ทั่วไป

‘ชิม ช้อป ใช้’ เฟส 2 แจกต่อ 1,000 บาท ให้สิทธิ 3 ล้านคน

ข่าวช่องวัน 31
อัพเดต 22 ต.ค. 2562 เวลา 08.17 น. • เผยแพร่ 22 ต.ค. 2562 เวลา 08.13 น. • one31.net

ครม.อนุมมัติหลักเกณฑ์ มาตรการ ชิม ช้อป ใช้ เฟส 2 ให้สิทธิ 3 ล้านคนลงทะเบียนรับ 1,000 บาท เริ่ม 24 ตุลาคมนี้…

นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักเกณฑ์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยระยะสั้น 3 เดือนมีทั้งหมด 12 กิจกรรม เช่นการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของนักท่องเที่ยวต่างชาติ, การหักรายจ่าย 2 เท่าของบริษัทในการอบรมสัมมนาในประเทศ, มาตรการทางด้านวีซ่า ขยายการเปิดด่านชายแดน 24 ชั่วโมง ระหว่างชายแดนไทย-ลาว และชายแดนไทย-มาเลเซีย, Amazing Thailand Grand Sale รวมถึงมีการส่งเสริมการประชุมของภาครัฐ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ส่วนมาตรการระยะกลางและระยะยาวจะเริ่มตั้งแต่ปี 2563 มี 5 กิจกรรมเช่น การเพิ่มจำนวนแหล่งท่องเที่ยวทางมรดกโลก, ส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสถานที่พักแรม, การจัดกิจกรรมระดับโลก อาทิ งานทูมอร์โรว์แลนด์, อเมซิ่ง ไทยแลนด์ มาราธอน รวมทั้งหมด 17 กิจกรรม

ส่วนมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของปี 2562 ในระยะที่ 2 ทั้งสิ้น 4 มาตรการ คือมาตรการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ หรือ ชิม ช้อป ใช้ ซึ่งจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนจำนวน 3 ล้านคน เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคมนี้ โดยจะเปิดให้ลงทะเบียนวันละ 1 ล้านคน ส่วนเรื่องเวลาและรายละเอียดกระทรวงการคลังจะเป็นผู้แถลงชี้แจงอีกครั้ง และจะขยายมาตรการ ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 จากที่จากเดิมจะสิ้นสุด วันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 โดยผู้ลงทะเบียนใหม่ทั้ง 3 ล้านคนจะได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับผู้ลงทะเบียน 10 ล้านคนแรก คือ รัฐบาลจะสนับสนุนวงเงินในการซื้อสินค้า ผ่านแอปพลิเคชั่น ในวงเงินคนละ 1,000 บาท และผู้ลงทะเบียนจะเติมเงินในการใช้จ่าย จะได้รับ Cash Back หรือเงินชดเชยคืนเป็นจำนวนเงินร้อยละ 15 ของยอดเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 4,500 บาท ต่อคน ในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ส่วนมาตรการที่เพิ่มเข้ามาของ ชิม ช้อป ใช้ หากใช้จ่ายระหว่าง 30,000 ถึง 50,000 บาท จะได้รับ Cash Back 20% แต่ไม่เกิน 4,000 บาทต่อคน โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 3 พันล้านบาท แบ่งเป็น 2 พันล้านบาท มาจากงบกลางที่ ครม.อนุมัติวันนี้ ส่วนอีก 1,000 ล้านบาท มาจากงบของ ททท.ซึ่งเคยอนุมัติไปก่อนหน้านี้

นอกจากนี้ยังมีมาตรการลดภาษีเพื่อที่อยู่อาศัย โดยลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอนจากเดิมร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 และ ลดค่าทะเบียนจำนอง จากเดิมร้อยละ 1 เหลือร้อยละ0.01 โดยเป็นการลดเฉพาะ การซื้อขายที่อยู่อาศัยพร้อมอาคารห้องชุดในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยจะต้องโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 2,652 ล้านบาท จากการปรับลดค่าธรรมเนียม โดยมาตรการนี้จะสิ้นสุดวันที่ 24 ธันวาคม 2563

มาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. เพื่อบรรเทาภาระประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ในราคาที่ไม่สูงมากไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยรัฐจะช่วยเรื่องของดอกเบี้ย โดยตั้งกรอบวงเงินสินเชื่อไว้ที่ 5 หมื่นล้านบาท ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยร้อยละ2.5 ต่อปี ปีที่ 4-5 ดอกเบี้ยร้อยละ 4.625 และปีที่6 ขึ้นไป ดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR -0.75 โดยรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยหรือค่าส่วนต่างให้กับธอส.ในจำนวนเงิน 1,182 ล้านบาท ใช้งบประมาณของปี 2563

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

มาตรการสุดท้ายคือการเร่งรัดการเบิกจ่ายการสัมมนาฝึกอบรม ซึ่งจะทำให้เม็ดเงินในภาครัฐที่ใช้จ่ายอบรมสัมมนาเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง.

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 2
  • Tosapol
    เงินไม่ได้หมุนเวียนเลยสักนิด ไปกองอยู่กับนายทุนหมด แย่กว่าจำนำข้าวซะอีก
    22 ต.ค. 2562 เวลา 10.21 น.
  • Banchong
    ตาสีตาสา คนที่ไม่มี สมาร์ตโฟน ต้องทำไง อดแดกรึ หรือมึงไม่ใยดีอะไรหรอก? แล้วบอกว่าอาสาเข้ามารับใช้ ปชช.ทั่วประเทศ ควายๆๆๆ ถ้ากูนะจะเอาเงินเดือนแค่ครึ่งเดียวเท่านั้นแหละ ส่วนที่เหลือกูจะเอาเข้าบัญชีให้ ปชช.ที่มาลงทะเบียนยากจนทุกเดือนละ 500฿ต่อคน นี่ก็ได้ตั้ง 1,000 รายแล้ว ถ้า สส.กับ สว.รวมกันทำแบบนี้ ทุ่นงบแผ่นดินไปตั้งเยอะ / นโยบายบ้าๆให้แต่คนมีเงินได้ใช้ ไม่แฟร์ๆๆๆๆๆ
    22 ต.ค. 2562 เวลา 09.40 น.
ดูทั้งหมด