ทั่วไป

สคทช. ดัน ‘กองแขก’ ตำบลต้นแบบ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว พื้นที่ทำกิน ‘ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม’

The Bangkok Insight
อัพเดต 07 ก.ย 2565 เวลา 08.56 น. • เผยแพร่ 07 ก.ย 2565 เวลา 08.56 น. • The Bangkok Insight

สคทช. ลงพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม ผลักดัน "ตำบลกองแขก" เป็นพื้นที่ต้นแบบ นำแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ให้ประชาชนได้ทํากิน อยู่อาศัยภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี และทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์

ดร.รวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) กล่าวว่า หลังจากที่มีการอนุญาตให้จัดสรรพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 11,456 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ทำกินของประชาชน เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 นั้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
สคทช.

ปัจจุบัน กรมที่ดินได้จัดคนลงแล้ว 1,344 คน ใน 8,780 ไร่ คงเหลือพื้นที่ 2,676 ไร่ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณา โดยคณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) จังหวัด ได้ส่งข้อมูล 1,344 คน ดังกล่าว ให้คณะอนุกรรมการจัดสรีรที่ดินแล้วเพิ่อออกสมุดประจำตัวต่อไป

ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาให้ประชาชนในพื้นที่ สามารถอยู่อาศัยทํากินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย คือหัวใจสำคัญ ภายใต้นโยบายของ คทช. ทําให้ประชาชนมีความมั่นใจในการประกอบอาชีพ และสามารถพัฒนาคุณภาพ ชีวิตให้ดีขึ้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
สคทช.

แต่ภายใต้การพัฒนาดังกล่าวสิ่งสําคัญประการหนึ่งที่จะนําไปสู่ความยั่งยืนของประชาชน ในพื้นที่ คือ การพัฒนาอาชีพ ที่เหมาะสม หนึ่งในนั้นได้แก่รูปแบบเศรษฐกิจสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับราษฎร ที่จะสามารถทํากิน และอยู่อาศัย ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี และทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ได้

ในการพัฒนาพื้นที่ให้มีรูปแบบทางเลือกหลากหลาย กรมป่าไม้จึงได้ประสานการดําเนินงานกับกลุ่มองค์กร และนักธุรกิจภาคเอกชน ได้แก่ กองทุน FLR 349 มูลนิธินวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ไทย (TOF) องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จํากัด บริษัทไทยคม จํากัด ตัวแทนภาคธุรกิจโรงแรม การท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขับเคลื่อนการสร้างเศรษฐกิจสีเขียว ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการทําเกษตรแบบยั่งยืน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
สคทช.
สคทช.

มุ่งเน้นระบบการบริโภคอาหารท้องถิ่น (local food) เกิดโมเดลระบบธุรกิจที่เป็นธรรม สร้างห่วงโซ่อุปทาน และห่วงโซ่คุณค่าของ ระบบการผลิตทางเกษตร ลดการใช้สารเคมี เพิ่มพื้นที่สีเขียว และสร้างรายได้ด้วยแนวพระราชดําริ ป่าสามอย่าง ประโยชน์สี่อย่าง และเสริมสร้างรายได้จากคาร์บอนเครดิตตามนโยบายของกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบัน มีการกำหนดให้พื้นที่ตำบลกองแขก เป็นโมเดลตัวอย่าง โดยมีประชาชนในตําบลเข้าร่วมจำนวน 109 ราย รวมพื้นที่ 470 ไร่ เกิดธุรกิจที่สร้างรายได้ เช่น ไข่อินทรีย์สร้างป่า 63,875 บาทต่อปี ผักอินทรีย์สร้างป่า 86,400 บาทต่อปี สมุนไพรสร้างป่า 115,200 บาทต่อปี และ ผลไม้ยืนต้นอินทรีย์ 112,500-150,000 บาทต่อปี

สคทช.

หากดําเนินการมากกว่าหนึ่งอย่าง เช่น เลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ ร่วมกับปลูกผลไม้อินทรีย์ ก็จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น และจากการพัฒนาเปลี่ยนแปลงการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยว มาสู่การปลูกป่าสามอย่าง ประโยชน์สี่อย่าง เป็นกิจกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มพูนการกักเก็บคาร์บอน ในพื้นที่ตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER)

การประเมินคาร์บอนเครดิตเบื้องต้นพบว่า พื้นที่ดําเนินการ 120 ไร่ ภายในระยะเวลา 10 ปี สามารถลด และดูดกลับ ปริมาณก๊าซเรือนกระจก 611 ตันคาร์บอนเทียบเท่า ซึ่งการดําเนินการดังกล่าว กรมป่าไม้ องค์การบริหารส่วนตําบลกองแขก องค์กร และนักธุรกิจภาคเอกชน ที่ร่วมดําเนินงานจะได้ขยายผลไปดําเนินการในพื้นที่อื่นๆ ต่อไปด้วย

สคทช.

นายจำนง อินทรัตน์ ชาวบ้านอมเม็ง ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม กล่าวว่า แต่เดิมเคยปลูกข้าวโพด แต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเกษตร เป็นไม้ยืนต้น ซึ่งตั้งแต่ได้หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ก็สามารถวางแผนการพัฒนาที่ดินให้ดียิ่งขึ้น และสามารถสร้างรายได้เลี้ยงคนในครอบครัวได้

ที่สำคัญ ตั้งแต่ได้หนังสืออนุญาตมา ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการถูกไล่ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ทุกวันนี้ชาวบ้านมีความมั่นใจ ที่จะพัฒนาพื้นที่การเกษตรของตนเองมากขึ้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ดูข่าวต้นฉบับ