ไลฟ์สไตล์

สรุปสิ่งที่น่าสนใจ ในงานแถลงข่าว LINE NEXPLOSION 2020 ความสำเร็จและก้าวต่อไปของ ‘ไลน์’

The MATTER
อัพเดต 21 ก.พ. 2563 เวลา 06.10 น. • เผยแพร่ 19 ก.พ. 2563 เวลา 07.56 น. • Brief

น้องมูน! พี่หมีบราวน์! กระต่ายโคนี่! หนูแซลลี่!

หลายคนอาจคุ้นชินกับแอพพลิเคชั่น LINE ในฐานะแอพฯ สนทนา แต่ทางไลน์เองก็ต้องการเข้ามาอยู่ในชีวิตของทุกๆ คน มากไปกว่านั้น และเคยประกาศวิสัยทัศน์ life on LINE คือให้แพล็ตฟอร์มต่างๆ ของไลน์สามารถรองรับความต้องการผู้ใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ในวันนี้ 'ไลน์' นำโดย พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ซีอีโอของไลน์และคณะผู้บริหาร ได้จัดงานแถลงข่าว LINE NEXPLOSION 2020 เพื่อพูดถึงความสำเร็จในการประกอบธุรกิจและก้าวต่อไปที่บริษัทอยากจะเป็น The MATTER ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานด้วย จะขอสรุปสิ่งที่น่าสนใจให้ทุกๆ คนได้อ่านกัน

- ยอดผู้ใช้บริการของไลน์ ปัจจุบันอยู่ที่ราว 45 ล้านคน โดยบริการต่างๆ ของไลน์ รองรับการใช้งานทั้งอ่านข่าว ส่งข้อความ ดูละคร สั่งอาหาร พูดคุยกับเพื่อนๆ ฯลฯ พูดง่ายๆ คือ สามารถตอบสนองความต้องการได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเป็น life infrastructure

- สิ่งที่ผู้บริหารไลน์ย้ำบนเวทีคือบริการ LINE TV ซึ่งปี ค.ศ.2019 มียอดวิวรวมกัน 5,800 ล้านวิว จากผู้ใช้งานราว 40 ล้านคน และ LINE Today ที่มียอดวิวรวมกัน 11,700 ล้านวิว หรือเฉลี่ยพันล้านวิวต่อเดือน จากยอดผู้ใช้งาน 45 ล้านบาท

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

- ไลน์มองว่าพฤติกรรมการเสพคอนเทนต์ของคนไทยที่ไม่ต้องการพลาดเรื่องดังๆ ที่กลายเป็นกระแส แต่อยากเลือกด้วยตัวเองว่าจะติดตามคอนเทนต์อะไร ที่เรียกว่า missing out ‘now’ is my option หรือ MONMO ถือเป็นโอกาสในการทำธุรกิจด้านคอนเทนต์ของไลน์ ที่มีทั้ง LINE TV และ LINE TODAY

- ข้อมูลน่าสนใจก็คือ ค่าเฉลี่ยในการอ่านคอนเทนต์บน LINE TODAY (ซึ่งได้จากการจับมือกับสื่อและสำนักพิมพ์ทั้งออนไลน์และออฟไลน์กว่า 260 ราย) ของคนไทยอยู่ที่เฉลี่ย 36,000 บรรทัดต่อปี เทียบเท่าอ่านหนังสือ 19 เล่ม

- ช่วงเวลาที่คนเข้ามาอ่านข่าวใน LINE TODAY มากที่สุดก็คือ ระหว่างเวลา 18.00 - 20.00 น. ตอนเดินทางกลับบ้าน และ 21.00 - 23.00 น. หรือก่อนเข้านอน โดยคอนเทนต์ยอดนิยม ได้แก่ บันเทิง ไลฟ์สไตล์ แฟชั่น สุขภาพ และกีฬา

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

- กลุ่มผู้ใช้งาน LINE TODAY แบ่งตามช่วงอายุ 15-24 ปี 18%, 25-34 ปี 41% ยังมากที่สุด, 35-44 ปี 19% และ 45 ปีขึ้นไปอีก 22% โดยกลุ่มที่โตมากที่สุดคือผู้ใหญ่ ที่โตกว่าปีก่อนถึง 50%

