ทั่วไป

"คำนูณ" พลิกข้อกฎหมายวิเคราะห์ "หุ้นธนาธร" รอดหรือร่วง!

Manager Online
อัพเดต 26 เม.ย. 2562 เวลา 11.04 น. • เผยแพร่ 26 เม.ย. 2562 เวลา 11.04 น. • MGR Online

MGR Online - คำนูณ สิทธิสมาน เปิดข้อกฎหมายละเอียดยิบ วิเคราะห์คำกล่าวหาของ กกต. และข้อต่อสู้ของฝ่ายพรรคอนาคตใหม่ กรณี "หุ้นวี-ลัค มีเดีย" ของ "ธนาธร" ชี้เป็นการยกเอากฎเกณฑ์ตามกฎหมายเอกชนมาใช้กับกฎหมายมหาชน คาด กกต.น่าจะยึดตามหลักฐานราชการมากกว่า

จากกรณีเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2562 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติแจ้งข้อกล่าวหาต่อนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 98(3) และ พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561 มาตรา 42(3) อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง คณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนได้รวบรวมพยานหลักฐานแล้ว มีหลักฐานเบื้องต้นฟังได้ว่า นายธนาธรเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในบริษัทวี-ลัค มีเดีย จำกัด ซึ่งประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ จำนวน 675,000 หุ้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ซึ่งนายธนาธร และตัวแทนของพรรคอนาคตใหม่ได้พยายามออกมาชี้แจงว่า กรณีดังกล่าว นายธนาธรได้ดำเนินการโอนหุ้นให้กับมารดาคือ นายสมพร จึงรุ่งเรืองกิจไปตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2562 แล้ว แต่บริษัทฯ เพิ่งส่งแบบ บอจ. 5 ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 อันเป็นวันหลังวันสมัครรับเลือกตั้ง

วันนี้ (26 เม.ย.) นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ได้วิเคราะห์กรณีดังกล่าวผ่านเฟซบุ๊ก Kamnoon Sidhisamarn โดยระบุว่า กรณีนี้เข้าข่ายการนำเอากฎเกณฑ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 ซึ่งเป็นกฎหมายเอกชน มาใช้กับรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3) และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งมาตรา 42 (3) ซึ่งเป็นกฎหมายมหาชน โดยรายละเอียดของข้อความดังกล่าวมีดังนี้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

##############

ในกฎหมายมหาชนจะยึดถือเกณฑ์ตามกฎหมายเอกชนเพียงใด - ประเด็นสำคัญกรณีหุ้นต้องห้ามของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ


ได้คิดใคร่ครวญประกอบการติดตามข่าวมาต่อเนื่อง ประเด็นข้อกฎหมายหลักที่ต้องพิจารณาในกรณีหุ้นบริษัทวี-ลัคมีเดียของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจคือ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ก.ก.ต.จะยึดถือวันใดเป็นวันโอนหุ้นจริง

1. ยึดวันที่บริษัทฯส่งแบบ 'บอจ. 5' ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ คือ วันที่ 21 มีนาคม 2562 อันเป็นวันหลังวันสมัครรับเลือกตั้ง

หรือ…

2. ยึดถือวันที่มีการโอนกันจริงตามที่ฝ่ายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจกล่าวอ้าง คือ วันที่ 8 มกราคม 2562 อันเป็นวันก่อนวันสมัครรับเลือกตั้ง

นอกเหนือจากรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 98 (3) และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง 2561 มาตรา 42 (3) แล้ว มีข้อกฎหมายสำคัญที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับกรณีนี้คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129

โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรา 1129 วรรคสาม

"มาตรา 1129 อันว่าหุ้นนั้นย่อมโอนกันได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่เมื่อเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นซึ่งมีข้อบังคับของบริษัทกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น

"การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นนั้น ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วยแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะ อนึ่งตราสารอันนั้นต้องแถลงเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันนั้นด้วย

"การโอนเช่นนี้จะนํามาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น"

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และฝ่ายสนับสนุน ยึดถือเวลาตามข้อ 2 โดยมีประมวลแพ่งมาตรา 1129 วรรคสามนี้เป็นฐานสำคัญ

ความหมายตามมาตรา 1129 วรรคสามนี้คือเมื่อมีการจดแจ้งลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท ก็ถือว่ามีผลสมบูรณ์แล้ว ไม่ถึงขนาดต้องส่งแบบ บอจ. 5 แจ้งต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทฯทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะโดยปกติจะแจ้งปีละ 1 ครั้งเท่านั้น

