ไลฟ์สไตล์

‘ขยะอาหาร’ ตัวการเกิดโลกร้อนที่ทุกคนมองข้าม

Mango Zero
เผยแพร่ 28 ม.ค. 2563 เวลา 11.30 น. • Mango Zero

ตอนเด็กๆ ทุกครั้งที่กินข้าว เราคงเคยได้ยินเสียงจากผู้ใหญ่เตือนเรื่องกินข้าวให้หมดอยู่บ่อยๆ ทั้ง “อย่ากินทิ้งกินขว้าง สงสารชาวนาบ้าง” “นึกถึงคนที่เขาไม่มีข้าวกิน” หรือแม้กระทั่งการพูดถึงความเชื่อเกี่ยวกับเจ้าแม่โพสพมาตักเตือนว่าการกินข้าวไม่หมดว่าจะทำให้เจ้าแม่โพสพเสียใจ ซึ่งคำพูดเหล่านั้นก็เป็นกลยุทธ์ในการกระตุ้นให้เรากินข้าวหมด และมันก็ค่อนข้างใช้ได้ผลในวัยเด็ก แต่ผลกระทบจากการกินข้าวเหลือไม่ได้มีแค่เพราะเหตุผลเหล่านั้นหรอกนะ เพราะนอกจากจะกระทบไปถึงเศรษฐกิจโลก แล้วเศษอาหารเหลือเป็นปัญหาใกล้ตัวที่กระทบถึงระดับโลกเลยทีเดียว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ปัจจุบันปริมาณขยะ 1 ใน 3 ของโลก เป็นเศษอาหารเน่าเสีย และคิดเป็น 8 เปอร์เซ็นต์ของการสร้างคาร์บอนทั้งหมดบนโลก ที่เป็นหนึ่งในตัวการที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนนั่นเอง ก่อนจะรู้ว่าขยะอาหารทำให้โลกร้อนได้อย่างไร เราก็ต้องรู้จักคำว่า Carbon Footprint กันก่อน

Carbon Footprint คืออะไร

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หลายคนคงเคยได้ยินคำนี้กัันมาบ้าง แต่น้อยคนที่จะเข้าใจจริงๆ ว่ามันคืออะไรกันแน่ แล้วมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับขยะอาหาร คำว่า “Carbon Footprint” มีทั้งในชีวิตประจำวันของคน และของผลิตภัณฑ์ หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมา ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ผลิต เก็บเกี่ยว แปรรูป ขนส่ง ใช้งาน จนย่อยสลาย รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา

หมายความว่าทุกๆ กิจกรรมที่เราทำแล้วเกิดก๊าซเรือนกระจก ไม่ว่าจะเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือมีเทนก็ตาม ล้วนแต่เป็นการปล่อย Carbon Footprint ที่ส่งผลต่อภาวะโลกร้อนนั่นเอง แน่นอนว่าในกระบวนการผลิตอาหารตั้งแต่ต้นยันจบกระบวนการ ก็มีการปล่อย Carbon Footprint ออกมามากมายเช่นเดียวกัน

กว่าจะมาเป็นอาหารหนึ่งจาน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ก่อนที่จะเป็นอาหารให้เรากินแต่ละจาน ไม่ได้ผ่านแค่กระบวนการเดียว แต่ต้องมองย้อนไปตั้งแต่ต้นกำเนิดของอาหาร ทั้งการเพาะปลูก รดน้ำใส่ปุ๋ย เก็บเกี่ยว เลี้ยงสัตว์ และให้อาหาร ล้วนต้องใช้พื้นที่เยอะ และปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมหาศาล อาจฟังดูโอเวอร์ไปหน่อย แต่รู้มั้ยว่าแค่วัวตดก็เกิดก๊าซมีเทนแล้ว

ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น! เมื่อเราได้วัตถุดิบเตรียมประกอบอาหารแล้ว ก็ต้องเข้ากระบวนการผลิตเพื่อแปรรูปอาหารเพื่อเตรียมส่งไปยังผู้บริโภคอีก ลองนึกภาพโรงงานดูแล้วกันนะ ว่าการผลิตแต่ละครั้งใช้พลังงานและปล่อยมลพิษออกมามากเท่าไหร่ โดยเฉพาะพวกก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เรียกกันว่า Carbon Footprint นั่นแหละ กว่าจะถึงมือผู้บริโภคอย่างเรา ก็ยังต้องผ่านกระบวนการขนส่ง การประกอบอาหารที่ใช้ความร้อน การเผาไหม้ และพลังงานมากมาย ไปจนถึงการย่อยสลาย และเป็นแบบนี้กับอาหารทุกจานที่เรากิน

ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ จะได้สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอาหารแต่ละประเภท ดังนี้

  • เนื้อสัตว์ 56.6%
  • ผลิตภัณฑ์นม 18.3%
  • เครื่องดื่ม 5.9%
  • ปลาและอาหารทะเล 5.8%
  • ไข่ 2.8%
  • ผัก 2.6%
  • ธัญพืช 2.1%
  • ผลไม้ 1.6%
  • อื่นๆ 4.3%

แล้วเศษอาหารเกี่ยวกับโลกร้อนอย่างไร?

