ทั่วไป

สำนักบริการวิชาการ ร่วมกับ คณะเกษตรฯ มข. อบรมการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม

สยามรัฐ
อัพเดต 26 ก.ย 2565 เวลา 08.36 น. • เผยแพร่ 26 ก.ย 2565 เวลา 08.36 น.

สำนักบริการวิชาการ ร่วมกับ คณะเกษตรศาสตร์ มข. จัดอบรม “การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม ในน้ำความเค็มต่ำ ด้วยระบบน้ำหมุนเวียน ได้ผลผลิต 300 ตัว/ต.ร.เมตร ใช้เวลาเลี้ยงแค่ 70 วัน ด้วยขนาด 60 ตัว/กก.”

วันที่ 26 ก.ย.65 สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สาขาวิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในน้ำความเค็มต่ำ ด้วยระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิด ณ หมวดประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีกลุ่มเกษตรกรสนใจเข้าร่วมอบรม จำนวน 26 คน มี รศ.ดร.บัณฑิต ยวงสร้อย, ดร.ศิริพร โทลา, อ.กัมพล ไทยโส, อ.สมหวัง และนายธนากร เฉื่อยฉ่ำ อาจารย์และบุคลากรภาควิชาประมง เป็นวิทยากร

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

รศ.นส.พ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดการอบรม ว่า ”คณะวิชาในมหาวิทยาลัย เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการเรียนการสอน ผลิตบัณฑิต วิจัยและสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ สำนักบริการวิชาการ มีหน้าที่เป็นหน้าต่างของมหาวิทยาลัย ทำหน้าที่ประสานคณะวิชาต่าง ๆ เพื่อนำเอาองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอน และการวิจัยของคณะวิชา นำมาเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่ชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป จึงขอขอบคุณคณบดีคณะเกษตรศาสตร์ และทีมวิทยากรจากสาขาวิชาประมง โดยมี รศ.ดร.บัณฑิต ยวงสร้อย เป็นห้วหน้าทีมวิทยากร ที่ร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้มา ณ โอกาสนี้”

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

รศ.ดร.บัณฑิต ยวงสร้อย หัวหน้าสาขาวิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มข.ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม ว่า “กุ้งขาวแวนนาไมซึ่งเป็นกุ้งทะเล เป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าและมีความสําคัญทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ได้พัฒนามาเลี้ยงในน้ำจืด ความเค็มต่ำ ด้วยระบบน้ำหมุนเวียน ซึ่งในระหว่างการเลี้ยงไม่มีการทิ้งน้ำ เป็นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความหนาแน่นในการเลี้ยงสามารถเลี้ยงได้ 300 ตัว/ต.ร.เมตร ซึ่งปกติในบ่อดินจะเลี้ยงได้ 50-60 ตัว/ต.ร.เมตร ใช้เวลาเลี้ยงแค่ 70 วัน ด้วยขนาด 60 ตัว/กก.”

อ.กัมพล ไทยโส ผู้จัดการหมวดประมง กล่าวว่า “การจัดอบรมครั้งนี้ เป็นการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้เห็นภาพจริง หัวข้อ ประกอบด้วย การเข้าใจกุ้ง, ใส่ใจดูแล อาหารการกิน, การควบคุมคุณภาพน้ำ, การจัดการระบบน้ำ-ลม-ไฟ และหัวข้อ ต้นทุน และการจัดการตลาด”

หลังจากการอบรมในครั้งนี้แล้ว เกษตรกรมีความสนใจ และตัดสินใจจะลงทุนอย่างน้อย 3 ราย ทั้งนี้สำนักบริการวิชาการ ได้ตั้งกลุ่มไลน์ เพื่อติดตาม ตอบคำถาม และให้ความรู้เพิ่มเติมในโอกาสนี้ด้วย

ดูข่าวต้นฉบับ