ไลฟ์สไตล์

เปลี่ยนงานทั้งที.. เรียกเงินเดือน(เพิ่ม)เท่าไหร่ดีนะ

LINE TODAY ORIGINAL
เผยแพร่ 06 พ.ย. 2564 เวลา 17.05 น. • pp.p
ภาพจาก pixabay.com

หนึ่งในหลายๆ เหตุผลที่เราอยากออกจากคอมฟอร์ตโซนที่สงบสุข ไปสนุกกับเส้นทางใหม่ ๆ นอกจากเรื่องของความท้าทาย และการได้ฝึกเพิ่มทักษะอื่น ๆ แล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องของการขยับยกฐานเงินเดือนก็มีส่วนในการตัดสินใจ เพราะแน่นอนว่าไม่มีใครอยากลาออกไปเริ่มต้นใหม่ในค่าตอบแทนที่ ‘เท่าเดิม’ หรือ ‘น้อยกว่า’ เป็นแน่

และเมื่อเป็นเช่นนี้ ในยามที่เราต้องตัดสินใจจะ ‘หางานใหม่’ การตั้งตัวเลขเงินเดือนในใจเอาไว้จึงมีส่วนสำคัญ เพราะนั่นมักเป็นหนึ่งในคำถามที่ต้องเจอในรอบสัมภาษณ์ ซึ่งหากมากเกินไปก็อาจพลาดโอกาสได้ แต่ถ้าไม่มากพอก็อาจมีปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้ในอนาคต ดังนั้นเราจึงควรมี ‘สูตรการคำนวณเงินเดือนที่ใหม่’ มาให้ลองคิดกันเล่น ๆ ว่าหากถึงเวลาจะหางานใหม่ ควรได้เงินเดือนอย่างน้อยเท่าไหร่ดี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โดยมาตรฐานการขยับเงินเดือนด้วยวิธีการเปลี่ยนที่ทำงานนั้น ส่วนมากมักนิยมเรียกให้มากกว่าที่เคยได้บวกขึ้นไปอีก 20-30% โดยนำรายได้ประจำต่อเดือนมาคูณ12 ซึ่งก็คือจำนวนเดือน บวกกับโบนัสที่ได้ประจำปี จากนั้นน้ำทั้งหมดมาหาร 12 จึงจะเท่ากับเงินเดือนที่ได้อยู่แท้จริงที่ได้อยู่ในปัจจุบัน

แต่หากฐานเงินเดือนอยู่ในระดับค่อนข้างสูงเป็นหลักหมื่นปลายๆ ไปถึงหลักแสน จะขอขยับทีละ 20-30% ก็อาจเป็นจำนวนที่มากเกินที่ทำงานใหม่จะรับไหว สูตรการคำนวณขอเพิ่มเงินเดือนจึงต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่นคำนวณจากฐานเงินเดือนที่ได้อยู่ มาบวกเพิ่มกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากการเดินทางมาที่ใหม่ ค่าอาหารในย่านนั้นที่มีความแตกต่างจากถิ่นเก่ามากน้อยขนาดไหน หรือแม้แต่ค่าที่พักอาศัยในกรณีที่ต้องย้ายห้องเช่าให้ขยับเข้ามาใกล้ที่ทำงานเพื่อความสะดวก แล้วจึงคำนวณบวกเข้าไปกับเงินเดือนที่ได้อยู่เดิมเพื่อไม่ให้กลายเป็นงานใหม่แต่ภาระจ่ายเพิ่มขึ้นจนมีเงินใช้น้อยลงแบบงงๆ

นอกจากเรื่องของเงินเดือนแล้ว สิ่งอื่นๆ ที่ควรนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจว่าถึงเวลาต้องย้ายงานหรือยังก็อาจมีดังต่อไปนี้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

1. เปรียบเทียบสวัสดิการที่จะได้รับ

ยกตัวอย่างเช่นประกันการรักษายามป่วยไข้ หรือการเบิกจ่ายค่าเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ 

2. ความสนุกและสิ่งใหม่ ๆ ที่จะได้เรียนรู้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เมื่องานที่ทำอยู่เดิมเริ่มจำเจ การที่ไม่มีอะไรไปอัปเดตในเรซูเม่ประวัติการทำงานนานเกินไป อาจกลายเป็นการแช่แข็งความสามารถตัวเองแล้วกลายเป็นคลื่นลูกเก่าที่โดนคลื่นลูกใหม่ซัดหายไปพร้อมกับทักษะที่ไม่อัปเดต

3. เพื่อนร่วมงาน

อันนี้เหมือนเสี่ยงดวงซื้อหวย แต่ถ้าหากคุณมีทีมที่น่ารัก มีหัวหน้างานที่เปิดกว้าง มีการทำงานกันเป็นทีมที่ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ถือว่าโชคดียิ่งกว่าถูกรางวัลที่หนึ่งแล้ว การย้ายงานอาจเป็นการเสี่ยงที่ต้องคิด ใครจะรู้ที่ใหม่อาจจะดีมากกว่า หรือเท่ากับที่เดิม แต่ก็เป็นไปได้ว่าจะอยู่ได้ไม่นานเพราะเพื่อนใหม่ไม่น่ารักก็เป็นได้

ความเห็น 19
  • พงศ์พีระ อุดมระติ
    สุดท้ายมันอยู่ที่ความสามารถล้วน ๆ จะเป็นความสามารภด้านไหนก็แล้วแต่
    07 พ.ย. 2564 เวลา 01.04 น.
  • nzpeter
    คนที่หวัง up เงินเดือนตัวเองด้วยการเปลี่ยนงาน ให้จงระวังที่เขาจะพิจารณาความจงรักภักดีองค์กรนะครับเพราะเขาอาจคิดว่าเด่วคุณก็เปลี่ยนงานไป up เงินเดือนที่ใหม่ ประการต่อมาเมื่อคุณ up เงินเดือนแล้วคุณไม่เก่งสมราคา คุณก็จะไม่ผ่านทดลองงานครับ
    07 พ.ย. 2564 เวลา 01.50 น.
  • SAYOM
    มีงานทำก็บุญแล้วช่วงนี้ อย่าเรียกร้องมากนายจ้างจะเจ๊ง
    07 พ.ย. 2564 เวลา 00.45 น.
  • หนึ่ง
    อย่าพึ่งไปคาดหวังกับในสิ่งที่เรายังไม่ได้ไปสัมผัสจริงก็ดีนะครับ เพราะว่าบางครั้งมันก็ไม่ได้เป็นไปกับในสิ่งที่เราคิดเอาไว้ก็ได้.
    06 พ.ย. 2564 เวลา 22.23 น.
  • WUT
    เปลี่ยนงานใหม่ต้องคิดหนัก ยิ่งตำแหน่งผู้จัดการ..ถ้ามาคนเดียวคงเหนื่อย..
    07 พ.ย. 2564 เวลา 00.31 น.
ดูทั้งหมด