- สิ่งที่ LINE TODAY จะทำต่อไปก็คือการเก็บดาต้าและใช้เอไอประมวลผล เพื่อเลือกเนื้อหาข่าวที่เหมาะกับคนนั้นๆ นอกจากนี้จะปรับดีไซน์ UX/UI ใหม่ทั้งหมดเพื่อให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้ LINE TODAY กลายเป็น personalized infortainment portal จากในอดีตเป็นเพียง news portal

- LINE TV มีผู้ใช้งาน 40 ล้านคน ยอดเวลาดูเฉลี่ยคนละ 176 นาทีต่อวัน โดยช่วงเวลาที่คนดูสูงสุดได้แก่ 12.00 - 14.00 น. 15.00 - 18.00 น. และ 20.00 - 22.00 น. ที่กำลังเพิ่มเติมอยู่คือสร้างประสบการณ์ดูแบบ ‘จอใหญ่’ โดยจับมือกับพาร์ทเนอร์ที่ผลิต Smart TV ติดตั้ง LINE TV ให้เป็นโปรแกรมมาตรฐานของเครื่อง

- ทาง LINE TV ระบุว่า ได้ผลิตออริจินัลคอนเทนต์ (คอนเทนต์ที่ผลิตเพื่อลงช่องตัวเองโดยเฉพาะ) ภาษาไทยมากที่สุด ตลอดห้าปีที่ผ่านมารวม 72 เรื่อง (มีการยกตัวอย่างซีรีส์ ‘One Year 365 วัน บ้านฉัน บ้านเธอ’) และจะผลิตออริจินัลภาษาไทยเพิ่มเติมอีก มุ่งเน้นเพิ่มเติมคอนเทนต์ 3 ด้าน ได้แก่ animation esports และ sit-com พร้อมเปิดชื่อออริจินัลคอนเทนต์ภาษาไทยใหม่อีก 6 เรื่อง อาทิ Mother เรียกฉันว่าแม่, เป็นต่อ Uncensored สำมะเล เพลย์บอย, The Graduate ฯลฯ

- โดยสิ่งที่น่าสนใจคือ ทาง LINE TV จะเรื่มนำออริจินัลคอนเทนต์ภาษาไทยเหล่านี้ไปฉายในประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนด้วย ตั้งแต่ไตรมาสสองของปีนี้ เพราะหวังจะเป็นแพล็ตฟอร์มคอนเทนต์ออนไลน์อันดับหนึ่งของภูมิภาคนี้ในปี ค.ศ.2022

- ระหว่างเปิดตัวออริจินัลคอนเทนต์ใหม่ๆ ของ LINE TV ก็มีการประกาศอยู่เรื่อยๆ ว่า พร้อมขายโฆษณาสำหรับไทอินลงในซีรีส์นั้นๆ ด้วย

- มาถึงช่วงเวลาพูดถึงวิธีหารายได้ ไลน์ระบุว่า LINE TV มีการลงโฆษณาเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 67% ต่อปี ส่วน LINE TODAY เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 150% ต่อปี และมี 3 เรื่องใหม่ๆ ที่ไลน์มานำเสนอ 1. วิธีโฆษณาแบบใหม่ คือ Story Linked ที่โฆษณาเป็นตอนๆ ที่ทดสอบแล้วพบว่าช่วยเพิ่มอัตราการดูโฆษณาจนจบสองเท่าครึ่ง 2. จับมือกับผู้ให้บริการโฆษณานอกบ้าน 2 ราย คือ VGI กับ BMN เชื่อมโยงการโฆษณาออนไลน์และออฟไลน์ และ 3. จับมือกับ Nielsen ประเทศไทย ทำเครื่องมือที่ชื่อว่า LINE Reach Curve ที่จะช่วยวางแผนการโฆษณาบนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นี่คือสิ่งที่น่าสนใจแบบสรุปๆ จากงานแถลงข่าวใหญ่ของไลน์ในวันนี้

พิสูจน์อักษร: วัศพล โอภาสวัฒนกุล

#Brief #TheMATTER

ดูข่าวต้นฉบับ