ทั่วไป

วัคซีนโควิดขาดแคลนไม่ต้องห่วง "หมอยง" ชี้เร่งวิจัยฉีดเข็ม 1และ 2 ต่างชนิด

ฐานเศรษฐกิจ
อัพเดต 06 มิ.ย. 2564 เวลา 02.31 น. • เผยแพร่ 06 มิ.ย. 2564 เวลา 14.30 น. • Thansettakij

รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ยง  ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสเฟซบุ๊ก (Yong Poovorawan) โดยมีข้อความว่า 
    โควิด 19 วัคซีน การให้วัคซีนเข็ม 1 และ 2 ต่างชนิดกัน
    ยง ภู่วรวรรณ
    ในทางปฏิบัติ วัคซีน covid 19 เป็นวัคซีนใหม่ จึงยังไม่แนะนำที่ให้เข็ม 1 และ 2 ต่างชนิดกัน
    ตามหลักทฤษฎี ที่มีการใช้วัคซีนในเด็ก การใช้วัคซีน มีการสลับกันได้ และมีการศึกษามาแล้วทั้งสิ้น เช่นวัคซีนป้องกันท้องเสียโรต้า วัคซีนตับอักเสบเอ ตับอักเสบบี คอตีบไอกรนบาดทะยัก เพราะโดยหลักการ เชื้อโรคไม่รู้หรอกว่าฉีดวัคซีนยี่ห้ออะไร
    ขณะนี้ มีแนวทางการศึกษาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการให้วัคซีนสลับยี่ห้อ ทางศูนย์กำลังเริ่มดำเนินการวิจัย โดยขอทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และจะนำเสนอโครงการวันนี้ การวิจัยไม่น่าจะนานก็จะรู้ผล โดยเข็มแรกให้วัคซีน Sinovac เข็มที่ 2 ให้วัคซีน AstraZeneca และในทำนองกลับกัน เข็มแรกให้วัคซีน AstraZeneca เข็มที่ 2 ให้ Sinovac
    การศึกษาจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ในกรณีเมื่อฉีดเข็มแรกแล้วเกิดแพ้วัคซีน เข็ม 2 จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยน หรือในกรณีที่วัคซีนชนิดใดชนิดหนึ่งขาดแคลน ก็สามารถใช้อีกชนิดหนึ่งได้เลย ไม่จำเป็นที่จะต้องเก็บวัคซีนไว้เข็ม 2  การบริหารวัคซีนจะง่ายขึ้นมาก ทำให้การให้วัคซีนเร็วขึ้น
    จากข้อมูลเบื้องต้น ในผู้ที่แพ้วัคซีน เข็มแรก และไปฉีดเข็ม 2 ต่างชนิดกัน เราพยายามหาผู้ที่ฉีดดังกล่าว ขณะนี้ได้มีการตรวจสอบได้ 5 คน เชื่อว่ายังมีอีกมาก
    จากข้อมูลที่ได้ แสดงในกราฟข้างล่าง จะเห็นว่า  4 รายที่ฉีดวัคซีน Sinovac เข็มแรก และเข็ม 2  ได้รับ AstraZeneca ภูมิต้านทานที่ขึ้นสูงกว่าการได้รับวัคซีนชนิดเดียว Sinovac  2 ครั้ง และทำนองกลับกัน ก็เช่นเดียวกันมีเพียง 1 ราย ที่ได้รับ AstraZeneca แล้วเข็ม 2 ได้ Sinovac อีก 1 เดือนต่อมา ภูมิคุ้มกันที่ขึ้นก็สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย การศึกษาจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย หรืออาการข้างเคียงว่าจะเพิ่มขึ้นหรือไม่
    ท่าการสลับวัคซีน ปลอดภัย จะเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ในยามที่วัคซีนขาดแคลน หรือแพ้วัคซีน และเป็นแนวทางในการที่จะนำมาใช้ในการกระตุ้นเข็มที่ 3  โดยไม่จำเป็นที่จะต้องใช้วัคซีนชนิดเดียวกัน
โครงการทั้งหมดอยู่ในแนวทางการวิจัยของศูนย์ที่ทำอยู่แล้ว คงจะมีการประกาศรับอาสาสมัครเร็วๆนี้ หลังจากที่โครงการผ่านคณะกรรมการจริยธรรม การศึกษาวิจัย 

เปรียบเทียบภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีน 1 เดือน
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

    ความคืบหน้าทั้งหมด จะเรียนให้ทราบ และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
    ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมตัวเลขการฉีดวัคซีนโควิด-19 (Covid-19) ในประเทศไทยจากศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.-5 มิ.ย. 64 พบว่า มีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 4,190,503 โดส แบ่งเป็น เข็มที่ 1 จำนวน 2,845,287 ราย และเข็มที่ 2 จำนวน 1,345,216 ราย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 3
  • เอาจริง..ไม่ได้กล่าวโทษหมอพยาบาล...เพราะประชาชนรู้ถึงความตั้งใจในการทำหน้าที่อย่างดี...สิ่งที่อยากจะฝากไปถึงผู้ใหญ่ในบ้านเมือง...คิดถึงชีวิตประชาชนบ้าง...เวลาออกข่าวสวยหรู เอาจริงจังหวัดละกระจิด เห้อ! กำ 😐
    06 มิ.ย. 2564 เวลา 18.54 น.
  • DD
    ขอบคุณหมอครับที่ทุ่มเทครับ แต่ศูนย์บริหารงานผมว่าการจัดบริหารวัคซีนแย่ครับ (คิดส่วนตัวการเมืองเต็มๆๆครับ)ทำให้พวกคุณหมอและบุคลากรจะโดนต่อว่าเรื่องฉีดวัคซีนครับ
    06 มิ.ย. 2564 เวลา 17.29 น.
  • TIGER & EAGLE
    ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ
    06 มิ.ย. 2564 เวลา 16.29 น.
ดูทั้งหมด