ทั่วไป

เปิดคำพิพากษาลงโทษ 'พระพรหมกวี' สั่งบูรณะศาลาราย โบราณสถานไม่ชอบ

กรุงเทพธุรกิจ
เผยแพร่ 25 เม.ย. 2562 เวลา 15.00 น.

นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าที่ยื่นฟ้อง พระพรหมกวี เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ย่านธนบุรี และเจ้าคณะภาค 13 ว่า เมื่อวันที่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้อ่านคำพิพากษา ในคดีที่พนักงานอัยการสำนักงานปราบปรามการทุจริต 3 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พระพรหมกวี เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ย่านธนบุรี เป็นจำเลย คดีหมายเลขดำ อท.34/2562 ในความผิด พ.ร.บ.วัตถุโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 4,8,10,32,35 พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2504 มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84

ซึ่งอัยการยื่นฟ้อง เมื่อวันที่ 21 ก.พ.62 ภายหลังพนักงานสอบสวน สน.บุปผาราม รวบรวมสำนวนพยานหลักฐานพร้อมความเห็นควรฟ้อง ส่งพนักงานอัยการ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โดยศาลอาญาคดีทุจริตฯ มีคำพิพากษาว่า จำเลย มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และพ.ร.บ.วัตถุโบราณสถานฯ มาตรา 10 , 32 วรรคสอง , 35 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 84 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดให้จำคุก 3 ปี และปรับ 60,000 บาท

จำเลย ให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุลดโทษให้ครึ่งหนึ่ง จึงจำคุก 1 ปี 6 เดือนและปรับ 30,000 บาท และเมื่อคำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติและสติปัญญา การศึกษา และอาชีพ สิ่งแวดล้อม ของจำเลยซึ่งเป็นพระภิกษุ เป็นผู้ปฏิบัติตนอยู่ในศีล ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหลวง เพื่อทำการปรับปรุงพัฒนาวัดและยังจัดตั้งโรงเรียนสงฆ์อีกด้วย การที่จำเลยบูรณสังขรณ์วัด ทำให้ทัศนียภาพของกุฏิสงฆ์ ศาลารายภายในวัดสวยงาม ตลอดจนภาพลักษณ์ของวัดมีความปลอดภัยมากขึ้นสมกับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวประจำชาติไทย ประกอบกับไม่มีเรื่องของการทุจริตหรือแสวงหาประโยชน์ส่วนตน และไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงเห็นสมควรให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี

ผู้สื่อรายงานว่า สำหรับคดีนี้ ฟ้องของอัยการโจทก์ บรรยายพฤติการณ์สรุปว่า ระหว่างวันที่ 17 ก.พ.-13 มี.ค.58 ขณะที่จำเลย เป็นเจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตรฯ ซึ่งเป็นตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์ เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฯ มาตรา 45 โดยจำเลย มีหน้าที่บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและสาธารณะสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดีถูกต้องตามกฎหมาย ได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยร่วมกับพวกซึ่งแยกไปดำเนินคดี และก่อให้ด้วยการใช้จ้างวานยุยง ส่งเสริมให้ นายฉลอง ไทยขำ จำเลยในศาลอาญาธนบุรี คดีอาญา หมายเลขแดง 2364/2559 (ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษไปแล้ว) กับพวกอีกหลายคนซึ่งยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ทำลาย ทำให้เสียหาย ทำให้เสื่อมค่า และทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งกุฏิคณะ1จำนวน 1 หลัง และศาลาราย 1 หลังอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ภายในวัดกัลยาณมิตรฯ เป็นโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ซึ่งการที่จำเลยกับพวก ร่วมกันก่อให้นายฉลองกับพวกร่วมกันทุบทำลายให้เสื่อมค่ากุฏิสงฆ์คณะ1 และศาลารายดังกล่าวที่เป็นโบราณสถานซึ่งขึ้นทะเบียนแล้วให้เสียหาย โดยไม่รับอนุญาตเป็นหนังสือ และไม่ใช่การทำตามคำสั่งจากอธิบดีกรมศิลปกร ทำให้เกิดความเสียหายแก่กรมศิลปากร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ด้านการคุ้มครองดูแลรักษา ซ่อมแซมหรือกระทำการใดอันเป็นการบูรณะ หรือรักษาไว้ให้คงสภาพเดิมซึ่งโบราณสถาน เพื่อเป็นประโยชน์คุณค่าในทางศิลปะประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดีอันเป็นทรัพย์มรดกที่มีค่ายิ่งของชาติ ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.โบราณสถานฯ การกระทำของจำเลย จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 5
  • ไอ้เวรกรมศิลป์ มันดูแลจริงๆ หรือปล่าว ถ้าของเก่าปล่อยให้เก่าไปไม่ต้องดูแล ปรับปรุง ก็ยุบดรมนี้ไปซ้ะ ดูอย่างเดียวใครก็ดูได้
    25 เม.ย. 2562 เวลา 21.59 น.
  • การรพิจรณาให้รอบครอบถึงในวัตถุประสงค์เหตุและผลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงก่อนที่จะสรุปนั้นย่อมที่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด.
    25 เม.ย. 2562 เวลา 21.55 น.
  • ต้อ
    ผมสลดใจกับคดีนี้มาก ขอให้คนฟ้องมันฉิบหาย
    25 เม.ย. 2562 เวลา 21.51 น.
  • koblove
    มือที่มอง0​0​.... ช่วงนี้ฝนตกดูแลสุขภาพครับ
    25 เม.ย. 2562 เวลา 17.24 น.
  • PJ IT CENTER
    ไม่ค่อยดีเลยเอา. มนุษย์ถือศีล5ยังขาดๆเกินๆ มาตัดสินพระ. ลักษณะแบบนี้..ถ้าพระผิดวินัยควรให้เป็นไปตามพระวินัย..ถ้า ผิดการเงินการทองของวัดควรให้กรรมการวัดรับผิดชอบไปถ้าพระผิดปาราชิก..กะขาดจากพระโดนพระวินัยอยผุ่แล้ว..หรือควรมี ศาลพระ. ขึ้นมาอีก1ศาล. ไปเลย
    25 เม.ย. 2562 เวลา 16.28 น.
ดูทั้งหมด