โควิด-19 ในยุคแรกมาพร้อมกับความวิตกกังวล ในเรื่องผลกระทบต่อปอดหรือระบบทางเดินหายใจจนเมื่อมีสายพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้น ในปัจจุบันยังพบอย่างน้อย1ใน3ของผู้ป่วยมีอาการ "ปอดอักเสบ"
โครงการ “RAMAAI” หรือ “ระไม” คือผลผลิตของความร่วมมือและตั้งใจจากทีมบุคลากรทางการแพทย์และทีมผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีที่ไม่ย่อท้อต่อวิกฤติโควิด-19ที่ทำให้โลกแทบหยุดหมุนโดยมีเป้าหมายหลักเดียวกันคือเพื่อเป็นตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้การวินิจฉัยรักษา “ปอดอักเสบ” จาก COVID-19 เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในช่วงการระบาดอันเป็นภาวะวิกฤติของประเทศ
ในทันทีที่ผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการที่บ่งชี้หรือสงสัยภาวะ “ปอดอักเสบ” จะถูกส่งถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์เพื่อส่งต่อให้รังสีแพทย์ให้ประกอบการวินิจฉัยซึ่งหากพบการติดเชื้อที่ปอดผู้ป่วยจะต้องเปลี่ยนแนวทางการรักษาโดยมุ่งรักษาที่อาการปอดอักเสบก่อนเป็นอันดับแรก
ดังนั้นขั้นตอนดังกล่าวจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดซึ่งรังสีแพทย์และแพทย์ผู้ให้การรักษาจะรอช้าไม่ได้หากเป็นนาทีวิกฤติแห่งความเป็นและความตาย
ทีมอาจารย์แพทย์ประจำภาควิชารังสีวิทยาคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีนำโดยอาจารย์แพทย์หญิงชญานิน นิติวรางกูร ได้ร่วมกับภาควิชาระบาดคลินิกและชีวสถิติคณะแพทยศาสตร์ "โรงพยาบาลรามาธิบดี" และภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลสร้างสรรค์และพัฒนา“RAMAAI”ขึ้นเพื่อต่อชีวิตผู้ป่วยด้วยการนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์(AI)มาช่วยทำให้รังสีแพทย์ทำงานได้ง่ายขึ้นสะดวกรวดเร็วมากขึ้นผ่านเว็บไซต์และLINE BOTซึ่งได้ช่วยทำให้โอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
โดยสามารถนำไปใช้ทั้งในระบบโรงพยาบาลและแพทย์สนามพัฒนาขึ้นจากฐานข้อมูลของผู้ป่วยจากทั่วโลกเทียบเคียงกับข้อมูลผู้ป่วย "โรงพยาบาลรามาธิบดี" ที่คอยupdateอย่างต่อเนื่องซึ่งรับรองผลได้ถึงความถูกต้องและแม่นยำ
สะดวกทั้งในระบบweb-basedโดยการนำภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์ของผู้ป่วยที่เชื่อมต่อจากห้องถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์มาดาวน์โหลดเพื่อให้AIในระบบได้ประมวลผลแสดงให้แพทย์ได้ใช้ประกอบการวินิจฉัยได้ในทันทีหรือจะส่งภาพปรึกษาผ่านLINE BOTก็ย่อมได้
ติดตามกระแสโซเชี่ยลเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/komchadluek/
อาจารย์ดร.สุเมธ ยืนยง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลผู้ดูแลฝ่ายเทคนิคกล่าวเสริมว่าจุดเด่นของ“RAMAAI”อยู่ที่การออกแบบให้ใช้งานง่ายแม้แต่แพทย์ที่ไม่ได้มีความชำนาญเฉพาะด้านรังสีวิทยาก็สามารถใช้งานได้
การทำงานของระบบไม่ได้มุ่งออกแบบเพื่อให้ใช้แทนการวินิจฉัยโดยแพทย์ในระบบปกติแต่จะใช้เพื่อช่วยแพทย์วินิจฉัยโดยสามารถจำแนกภาพได้ครอบคลุม 3 ประเภทคือภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์แบบปกติที่ไม่มีลักษณะบ่งชี้ภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์ที่แสดงอาการปอดติดเชื้อจากCOVID-19และภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์ที่แสดงความผิดปกติอื่นๆ
ในอนาคตเพื่อให้เกิดการต่อยอดประยุกต์ใช้นวัตกรรมขยายผลออกไปทีมวิจัยเตรียมพัฒนา“RAMAAI”ให้สามารถรองรับการวินิจฉัยความผิดปกติทางปอดให้ครอบคลุมถึง14 กลุ่มโรคหรือความผิดปกติได้แก่โรคถุงลมโป่งพองโรคมะเร็งปอดโรควัณโรคและโรคหัวใจโต เป็นต้น
ทุกชีวิตมีค่าและจะยิ่งมีความหมายหากได้“ช่วยชีวิตเพื่อต่อชีวิต”ให้ได้มีโอกาสอยู่ต่อไปเพื่อทำสิ่งที่ดีมีคุณค่าต่อสังคมประเทศชาติและคนรุ่นหลังด้วยการใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์ให้ได้มากที่สุด
ติดตามข่าวคมชัดลึกอื่นๆได้ที่ https://www.komchadluek.net/