล่องในการจ่ายหนี้มากขึ้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ธปท. ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำการสำรวจทักษะทางการเงินของคนไทย เพื่อให้ทราบระดับทักษะทางการเงินและพัฒนาการ โดยใช้แนวทางการสำรวจทักษะทางการเงินขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นประจำทุก 2 – 3 ปี

การสำรวจล่าสุดปี 2559 ครอบคลุมกลุ่มตัวอย่าง 10,876 รายทั้งในและนอกเขตเทศบาลทั่วประเทศ ผลปรากฏว่าคนไทย “สอบตก” ด้านทักษะทางการเงิน โดยจุดอ่อนที่ชัดเจน คือ ความรู้ทางการเงิน พฤติกรรมทางการเงิน และทัศนคติทางการเงิน

ถึงแม้ภาพรวมทักษะทางการเงินของคนไทยปี 2559 มีแนวโน้มดีขึ้นจากปี 2556 แต่สิ่งที่ย่ำแย่ลง คือ พฤติกรรมทางการเงิน เช่น ขาดการดูแลบริหารเงินของตัวเองอย่างใกล้ชิด เบี้ยวหนี้ และขาดสติในการใช้จ่าย และนี่คือตัวอย่างของพฤติกรรมคนไทยที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เก็บเงินต่อเดือนได้น้อยมาก

ถ้าต้องการมีเงินใช้อย่างพอเพียงหลังเกษียณก็จะเริ่มเก็บเงินและลงทุนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มต้นวัยทำงาน แต่ถ้ายังไม่คิดถึงเรื่องการวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณ พอเงินเดือนออกก็จะนำไปใช้จ่ายก่อน บางเดือนใช้จ่ายจนหมด บางเดือนเหลือเก็บไม่กี่บาท

เงินเดือน 20,000 บาท ออมเงิน 800 บาทต่อเดือน หรือมีอัตราการออมต่อเดือนต่ำกว่า 5% อาจตกอยู่ในอันตรายหากตัวเองหรือคนในครอบครัวมีเหตุฉุกเฉินและต้องใช้เงินในทันที แสดงว่ามีพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินเกินตัว

หนี้คงค้างบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

มียอดหนี้บัตรเครดิต 30,000 บาท เลือกจ่ายหนี้อัตราขั้นต่ำ 3,000 บาท จากนั้นนำไปรูดซื้อของ 8,000 บาท จะมีหนี้คงค้าง 35,000 บาท พอถึงวันจ่ายหนี้รอบถัดไปก็จ่ายแบบอัตราขั้นต่ำ 3,500 บาท จากนั้นก็นำไปรูดซื้อของ 10,000 บาท ก็มีหนี้คงค้าง 41,500 บาท

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่จ่ายหนี้บัตรเครดิตด้วยอัตราขั้นต่ำที่เจ้าของบัตรกำหนด ขณะเดียวกันในเดือนถัดไปก็ยังคงใช้จ่ายเต็มที่ผ่านบัตรเครดิต ผลที่ตามมา คือ หนี้คงค้างจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเป็นเช่นนี้อาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงิน เพราะภาระหนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เสพติดการช้อปปิ้ง

ผู้ที่เสพติดการช้อปปิ้ง (Shopaholic) จะมีความต้องการอยากซื้อของตลอดเวลา หรือมีความรู้สึกดีที่ได้เดินดูของ รู้สึกดีเมื่อได้เปรียบเทียบราคา และรู้สึกมีความสุขเมื่อได้ซื้อ โดยผู้ที่มีพฤติกรรมแบบนี้มักใช้เงินเกินความจำเป็น เพราะหลายครั้งซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ บางครั้งซื้อซ้ำแล้วซ้ำอีก ยิ่งทุกวันนี้มีแท็ปเล็ต มือถือ หรือเปิดทีวี ก็สามารถช้อปปิ้งได้สะดวกสบาย ซึ่งผู้ที่มีพฤติกรรมลักษณะนี้มักมีปัญหาเรื่องหนี้สิน

เป็นหนี้ที่ไม่ดีสูงมาก

หนี้แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่

หนี้ที่ดี เป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น กู้เงินเพื่อการศึกษา กู้ซื้อบ้าน