แต่การที่สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นอยู่ที่บริษัทนี่แหละคือปมปัญหาเมื่อนำมาใช้กับกรณีนี้

เพราะโดยทั่วไปแล้วบุคคลภายนอกย่อมยากจะรู้ได้ว่าในระหว่างปีมีการโอนหุ้นกันกี่ครั้ง และเอกสารการโอนหุ้นในแต่ละครั้งก็ยากที่จะรู้ได้แน่นอนว่าเป็นจริงตามวันที่ในเอกสารหรืออาจจะมีการทำขึ้นย้อนหลังหรือไม่

ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายโดยตรง

โดยเฉพาะกฎหมายแพ่ง

แต่มีหลักคิดผุดขึ้นมาว่ามาตรา 1129 วรรคสามคือเหตุผลของกฎหมายแพ่ง ซึ่งเป็น 'กฎหมายเอกชน' มีวัตถุประสงค์ในการวางกฎเกณฑ์ในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่อบุคคลที่ได้รับการสันนิษฐานว่ามีความเท่าเทียมกัน ทำมาค้าขายกัน ซึ่งจะต้องใช้ความระมัดระวังตนเองกันตามสมควร รัฐไม่ควรวางกฎเกณฑ์ที่อาจจะสร้างภาระให้แต่ละฝ่ายมากเกินไป

คำถามคือจะเอากฎเกณฑ์ตาม 'กฎหมายเอกชน' มาใช้กับ 'กฎหมายมหาชน' ได้แค่ไหน เพียงใด

โดยเฉพาะ 'กฎหมายมหาชน' ในระดับรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่วางกฎเกณฑ์ 'ลักษณะต้องห้าม' ของบุคคลที่จะเข้าสู่อำนาจรัฐ

ผมเชื่อโดยบริสุทธิ์ว่ากฎเกณฑ์ 'กฎหมายเอกชน' นั้นไม่สามารถนำมาใช้เป็นกฎเกณฑ์ทาง 'กฎหมายมหาชน' ได้ทั้งหมด หากแต่สามารถนำมาใช้ได้เฉพาะบางประการที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อการทำหน้าที่ขององค์กรที่ทำหน้าที่ในทางมหาชนเท่านั้น

เพราะวัตถุประสงค์หลักของกฎหมายทั้ง 2 ลักษณะแตกต่างกัน

กฎหมายมหาชนมุ่งคุ้มครองมหาชนที่ประกอบด้วยบุคคลมีระดับความรู้ความสามารถและสถานะแตกต่างกัน รัฐจำเป็นต้องให้ความคุ้มครองบุคคลส่วนใหญ่ที่ด้อยโอกาสกว่า ซึ่งแตกต่างโดยพื้นฐานกับกฎหมายเอกชนที่รัฐเพียงวางกฎเกณฑ์สำหรับการทำมาหากิจของบุคคลที่ได้รับการสันนิษฐานว่าเท่าเทียมกัน รัฐไม่ควรเข้าไปก้าวก่ายมากเกินความจำเป็น

กลับมาสู่กรณีธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ…

ในกรณีนี้ 'คนภายนอก' ตามประมวลแพ่งมาตรา 1129 วรรคสาม เป็นองค์กรอิสระนาม 'ก.ก.ต.' ที่ทำหน้าที่สำคัญยิ่งตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในการกลั่นกรองบุคคลที่มี 'ลักษณะต้องห้าม' ออกไปจากการเข้าสู่อำนาจรัฐ !

มิหนำซ้ำ 'ลักษณะต้องห้าม' นี้ยังมีโทษค่อนข้างแรง !!

ถามว่าถ้าจะยึดถือประมวลแพ่งมาตรา 1129 เป็นเกณฑ์อย่างเคร่งครัด ก.ก.ต.จะรู้ได้อย่างไรว่าธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจยังคงถือหุ้นที่มี 'ลักษณะต้องห้าม' อยู่หรือไม่ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 อันเป็นวันสมัครรับเลือกตั้ง ในเมื่อเอกสารแบบ บอจ. 5 ที่ทางราชการรับทราบการโอนหุ้นของเขาเป็นครั้งแรกคือวันเวลาตามข้อ 1 วันที่ 21 มีนาคม 2562 หลังวันสมัครรับเลือกตั้งแล้ว ก.ก.ต.จะไปรู้ถึงการโอนหุ้นตามข้อ 2 ที่มีการกล่าวอ้างว่าเกิดขึ้นในวันที่ 8 มกราคม 2562 ได้อย่างไร โดยเฉพาะเมื่อเกิดการโต้แย้งแตกแขนงไปอีกหลายประเด็นว่าการโอนหุ้นในวันนั้นเกิดขึ้นจริงหรือไม่