อย่างที่บอกว่าในทุกๆ กระบวนการของอาหารใช้พลังงานและปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณค่อนข้างเยอะ เมื่อเรากินอาหารไม่หมด เศษอาหารพวกนั้นก็จะกลายเป็นขยะอาหาร ที่เป็นส่วนหนึ่งในขยะมูลฝอย ลองนึกภาพตามว่าขยะ 1 ใน 3 ของโลก เป็นเศษอาหารเน่าเสีย ที่ถูกกำจัดโดยวิธีการฝังกลบที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซมีเทน ที่มีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนร้ายแรงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่า

ยิ่งเรากินอาหารเหลือมากเท่าไหร่ ขยะอาหารก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้ต้องเพิ่มกระบวนการจัดการขยะอาหารที่นำไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นไปอีก

กินให้ถูก ช่วยโลกได้

เราต้องตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ตามมาจากการกินอาหารเหลือให้ได้ก่อนว่าปัญหาไม่ได้อยู่แค่ที่ส่วนปลายอย่างเศษอาหารเท่านั้น แต่ทุกกระบวนการตั้งแต่จะมาเป็นอาหารจนถึงขยะอาหารที่รอการย่อยสลาย ก็มีส่วนในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

เราสามารถช่วยโลกได้ง่ายๆ จากการวางแผนการบริโภคให้ถูกต้อง ดังนี้

  • เลือกบริโภคอาหารที่ได้รับการรับรองฉลาก Carbon Footprint จากองค์กรที่เกี่ยวข้อง
  • วางแผนการกินให้ดี กินแค่ไหนตักเท่านั้น และไม่ซื้ออาหารมาตุนมากเกินความจำเป็น
  • ถ้ากินเหลือให้ห่อกลับ เพื่อไม่ให้เกิดขยะอาหาร และเป็นการกินอาหารให้คุ้มค่ากับกระบวนการผลิต
  • ลดการกินบุุฟเฟ่ต์ เพราะในแต่ละมื้อของบุฟเฟ่ต์ทำให้เกิดอาหารขยะมากกว่ามื้ออาหารปกติ และอาหารส่วนใหญ่ยังเป็นประเภทโปรตีนที่มีการปล่อย Carbon Footprint เป็นอันดับต้นๆ ในบรรดาอาหารชนิดอื่นๆ
  • เลี่ยงการกินเนื้อบ้างในบางครั้ง อาหารจำพวกโปรตีน ปล่อยคาร์บอนมากที่สุด โดยเฉพาะเนื้อแกะ และเนื้อวัว เพราะการเลี้ยงสัตว์ต้องใช้พื้นที่เยอะ กว่าจะเลี้ยงให้โต จนผลิตและขนส่งมาถึงผู้บริโภค ค่อนข้าง เพราะสัตว์แค่เวลาตดทีก็ปล่อยก๊าซมีเทนแล้ว หากกินเหลือก็จะไม่คุ้มค่ากับคาร์บอนที่ใช้ไปในการเลี้ยงดูและผลิตออกมาเป็นอาหารอีก
  • แยกขยะ และจัดการกับขยะอาหารโดยการนำไปทำปุ๋ย เอาเศษอาหารรวมกันในถังรวมกับขยะมูลฝอย ใช้เป็นปุ๋ยในฟาร์มได้
  • คำนวณค่า Carbon Footprint ในแต่ละมื้ออาหารผ่านเว็บไซต์คำนวณค่า เช่น vegansociety.com, foodemissions.com เพื่อวางแผนในการบริโภคเพื่อให้เกิด Carbon Footprint น้อยที่สุด
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 5
  • maelek
    เกิดง่าย ตายยิ่งยาก กินง่ายตายก็ยาก เรื่องมากสุดๆก็มนุษย์ขี้เหม็นนี่ละ
    28 ม.ค. 2563 เวลา 13.42 น.
  • อุบลรัด สุทินเผือก
    ทำไมไม่รณรงค์ตั้งแต่20ปีที่แล้ววะเรื่องโลกร้อนเนี่ยป่านนี้คงหายร้อนไปแล้วต่อไปถ้าโลกไม่หายร้อนจะกลับมาด่าอีก
    28 ม.ค. 2563 เวลา 13.36 น.
  • winai
    ทุกอย่างที่ว่ามันขัดกับหลักทุนนิยมซึ่งคงไม่มีคนสนใจเพราะผู้ผลิตสินค้ามีแต่จะกระตุ้นให้บริโภค และก็จะไม่ผลิตน้อยลงเพราะผลิตมากต้นทุนต่ำ ด้วยระบบเหล่านี้โลกของเราจึงมีแต่เดินไปหาควสมฉิบหายของธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นกับดักที่มองเห็นแต่ถอดตัวไม่ได้ เพราะประเทศใหญ่ๆจะมองประเทศที่พยายามจะลดเป็นคนทำลายเศรษฐกิจ
    28 ม.ค. 2563 เวลา 13.34 น.
  • อุบลรัด สุทินเผือก
    เดี๋ยวถุงเด๋วอาหารแล้วจะมีไรอีกมะโคตรรำคาญมีปัญหาห่าไรนักหนาวะ
    28 ม.ค. 2563 เวลา 13.32 น.
  • อุบลรัด สุทินเผือก
    บ้าบอคอแตกส้นตีนไรนักหนาอีกหน่อยไม่ต้องแดกไรเลยคงจะจะดี
    28 ม.ค. 2563 เวลา 13.30 น.
ดูทั้งหมด