หนี้ที่ไม่ดี เป็นหนี้ที่กู้เพื่อการบริโภค เช่น กู้ซื้อมือถือรุ่นใหม่ รูดบัตรเครดิตเพื่อช้อปปิ้งเสื้อผ้า รองเท้าเป็นประจำทุกเดือน

ในแต่ละเดือนควรมีหนี้ที่ต้องจ่ายรวมแล้วไม่เกิน 35% ของรายได้ เช่น เงินเดือน 20,000 บาท ควรมีหนี้ที่ต้องจ่ายไม่เกิน 7,000 บาท หมายความว่า เงิน 7,000 บาท จ่ายทั้งหนี้ที่ดีและหนี้ที่ไม่ดี อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่มีสัดส่วนการผ่อนชำระหนี้แต่ละเดือนอยู่ในระดับสูงมาก และส่วนใหญ่เกิดจากการก่อหนี้ที่ไม่ดี หากเป็นแบบนี้อาจทำให้มีเงินไม่พอไปใช้หนี้

ไม่ว่าจะมีเงินเดือนหลักหมื่นหรือเรือนแสน ถ้าขาดการวางแผนการเงินที่ดีและใช้เงินอย่างมือเติบ ผลที่ตามมา คือ มีหนี้สินท่วมหัว

หมายเหตุ : บทความนี้เพื่อใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน

ฐิติเมธ โภคชัย

ผู้บริหารงาน ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ลงทุน 

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ขอบคุณตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 17
  • William Noonsuk
    ใช้เงินให้พอทั้งเดือนก็บุญหัวแล้วคนไทยชั่วโมงนี้
    14 ก.ย 2562 เวลา 12.48 น.
  • GNUN
    รายได้เท่าเดิม รายจ่ายเพิ่มขึ้น ข้าวของแพงจะเอาที่ไหนมาเก็บ
    14 ก.ย 2562 เวลา 13.21 น.
  • ⠀ เศรษฐกิจดีไปหมดแล้วครับ 5555. 😇 หนี้ครัวเรือนไทยพุ่งติดอันดับ 11 ของโลก หนี้สินภาคครัวเรือนสูงเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย GDP. จีดีพี ไทยขยายตัวต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และต่ำสุดในอาเซียน ที่อยู่ของข่าวจริง https://www.prachachat.net/finance/news-367082 http://www.ispacethailand.org/political/18448.html
    14 ก.ย 2562 เวลา 12.26 น.
  • สกิลผมมี1,000ใช้2,000 หนี้เลยบานยิ่งกว่าดอกเห็ดทั้งดอกทั้งต้นบาน
    14 ก.ย 2562 เวลา 12.22 น.
  • ☘️🐈‍⬛☘️🙏ในงานศพพ่อ👀🤔😔
    ไม่แคร์ ไม่ใส่ใจ ไม่เที่ยว ไม่ช็อป ใครยืม ใครขอ บอกไม่ให้ มีแต่ไม่ให้ สังคมทุกวันนี้ มันมีแต่พวกจ้องจะเอาเปรียบ ไอ้พวกคนจนแม่งชอบดราม่าแต่วันๆไม่เห็นแม่งทำห่าอะไร แล้วไอ้คนพวกนี้แม่งมีเยอะซะจนน่าตกใจ ไม่แปลกใจที่คนไทยจนติดอันดับโลก เพราะคุณภาพประชากรแม่งต่ำ คืออยู่ด้วยตัวเองไม่เป็น ไม่ขยัน ไม่อดทน ไม่สู้งาน เอะอะก็เงินอย่างเดียว แต่ไม่ทำห่าอะไรที่สำเร็จสักอย่าง โดยเฉพาะพวกสาวๆที่แบมือขอเงินหลอกแดกผู้ชายไปวันๆ พวกนี้แม่งมีเยอะมาก ฟุ้งเพ้อ เสพติดวัตถุ คือพวกนี้แม่งไม่ต่างจากขยะเน่าๆ
    14 ก.ย 2562 เวลา 14.15 น.
ดูทั้งหมด