กฎเกณฑ์ทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสาม จึงไม่น่าจะนำมาหักล้างกับรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3) และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งมาตรา 42 (3) ได้ทั้งหมด

เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เชื่อว่าก.ก.ต.น่าจะต้องยึดถือระยะเวลาตามข้อ 1 ตามเอกสารที่ปรากฎต่อราชการเป็นหลัก

กล่าวคือยึดตามแบบ บอจ. 5 ที่ปรากฎเป็นครั้งแรกต่อทางราชการ

นั่นคือวันที่ 21 มีนาคม 2562 อันเป็นวันหลังวันสมัครรับเลือกตั้ง


ทั้งหมดนี้ พยายามพูดตามความเข้าใจด้วยภาษาชาวบ้่านที่พอเรียนพอรู้กฎหมายอยู่บ้างเท่านั้น ที่ลองตั้งประเด็นขึ้นมาเพราะเห็นว่าน่าสนใจในทางวิชาการ

ข้อยุติ จะอยู่ที่ผู้มีอำนาจหน้าที่โดยตรง

คือ ก.ก.ต.ในเบื้องต้น

และศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งหรือศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณีในท้ายที่สุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> “คำนูณ” ยกกฎหมายแพ่งฯ ม.1129 ตั้งคำถามหุ้นสื่อ “ธนาธร” จะรู้ได้อย่างไรว่าขายทิ้งก่อนสมัครรับเลือกตั้งจริง

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 18
  • KingKorat
    ยังไงมึงก็ผิดเพราะตายด้วยหลักฐาน ศาลเขาติดสินด้วยหลักฐานไม่ใช่มวลชนมึงอย่ามั่ว ถ้ามึงปลุกกระแสมวลชนก็รีบๆหน่อยกูรอไปกระทืบมวลชนของมึงไม่ไหวแล้ว กล้าๆหน่อยแล้วจะรุ่ง
    27 เม.ย. 2562 เวลา 00.25 น.
  • Pitak
    ในเนื้อหาเขากำลังตรวจสอบว่าธนาธรโอนหุ้นจริงๆวันไหนตามผู้ร้อง..ส่วนจะแจ้งจดต่อนายทะเบียนนั้นตามกฏหมาย..ก็ต้องประกอบกันไป...เพราะหลักฐานที่ผู้ร้องให้ตรวจสอบมีหลายอย่างที่ไม่สอดคล้องกัน..ว่าโอนก่อนหรือหลังรับสมัคร..อันนี้สำคัญกว่า..
    26 เม.ย. 2562 เวลา 13.55 น.
  • Vanida
    อ่านแล้วแตกฉานทางปัญญามากขึ้นค่ะ ที่วิเคราะห์มาเป็นเหตุเป็นผลดี ในขณะที่ของคุณธีรชัยเท่าที่อ่านจะอยู่ในวงแคบกว่า สุดท้ายน่าจะไปจบที่ศาล เพราะคงจะใช้กม.คนละแง่
    26 เม.ย. 2562 เวลา 13.13 น.
  • Chai.
    เขาดูที่เจตนานะครับที่ดูมาเขาก็โอนจริงๆครับฝ่ายตรงข้ามจะมองไปอีกทางถ้าธนาธรผิดคนอื่นอีกครึ่งสภาจะรอดไหมโดยเฉพาะพรรคเพื่อ
    26 เม.ย. 2562 เวลา 13.00 น.
  • Akom
    เอาทุกอย่างเลยเนอะหาข้ออ้างมาเท่าที่จะทำได้ เขาก็รู้ว่านูนอยู่ฝ่ายไหนเลียเผด็จการสุดๆมุ่งหวังให้เผด็จการเลือกจิ้มเป็นสว.ลากตั้ง ลงให้ปชช.เลือกคงแพ้ทุกที เลียเผด็จการดีกว่า ง่ายดีน่ะนูน
    26 เม.ย. 2562 เวลา 12.46 น.
ดูทั้งหมด